fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษาโรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเองได้ จริงหรือ ?

ไม่ควรซื้อยา สมุนไพรต่าง ๆ มารับประทานเอง พราะหลงเชื่อคำโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 อาหารเสริม เหมาะกับโรค SLE จริงหรือ ?

18 มิถุนายน 2566 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ 5 อาหารเสริมที่เหมาะกับผู้ป่วย SLE เช่น น้ำมันปลา สารสกัดจากเมล็ดองุ่น และน้ำมันจมูกข้าวนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับการกิน 5 อาหารเสริมว่าเหมาะกับผู้ป่วย SLE ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ โรค SLE มีความหลากหลาย เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง 5 อาหารเสริมที่แชร์กัน มีดังนี้ อย่างไรก็ตาม สารประกอบต่าง ๆ อาจมีคุณสมบัติช่วยรักษาบางจุด แต่ไม่ได้มีหลักฐานช่วยรักษาโรค SLE ได้อย่างองค์รวมและเนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรงต่างกัน การรักษาจึงแตกต่างกันได้มากมายขึ้นกับอาการ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 กุมภาพันธ์ 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ลักษณะของผู้ป่วย SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง

11 มิถุนายน 2566 – โรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองจะแสดงอาการบ่งบอกโรคตอนไหน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค SLE และ สัดส่วนสถิติการเกิดโรคเป็นอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถิติการเกิดโรค SLE เราสามารถพบผู้ป่วยโรค SLE ประมาณ 40-50 คนใน 100,000 คน และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 8 – 9 เท่า ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังไม่มีการรักษาในปัจจุบันที่ทำให้หายขาดได้ แต่ทำให้อาการสงบจากการรับประทานยาได้ การวินิจฉัยโรค SLE แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากโรค SLE มีความสลับซับซ้อนผู้ป่วยมีความรุนแรงในระดับแตกต่างกัน การใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE เพียงแบบเดียวอาจจะไม่เพียงพอกับผู้ป่วย SLE บางราย อาการของโรคเป็นอย่างไร ? นอกจากอาการที่แสดงทางร่างกายแล้ว ผู้ป่วยบางรายยังมีภาวะจิตตกหรือโรคซึมเศร้า (Depession) ร่วมด้วย ครอบครัวและคนรอบข้างจึงมีความสำคัญในการสนับสนุนผู้ป่วยที่จะทำคนไข้จะมีกำลังใจที่ดีต่อสู้กับโรค SLE ได้ดีขึ้น […]

...