แก้ รธน. แก้การชุมนุมได้หรือไม่?
การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นอีกทางหนึ่งที่คาดหวังกันว่าจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ได้ จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นอีกทางหนึ่งที่คาดหวังกันว่าจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ได้ จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
“อนุชา” ระบุพรรคการเมืองเห็นพ้องเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญ รับฟังความเห็นร่วมหาทางออก ย้ำการแสดงออกทำได้ แต่ต้องไม่ก้าวล่วงสถาบัน ชี้ประชาธิปไตยต้องไม่บีบบังคับ
รัฐสภา 19 ต .ค.-“วิรัช” เผยเร่งศึกษาแก้ รธน.ให้เสร็จทันสัปดาห์นี้ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลักการ กล่าวว่า กมธ.ฯ เหลือเวลาทำงาน อีก 4 วัน คือ วันที่ 19-22 ตุลาคม ในการพิจารณาศึกษาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จทันตามกรอบเวลา และในสัปดาห์หน้าจะตรวจสอบรายงาน เพื่อส่งให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาต่อไป นายวิรัช กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม หากเวลาที่เหลือไม่ทันต่อการพิจารณา กมธ.ฯได้เตรียมขอขยายเวลาออกไป 10 วัน ซึ่งยังทันกับการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้.-สำนักข่าวไทย
หนุนให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ระบุ เคยทำสำเร็จมาแล้วในสมัย “บรรหาร” แต่ต้องไม่กระทบหมวด 1-2
รัฐสภา 15 ต.ค.-เพื่อไทยหนุนเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เร่งพิจารณาญัตติแก้ รธน. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า 6 พรรคการเมืองฝ่ายค้าน เตรียมนัดหารือเบื้องต้นกันในวันพรุ่งนี้ (16 ต.ค.) เพื่อหารือถึงการเข้าชื่อ ส.ส.ยื่นต่อประธานรัฐสภา ขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรนูญ ที่สัปดาห์หน้า กรรมาธิการมีกำหนดพิจารณาแล้วเสร็จ โดยเห็นว่าน่าจะเร่งเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าว เนื่องจากวันที่ 22 ตุลาคมนี้ จะครบกรอบเวลา 1 เดือนของการทำงาน ที่ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้ง 6 ฉบับ ก่อนลงมติ ซึ่งยังไม่ทราบว่าท่าทีจะออกมาอย่างไร เพราะทราบว่าจะให้มีการไปทำประชามติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอก่อนลงมติ ดังนั้นหากเร่งพิจารณา ก็น่าจะเป็นประโยชน์ และเชื่อว่าจะทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชน หรือ ไอลอว์ อยู่ในขอบเขตที่จะได้รับการพิจารณาด้วย.-สำนักข่าวไทย
ปทุมธานี 10 ต.ค.-หัวหน้าพรรคก้าวไกล ยันร่วมชุมนุม 14 ต.ค.นี้ เชื่อตำรวจดูแลความเรียบร้อย ห่วง กมธ.ร่วมพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยื้อเวลา ยิ่งเพิ่มอุณหภูมิการเมืองบนถนน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ ที่จะมีการพิจารณาจะสรุปในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ว่า ยังมองเป็นเรื่องการยื้อเวลา และหากมีการโหวตคว่ำในสมัยประชุมหน้าก็จะทำให้ญัตติต่าง ๆ รวมถึงร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนไม่ได้รับการพิจารณาในสมัยประชุมครั้งหน้าได้ แต่เชื่อว่าตามข้อบังคับข้อที่ 41 หากมีความจำเป็น ประธานรัฐสภายังสามารถที่จะนำร่างของภาคประชาชนเข้ามาพิจารณาใหม่ได้ จึงหวังว่าในสมัยประชุมหน้า ยังคุยเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ถ้าประธานรัฐสภาเห็นว่ามีความจำเป็น ส่วนการที่กรรมาธิการร่วมฯ จะมีมติในวันที่ 14 ตุลาคม ซึ่งมีการเคลื่อนไหวชุมนุมอยู่นอกสภาฯ นายพิธา กล่าวว่า ทุกคนต้องรู้ร้อนรู้หนาวกับความต้องการของประชาชน วิกฤติบ้านเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นใจของประชาชน ถ้าต้องการผ่อนอุณหภูมิทางการเมือง อย่างน้อยน่าจะมีการโหวต และบอกทิศทางของประเทศจะเป็นอย่างไร เพราะการเตะถ่วงไม่น่าจะเป็นผลดี เพราะมีการประท้วงเกิดขึ้น และจะยิ่งเป็นการเพิ่มอุณหภูมิ ถ้าสภาฯ ไม่สามารถเป็นหลักในการแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้ ก็เท่ากับเป็นการผลักประชาชนออกไปนอกสภาฯ ไปอยู่บนท้องถนน ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคก้าวไกลไม่ต้องการ นายพิธา ยังยืนยันที่จะไปร่วมชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ […]
รัฐสภา 8 ต.ค.- นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลง ความคืบหน้าการตรวจสอบความถูกต้องของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ ที่มีประชาชนเข้าชื่อ 101,827 คน ว่า ล่าสุด กรมการปกครองตรวจสอบเรื่องการเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยถูกต้องหรือไม่เรียบร้อยแล้ว พบว่ามีรายชื่อที่มีหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง 98,824 คน ถือว่าเพียงพอในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ใช้รายชื่อประชาชน 50,000 คน หลังจากนี้สภาฯ จะทำหนังสือไปยังประชาชน 98,824คน เพื่อสอบถามว่าจะมีใครคัดค้าน เนื่องจากถูกแอบอ้างชื่อหรือไม่ โดยใช้เวลาดำเนินการ 30 วัน จะเสร็จสิ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ขณะที่ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน จะครบกำหนด 30 วันในการศึกษาของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพื่มเติม ก่อนลงมติรับหลักการ ในวันที่ 23 ตุลาคมนี้ “เชื่อว่า หลังจากเปิดสมัยประชุมสภาฯ วันที่ 1 พ.ย.นี้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์ มีโอกาสจะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาพร้อมกัน […]
รัฐสภา 7 ต.ค.-กมธ.แก้ รธน.จ่อชงเลื่อนเลือกตั้งท้องถิ่น ขอทำประชามติก่อน อีกแนวทางขอความร่วมมือประชาชนทำประชามติ พร้อมสนามเลือกตั้งท้องถิ่น นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ โฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มก่อนรับหลักการ รัฐสภา เปิดเผยว่า การประชุมวันนี้ (7 ต.ค.) วิปรัฐบาลเข้ามาชี้แจงนำเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาล โดยกรรมาธิการฯ ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของร่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลว่าแตกต่างกันอย่างไร แต่กรรมาธิการฯ เสียดายที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ส่งตัวแทนเข้ามานำเสนอเพื่อให้กรรมาธิการฯ ได้ทำความเข้าใจร่วมกัน นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ส่วนการทำประชามติ ยังไม่มีข้อยุติ เนื่องจากมีความเห็นเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเป็น 2 แนวทาง คือ 1.การแก้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่ทำได้ด้วยการแก้ไขมาตรา 256 และ 2.หากมีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะถือว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ คือ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ไป ซึ่งไม่น่าจะทำได้ผ่านกลไกการแก้ไขมาตรา 256 ดังนั้นเมื่อทำไม่ได้ ก็จะต้องไปสอบถามประชาชนผ่านการทำประชามติก่อนว่าจะให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการทั้งหมด โดยขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติ และหากฝ่ายค้านได้เข้ามาชี้แจงเจตนาของฝ่ายค้านในการตั้ง ส.ส.ร.จะเป็นไปในแนวทางไหน เป็นการแก้ไขฉบับเดิม หรือเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแล้วร่างใหม่ทั้งฉบับ ทางกรรมาธิการฯ จะได้ประเมินและตัดสินใจได้ถูก ส่วนที่มีข้อห่วงใยว่าหากมีการทำประชามติ […]
ชี้ ทางออกรับหลักการวาระแรก 2-3 ญัตติ ผ่อนสถานการณ์
กรุงเทพฯ 2 ต.ค.-“อุดม” ชี้การเสนอแก้ ม.256 และให้มี ส.ส.ร.มายกร่าง รธน.เท่ากับการฉีกรัฐธรรมนูญ จึงต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนเสนอแก้ นายอุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และอนุกรรมการพิจารณาเสนอความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับก่อนลงมติ กล่าวถึงข้อกังวลของ ส.ว.ว่าการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่างใหม่ จะต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ ว่า ประเด็นอยู่ที่ว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการเสนอเพื่อแก้หรือเพื่อล้มรัฐธรรมนูญเก่า เพราะการตั้ง ส.ส.ร.เท่ากับเป็นการล้มรัฐธรรมนูญเดิม ไม่ได้เป็นเพียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงกลายเป็นประเด็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญมีที่มาจากการลงประชามติ ควรต้องกลับไปถามประชามติจากประชาชนก่อนหรือไม่ เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เฉพาะการแก้ไขในหมวด 15 ที่สามารถพิจารณาผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ แล้วค่อยไปทำประชามติ ดังนั้นส่วนตัวเห็นว่าควรต้องนำไปลงประชามติสอบถามประชาชนก่อนที่จะนำมาพิจารณาในสภาฯ และเรื่องนี้ควรจะต้องมีการถกเถียงกันในคณะอนุกรรมการฯ พอสมควร “ผมยังคิดว่ามีประเด็นที่ทำให้คิดว่ากรณีนี้ ถ้าตามหลักการมีทั้ง 2 มุม ที่มองว่าการเสนอดังกล่าวไม่ใช่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ ถ้ามองในมุมนั้นจะต้องไปลงประชามติก่อน เพราะมันไม่ใช่เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ามีคนบอกว่าเราเคยทำแล้วตอนรัฐธรรมนูญปี 34 ตอนนั้นที่ทำได้เพราะรัฐธรรมนูญปี 34 ไม่มีการลงประชามติ ตรงนั้นไม่ได้พูดถึงว่ามันมาจากมติของประชาชน มันมีการยกร่างกันขึ้นมาธรรมดา” […]
ย้ำ ตั้งกรรมาธิการฯ ไม่ได้ถ่วงเวลา แต่เพื่อความรอบคอบ
รัฐสภา 30 ก.ย.-ที่ประชุม มีมติให้ “วิรัช รัตนเศรษฐ” นั่งประธาน กมธ.พิจารณาร่างแก้ไข รธน. และเห็นควรให้ผู้เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด มาชี้แจงข้อมูลเพื่อให้กรรมาธิการฯ ได้พิจารณา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ ได้ประชุมนัดแรกวันนี้ (30 ก.ย.) เพื่อเลือกตำแหน่งต่าง ๆ และวางกรอบการทำงาน โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล เป็นประธานกรรมาธิการฯ และมีรองประธานกรรมาธิการฯ 6 คน ได้แก่ นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ , นายไพบูลย์ นิติตะวัน , นายศุภชัย ใจสมุทร , นายชินวรณ์ บุญเกียรติ , นายวิเชียร ชวลิต และนายนิกร จำนง รวมถึงมีที่ปรึกษากรรมาธิการฯ 4 คน ได้แก่ นายกล้านรงค์ จันทิก , นายอิสระ สมชัย , นายสมชาย […]