เลิกจ้างเหตุโควิด ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าชดเชย

กสร.6 พ.ค.-อธิบดีกรมสวัสดิการฯ แจงกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะสาเหตุติดเชื้อโควิดมิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (อธิบดี กสร.) กล่าวชี้แจงว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด–19 ที่ขยายวงกว้างเข้าสู่สถานประกอบกิจการ เป็นความห่วงใยที่ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน กำชับให้ความคุ้มครองดูแลให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากติดเชื้อไวรัสดังกล่าว หรือมีความเสี่ยงที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับความช่วยเหลือ รักษา เยียวยา โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทำความเข้าใจกับนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการให้ทราบว่า กรณีที่สถานประกอบกิจการออกประกาศห้ามลูกจ้างเดินทางข้ามจังหวัดหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อโควิด–19 แต่ภายหลังทราบว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นายจ้างสงสัยได้ว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงมีคำสั่งไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและให้กักตัว ณ ที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เพราะคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัวเป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จะถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ “นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้ใช้สิทธิการลาป่วยหรือหยุดพักผ่อนประจำปี หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อโรคดังกล่าวหรือสงสัยว่าลูกจ้างติดเชื้อ มิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง เพราะการเจ็บป่วยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่การกระทำผิดวินัยของลูกจ้างและเป็นการติดเชื้อจากโรคระบาดที่แพร่กระจายในวงกว้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย” อธิบดี กสร.กล่าว อธิบดี กสร.กล่าวด้วยว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด–19 ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ในวงกว้าง นายจ้าง ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรจะต้องให้ความร่วมมือกันในการป้องกันการแพร่ระบาดดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว […]

รมว.แรงงาน สั่งเร่งเยียวยาพนักงานห้างฯ กลางเมืองโคราช

“สุชาติ” รมว.แรงงาน สั่งการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ความช่วยเหลือลูกจ้างห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่าที่ปิดกิจการ เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต้องเลิกจ้างลูกจ้าง

“สุชาติ” เร่งช่วยลูกจ้างที่สมุทรปราการถูกเลิกจ้าง

รมว.แรงงาน ให้กำลังใจลูกจ้างบริษัทผลิตชุดชั้นในสตรี จ.สมุทรปราการ ถูกเลิกจ้างเนื่องจากปิดกิจการ พร้อมเร่งรัดติดตามค่าชดเชย สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ให้พนักงานโดยเร็ว

สั่งการ กสร.รุดช่วยเหลือลูกจ้างสมุทรปราการ

กรุงเทพฯ 11มี.ค.-รมว.แรงงาน ห่วงใยลูกจ้างใน จ.สมุทรปราการ หลังนายจ้างมีประกาศเลิกจ้างกะทันหันกว่า 1,300 คน สั่งการ กสร. ตั้งโต๊ะรับคำร้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างทันที นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึง กรณีที่ลูกจ้างบริษัท บริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ ไทย โกลบอล จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการผลิตชุดชั้นในสตรี มีลูกจ้างรวม 1,388 คน ได้มีหนังสือประกาศเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมาเนื่องจากต้องปิดกิจการเพราะลูกค้าระงับคำสั่งการผลิต ทำให้ประสบภาวะขาดทุน และขาดสภาพคล่อง โดยให้ มีผลการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้รายงานให้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทราบ ซึ่งท่านมีความห่วงใยลูกจ้างดังกล่าว จึงได้สั่งการให้ กสร. เร่งดำเนินการช่วยเหลือโดยเร็วเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างครบถ้วน เพราะความเดือดร้อนของลูกจ้างเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ นายอภิญญา กล่าวต่อว่า ตนได้มอบหมายให้พนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ประสานผู้แทนลูกจ้าง […]

รัฐบาลเร่งช่วยลูกจ้างแมรีกอท บางปู ทุกมิติ

รมว.แรงงาน เผยรัฐบาลเร่งช่วยลูกจ้างแมรีกอท บางปู ทุกมิติ หลังยุติการดำเนินกิจการ ล่าสุด บริษัทฯ โอนเงินชดเชยและช่วยพิเศษรวมกว่า 470 ล้านบาท ให้ครบทุกคนแล้ว

นายกฯ ห่วงลูกจ้างแมรีกอท บางปู สั่งเร่งช่วยเหลือ

รมว.แรงงาน เผย นายกรัฐมนตรี ห่วงใยกรณีบริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ยุติดำเนินกิจการสำนักงานสาขาบางปู และย้ายไปพระนครศรีอยุธยา ลูกจ้างกว่าพันคนไม่ประสงค์ย้ายไป กำชับให้เร่งตรวจสอบช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครองตามกฎหมายครบทุกคน

แนะใช้แรงงานสัมพันธ์ร่วมฝ่าวิกฤติโควิด

ก.แรงงาน 12 ม.ค.-รมว.แรงงาน วอนนายจ้าง ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ ก่อนตัดสินใจหยุดกิจการตามมาตรา 75 หรือเลิกจ้าง ควรเปิดใจปรึกษาหารือร่วมกัน นำแนวปฏิบัติการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ และมาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างมาปรับใช้ในสถานประกอบกิจการ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวออกไปในวงกว้างส่งผลกระทบต่อนายจ้าง สถานประกอบกิจการ และลูกจ้าง อาจเกิดวิกฤติด้านแรงงานที่รุนแรงได้ จนทำให้สถานประกอบกิจการบางแห่งจำเป็นต้องลดทุนการผลิต ลดชั่วโมงการทำงานของลูกจ้าง หยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วนชั่วคราวโดยใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลดพนักงาน หรือเลิกกิจการในท้ายสุด ซึ่งจะเกิดความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสงบสุขในวงการแรงงาน จึงขอวอนให้นายจ้าง-ลูกจ้างควรเปิดใจปรึกษาหารือร่วมกันก่อนหยุดกิจการตามมาตรา 75 หรือเลิกจ้าง โดยนำมาตรการและแนวปฏิบัติที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พยายามมุ่งส่งเสริมให้เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน นั่นคือ แนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ และมาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง ด้านนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ นายจ้างควรนำแนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติมาปรับใช้ในสถานประกอบกิจการก่อน โดยมีสาระสำคัญ อาทิ นายจ้างควรเปิดเผยผลประกอบการตามสภาพความเป็นจริงแก่ฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้างลูกจ้างหารือร่วมกันในการประหยัดค่าใช้จ่าย หลีกเลี่ยงการชุมนุมเผชิญหน้าด้วยความรุนแรง หากดำเนินการแล้วสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย […]

ญี่ปุ่นระบุโควิดทำตกงาน 70,000 ตำแหน่ง

โตเกียว 10 พ.ย.- กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่น ระบุว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้คนกว่า 70,000 คน ต้องตกงาน หรือกำลังจะตกงาน กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบจำนวนผู้ถูกเลิกจ้าง หรือไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง เนื่องจากนายจ้างประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจพบว่า ช่วงสิ้นเดือนมกราคม ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน มีผู้ตกงานหรือกำลังจะตกงาน 70,242 คน แต่เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงจะสูงกว่านี้ เพราะตัวเลขที่ได้มารวบรวมเฉพาะกรณีที่สำนักงานแรงงานในภูมิภาค และสำนักงานจัดหางานสาธารณะ ได้รับรายงานมาเท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยมีการเลิกจ้างถึง 12,979 ตำแหน่ง รองลงมาคือผับและร้านอาหาร ซึ่งมีการเลิกจ้างคนงานไป 10,445 คน ขณะที่ภาคการค้าปลีก มีคนว่างงาน 9,378 คน และมีพนักงานโรงแรมตกงาน 8,614 คน กระทรวงแรงงานญี่ปุนขอให้ธุรกิจต่างๆ จ้างงานพนักงานไว้ โดยอาศัยความช่วยเหลือจากโครงการเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ขณะเดียวกันกระทรวงยังให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ว่างงาน ในการหางานใหม่ด้วย.-สำนักข่าวไทย

ประณามคาเธ่ย์แปซิฟิคใช้ข้อตกลงบีบนักบิน

ฮ่องกง 23 ต.ค.- สมาคมเจ้าหน้าที่ลูกเรือฮ่องกงประณามคาเธ่ย์แปซิฟิค ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของฮ่องกงว่า โหดร้ายทารุณและสายตาสั้นที่บีบบังคับนักบินให้ต้องยอมรับสัญญาจ้างงานค่าจ้างต่ำอย่างถาวร ไม่เช่นนั้นจะตกงาน เลขาธิการสมาคมระบุว่า สายการบินส่วนใหญ่ใช้การลดค่าจ้างเป็นจุดหมายชั่วคราวเท่านั้น แต่คาเธ่ย์แปซิฟิคใช้เป็นการถาวร ความโอหังและการที่บริษัทเลือกใช้วิธีแบบนี้จะถูกจดจำไปอีกหลายปี นักบินที่ไม่ยอมรับสัญญาจ้างงานแบบใหม่จะถูกเลิกจ้างโดยได้รับเงินเดือนเพียงสามเดือน แทนที่จะได้รับหกเดือน สมาคมจะนำเรื่องนี้ไปปรึกษาทางกฎหมายต่อไป คาเธ่ย์แปซิฟิคประกาศเมื่อวันพุธว่า จะเลิกจ้าง 5,900 ตำแหน่งเพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เกือบทั้งหมดเป็นตำแหน่งงานในคาเธ่ย์ดรากอน สายการบินภูมิภาคในเครือที่ถูกปิด ขณะเดียวกันได้แก้ไขสัญญาจ้างงานกับนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ตามแผนการปรับโครงสร้างมูลค่า 2,200 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 8,892 ล้านบาท) ให้บริษัทไม่ต้องปฏิบัติตามหลักการ “เข้าทีหลัง ออกก่อน” ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของสายการบินส่วนใหญ่เรื่องการให้ผู้เข้ามาทำงานทีหลังออกจากงานก่อน เปิดทางให้บริษัทสามารถเลือกเลิกจ้างนักบินตามประเภทของเครื่องบินที่พิจารณาแล้วว่าไม่คุ้มค่าด้านการเงินและการดำเนินงานมากที่สุด นอกจากนี้ยังใช้แนวทางเดียวกับผู้เข้าทำงานใหม่ตั้งแต่ปี 2561 เรื่องจ่ายค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงบิน ส่งผลให้พนักงานมีรายได้ลดลงในช่วงที่เครื่องบินต้องจอดเพราะโรคโควิด-19 ประธานคาเธ่ย์แปซิฟิคระบุว่า เป็นเงื่อนไขที่แข่งขันได้กับสายการบินคู่แข่ง แต่รอยเตอร์เผยว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ คู่แข่งหลักของคาเธ่ย์แปซิฟิค กัปตันหรือนักบินยอมลดค่าจ้างสูงสุดร้อยละ 28.5 นักบินผู้ช่วยยอมลดค่าจ้างสูงสุดร้อยละ 18.5 มีผลไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เลี่ยงการต้องถูกเลิกจ้าง.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 5 8
...