ไม่ตอบ กก.สมานฉันท์เดินหน้าได้หรือไม่ หากไร้เงาฝ่ายค้าน
วอนขอทุกฝ่ายหารือเพื่อหาทางออก
วอนขอทุกฝ่ายหารือเพื่อหาทางออก
พรรคร่วมรัฐบาลหนุนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับ พร้อมกับร่างของไอลอว์ ประธานวิปรัฐบาล ขอทุกฝ่ายรับฟังความคิดเห็น ร่วมเดินหน้าคณะกรรมการสมานฉันท์ เชื่อนายกฯ ลาออก ไม่ใช่ทางออก
กรุงเทพฯ 28 ต.ค-“เสรี” จี้ตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ก่อนแก้ รธน. วอนใช้เหตุผล อย่าจ้องเอาชนะคะคานกัน ไม่เช่นนั้นจะแก้ รธน. ไม่สำเร็จ นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงข้อเสนอให้ 4 ฝ่ายหารือตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ว่า เป็นเรื่องที่ต้องเร่งพูดคุย และในกระบวนการนี้ อยากให้เกิดขึ้นก่อนที่จะผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเทศจึงจะเดินหน้าไปได้ เพราะหากยังคงมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีความเห็นไม่ตรงกัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ไม่สำเร็จ ส่วนที่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวนั้น นายเสรี กล่าวว่า ไม่เป็นไร ปล่อยให้เป็นกลไกของสภาฯ ซึ่งหากไม่เห็นด้วยก็จะโยงใยกันไปหมด รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายใดไม่เอา แต่อยู่ที่เสียงส่วนใหญ่ ส่วนข้อเสนอหาทางออกประเทศด้วยการทำประชามตินั้น นายเสรี กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดประเด็นว่าจะให้ประชาชนแสดงความเห็นอย่างไร ซึ่งหากเป็นเรื่องที่รัฐบาลทราบ และเป็นปัญหาสำคัญของบ้านเมือง ก็สามารถทำได้ในทางกฎหมาย แต่การเสนอทำประชามติว่านายกรัฐมนตรีควรอยู่หรือลาออกนั้น เป็นข้อเสนอที่แปลก เพราะหากจะไปถามประชาชนอีกรอบ แล้วจะมีระบบเลือกตั้งไว้ทำไม เมื่อนายกรัฐมนตรีก็มาจากเสียงส่วนใหญ่ และอยากย้อนถามว่าจะใช้มาตรฐานและวิธีการเช่นนี้อีกหรือ “ถ้าเลือกตั้งมาแล้ว ได้นายกฯ มาแล้ว อีกฝ่ายไม่พอใจ ออกมาขับไล่ พอเห็นยุ่งมาก […]
“วันชัย” ชี้ประเทศยังไม่ถึงทางตัน สามารถแก้ปัญหาได้ตามกลไกรัฐธรรมนูญ นาทีนี้ไม่จำเป็นต้องเร่งแก้ ม.272 แต่ควรเร่งสร้างความปรองดอง-นิรโทษกรรมคดีการเมือง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
รัฐสภา 27 ต.ค.-“จุรินทร์” ระบุข้อเสนอตั้งคณะกรรมการ 7 ฝ่ายหาทางออกประเทศ มีสัญญาณตอบรับที่ดี เห็นควรเปิดโอกาสผู้ชุมนุมร่วมเสนอความเห็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความคืบหน้าข้อเสนอตั้งคณะกรรมการ 7 ฝ่ายเพื่อร่วมกันหาทางออกประเทศ ว่า เท่าที่ได้พูดคุยกับฝ่ายต่าง ๆ มีสัญญาณที่ดี มีเสียงตอบรับที่เป็นที่ยอมรับ อย่างน้อยที่สุด คือ ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล และวันนี้ได้รับแจ้งว่าวิปทั้ง 3 ฝ่ายจะมีการหารือกัน และเชื่อว่าประธานรัฐสภาจะดำเนินการออกคำสั่งและกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้รัฐสภาได้เป็นกลไกสำคัญในระบอบประชาธิปไตยที่จะหาทางออกให้กับประเทศ ส่วนสัดส่วนคณะกรรมการดังกล่าว จะต้องมีผู้ชุมนุมร่วมด้วยหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ต้องรอให้ทุกฝ่ายหารือกันก่อน และต้องรอคำสั่งจากประธานรัฐสภาว่าควรดำเนินการอย่างไร แต่ส่วนตัวเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ผู้ชุมนุมมีส่วนร่วมเพื่อจะได้ข้อสรุปและความเห็นจากทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน ส่วนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้เสนอให้วิป 3 ฝ่ายหารือกันว่าจะนำ 6 ร่างที่ค้างอยู่ในสภาฯ มาพิจารณาก่อน หรือจะรอร่างของกลุ่มโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ซึ่งเป็นร่างของประชาชนมาพิจารณาพร้อมกัน ซึ่งหากรอร่างของกลุ่มไอลอว์มาพิจารณาร่วมกัน คาดว่าจะต้องรอหลังวันที่ 12 พฤศจิกายน เพราะต้องรอขั้นตอนและกระบวนการบรรจุระเบียบวาระให้เสร็จสิ้น.-สำนักข่าวไทย
ระบุ “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นอุปสรรคสำคัญ เป็นภาระของประเทศ
ขณะที่ การพิจารณาร่างแก้ไข รธน. วาระรับหลักการ รอ กมธ.ส่งผลศึกษาก่อน
ไม่กังวลม็อบล้อมสภาฯ เปิดกว้าง แต่ต้องไร้อาวุธ และไม่รุนแรง
ย้ำท่าที ภท.ชัดเจนหนุนแก้ ม.256 – ตั้ง ส.ส.ร.
กรุงเทพฯ 21 ต.ค.-“เทพไท” เสนอโหวตแก้ไข รธน. 6 ญัตติในสมัยประชุมวิสามัญ หนุน “พล.อ.ประยุทธ์” เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทันที นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีที่มีมติให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภาในวันที่ 26-27 ตุลาคมนี้ ว่า ต้องขอขอบคุณนายชวน หลีกภัย ประธานผู้แทนราษฎร ที่เชิญตัวแทนของรัฐบาล ตัวแทนพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ร่วมหารือนอกรอบ จนมีข้อยุติมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ.2563 และต้องขอขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่สนับสนุนให้มีมติคณะรัฐมนตรีตามข้อเรียกร้องของทุกฝ่ายที่ต้องการใช้การประชุมรัฐสภาเป็นเวทีในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และหาทางออกให้กับประเทศ นายเทพไท กล่าวด้วยว่า แต่สำหรับการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญในครั้งนี้ ตนขอเสนอให้มีการพิจารณาปัญหาสำคัญของประเทศชาติใน 2 เรื่อง คือ 1.ให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 156 เพื่อรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายและเพื่อให้เวทีการประชุมรัฐสภาเป็นกลไกในระบอบประชาธิปไตย แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศ และ 2.ให้มีการพิจารณาญัตติร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการพิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ ขึ้นมาพิจารณาลงมติรับหลักการวาระ 1 ในสมัยประชุมวิสามัญนี้ เพื่อสนองต่อข้อเรียกร้องของการชุมนุมในเบื้องต้น ส่วนกรณีที่มีกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศ […]
การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นอีกทางหนึ่งที่คาดหวังกันว่าจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ได้ จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
“อนุชา” ระบุพรรคการเมืองเห็นพ้องเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญ รับฟังความเห็นร่วมหาทางออก ย้ำการแสดงออกทำได้ แต่ต้องไม่ก้าวล่วงสถาบัน ชี้ประชาธิปไตยต้องไม่บีบบังคับ