ชัวร์ก่อนแชร์: 4 ใน 10 คนที่ฉีดวัคซีน Pfizer จะหัวล้าน-เซ็กซ์เสื่อม จริงหรือ?

ไม่มีงานวิจัยใดพิสูจน์ได้ว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จะทำให้ผู้รับวัคซีนมีอาการผมร่วงหรือมีปัญหาด้านสมรรถภาพทางเพศในอนาคต

ชัวร์ก่อนแชร์: ชา-กาแฟ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้วัคซีนดูดซึมแย่ลง จริงหรือ?

คาเฟอีนในชาและกาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แต่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพราะการฉีดวัคซีน

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากาก จริงหรือ?

CDC ยืนยันว่า ประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบ 2 โดสแล้ว ยังจำเป็นต้องสวมหน้ากากในที่สาธารณะต่อไป

ชัวร์ก่อนแชร์: สเปนบังคับให้เด็กหญิงฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

สเปนไม่มีนโยบายบังคับฉีดวัคซีนเหมือนหลายชาติในยุโรป แต่กลับมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงระดับต้นๆ ของโลก

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กแคนาดาเป็นลมชัก หลังรัฐบาลบังคับฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

แคนาดารับรองวัคซีน Pfizer แก่เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปเท่านั้น ยังไม่ฉีดให้กับเด็กอายุน้อย

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กมีโอกาสเสียชีวิตจากวัคซีนมากกว่าโควิด 50 เท่า จริงหรือ?

EMA รับรองการใช้วัคซีนโควิด 19 กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป หลังพิจารณาว่าประโยชน์ของวัคซีนมีมากกว่าความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของวัคซีน

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 เสี่ยงทำให้เกิดภาวะ ADE อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ?

การเร่งที่อาศัยแอนติบอดี (ADE) คือภาวะที่แอนติบอดีช่วยให้ไวรัสโจมตีเซลล์มากขึ้น จากการตรวจสอบในสัตว์ทดลอง, อาสาสมัคร และประชาชนที่รับวัคซีน ไม่พบการเกิดภาวะ ADE จากวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: CDC ยอมรับวัคซีนต้านเดลต้าไม่ได้-พบเชื้อมากกว่าไม่ฉีด จริงหรือ?

ค่า Ct ที่พบมากกว่าในผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 แสดงว่าไวรัสในกระแสเลือด (Viral Load) มีน้อยกว่าผู้ไม่ฉีดวัคซีน

ชัวร์ก่อนแชร์: ป่วยโควิดกลับมาติดเชื้อ 1% แต่ฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อ 40% จริงหรือ?

การติดเชื้อโควิด 19 หลังฉีดวัคซีน (Breakthrough Infection) เกิดขึ้นได้ แต่วัคซีนโควิด 19 ป้องกันผู้ฉีดวัคซีนที่ติดเชื้อจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 88% และป้องกันการป่วยหนักถึง 91%

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนแล้วติดโควิด จะมีเชื้อมากกว่าคนไม่ฉีด 251 เท่า จริงหรือ?

การวิจัยมีปัญหาเพราะเทียบปริมาณไวรัสจากคนฉีดวัคซีนที่ติดเชื้อเดลต้ากับคนไม่ฉีดวัคซีนที่ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดิม

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนแล้วติดไวรัสเดลต้า เชื้อในตัวจะมากกว่าคนไม่ฉีด จริงหรือ?

แม้จะฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว แต่การติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า อาจทำให้ร่างกายมีปริมาณไวรัสพอๆ กับผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่ปริมาณไวรัสจะไม่มากกว่าผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ฉีดวัคซีนแต่อย่างใด

1 12 13 14 15 16 23
...