ยอดตายไซโคลน “โมคา” ถล่มเมียนมา เพิ่มเป็นกว่า 200 คน
หลังจากพายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่มเมียนมา ยังไม่มียอดผู้เสียชีวิตจากทางการ แต่คนในท้องถิ่นรายงานว่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200 คนแล้ว ส่วนผู้รอดชีวิตต้องลำบากหนัก ความช่วยเหลือเข้าไปน้อยมาก
หลังจากพายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่มเมียนมา ยังไม่มียอดผู้เสียชีวิตจากทางการ แต่คนในท้องถิ่นรายงานว่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200 คนแล้ว ส่วนผู้รอดชีวิตต้องลำบากหนัก ความช่วยเหลือเข้าไปน้อยมาก
ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) เผยว่า กองทัพเมียนมาได้นำเข้าอาวุธมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 34,297 ล้านบาท) นับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2564 และนำอาวุธเหล่านี้มาสร้างความโหดร้ายและใช้ละเมิดสิทธิมนุษยชน
ประชาชนในเมืองชิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ของเมียนมาที่ประสบภัยจากพายุไซโคลน “โมคา” เข้าคิวรอรับแจกอาหารและน้ำดื่มเมื่อวานนี้ ในขณะที่สหประชาชาติพยายามเจรจากับรัฐบาลทหารเมียนมา เพื่อเปิดทางให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุไซโคลน
ผู้นำท้องถิ่นในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน “โมคา” กล่าวว่า ยอดผู้เสียชีวิตในรัฐยะไข่ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 41 รายแล้วในวันอังคาร
ครม.อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา จากเหตุพายุไซโคลนโมคา
ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไซโคลน “โมคา” ที่พัดกระหน่ำพื้นที่บริเวณอ่าวเบงกอล เพิ่มขึ้นเป็น 29 รายแล้ว ในขณะที่ระบบการสื่อสารเริ่มค่อย ๆ กลับมาใช้งานได้อย่างช้า ๆ หลังจากพายุทำให้ต้องตัดการติดต่อสื่อสารและเส้นทางคมนาคม
เมียนมา 16 พ.ค. – รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศให้รัฐยะไข่ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ หลังพายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่ม เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย พายุไซโคลน “โมคา” ซึ่งเป็นพายุลูกใหญ่ที่สุดในอ่าวเบงกอลในรอบกว่า 1 ทศวรรษ ขึ้นฝั่งเมื่อช่วงสายวันอาทิตย์ บริเวณระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศ ซึ่งมีค่ายผู้ลี้ภัยที่มีชาวโรฮีนจาอาศัยอยู่เกือบ 1 ล้านคน กับเมืองซิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมา ล่าสุดทางการเมียนมารายงานความเสียหาย ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย ถนนหนทางมีต้นไม้ล้มขวางจำนวนมาก รวมถึงเสาไฟฟ้าหักโค่น ทำให้เส้นทางลำเลียงความช่วยเหลือไปยังเมืองซิตตเว ซึ่งมีประชากรอยู่ราว 150,000 คน ติดขัดเป็นแถวยาว ผู้คนต้องเดินเท้าหรือใช้รถจักรยานยนต์แทน สื่อของรัฐบาลเมียนมา รายงานด้วยว่า สถานีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสียหายในรัฐยะไข่ พร้อมระบุว่า พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา ประกาศให้รัฐแห่งนี้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ และสั่งการให้เจ้าหน้าที่เตรียมสิ่งของบรรเทาทุกข์ เพื่อขนส่งทางอากาศไปให้ผู้ประสบภัย ส่วนที่บังกลาเทศ พายุไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรง แม้จะเกิดดินถล่มและน้ำท่วมหลายจุด แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานพบผู้เสียชีวิต […]
ประชาชนนับแสนคนในเมืองซิตตเว เมืองท่าและเมืองหลักของรัฐยะไข่ของเมียนมา ถูกตัดขาดจากการติดต่อในวันนี้หลังจากที่พายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่มทางตะวันตกของเมียนมาและบังกลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกัน
พายุไซโคลนโมคา พัดถล่มเมียนมาและบังกลาเทศ วานนี้ สร้างความเสียหายไม่มากนัก แต่ สตอร์มเซิร์จ ทำระบบสื่อสารถูกตัดขาดเป็นวงกว้าง
เทคนาฟ 14 พ.ค.- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศแจ้งว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) ได้ขึ้นฝั่งพรมแดนบังกลาเทศ-เมียนมาแล้วในวันนี้ ทำให้ต้นไม้ล้มและมีฝนตกในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัยโรฮีนจาอาศัยอยู่ร่วมล้านคน สำนักงานฯ แจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมา ก่อนหน้านี้ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐแจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 140 นอตหรือ 259 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 5 ชายชาวโรฮีนจาวัย 28 ปีที่ลี้ภัยอยู่ในบังกลาเทศเผยว่า ที่พักในค่ายผู้ลี้ภัยสร้างด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพียงแค่ถูกลมพัดเบา ๆ ก็เสียหายแล้ว ส่วนโรงเรียนที่ใช้เป็นที่หลบภัยไซโคลนก็ไม่แข็งแรงมากพอที่จะต้านทานแรงลมได้ ทำให้ทุกคนรู้สึกหวาดกลัว ด้านชาวโรฮีนจาที่อยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเวเผยว่า เริ่มมีลมพัดแรงตั้งแต่เช้าและแรงขึ้นเรื่อย ๆ บ้านพักในค่ายพังเสียหาย หลังคาของที่หลบภัยซึ่งสร้างโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ถูกลมพัดปลิวหาย บังกลาเทศเคยถูกไซโคลนซิดร์ (Sidr) พัดถล่มทางตอนใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2550 คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 9,000 คน สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ขณะที่เมียนมาเคยถูกไซโคลนนาร์กิส (Nargis) พัดถล่มบริเวณสันดอนแม่น้ำอิรวดีในปี 2551 คร่าชีวิตคนไปมากถึง 138,000 คน.-สำนักข่าวไทย
ประชาชนตามแนวชายฝั่งทะเลของเมียนมาและบังกลาเทศนับแสนคนเร่งอพยพหาที่หลบภัย หลังคาดว่าอิทธิพลของพายุโมคาจะทำให้เกิดฝนตกหนัก ลมพัดแรง และดินถล่ม
ค็อกซ์บาซาร์ 14 พ.ค.- เจ้าหน้าที่พยากรณ์ว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) จะขึ้นฝั่งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมาราวเวลา 13:30 น.วันนี้ตามเวลาไทย เว็บไซต์ซูมเอิร์ธ (Zoom Earth) รายงานว่า ไซโคลนโมคามีความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นซูเปอร์ไซโคลน ทางการบังกลาเทศอพยพคน 190,000 คนในเมืองค็อกซ์บาซาร์และอีก 100,000 คนในเมืองจิตตะกองไปยังพื้นที่ปลอดภัย เมืองค็อกซ์บาซาร์เป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่มีชาวโรฮีนจาลี้ภัยอยู่ร่วมล้านคน ค่ายเหล่านี้ตั้งอยู่ตามเชิงเขาที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม และสร้างขึ้นอย่างลวก ๆ ด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพราะทางการเกรงว่าหากสร้างถาวรผู้ลี้ภัยจะไม่เดินทางกลับเมียนมา หลังจากหนีมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน ด้านชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมาก็เสี่ยงภัยจากไซโคลนโมคาเช่นกัน แกนนำในค่ายเผยว่า ทางการไม่ได้อพยพพวกเขาไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยจัดหาให้เพียงอาหารและสิ่งจำเป็นเท่านั้น พวกเขากังวลว่าจะตกอยู่ในอันตรายหากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ชาวเมืองซิตตเวพากันอพยพขึ้นสู่ที่สูงตั้งแต่วันเสาร์ เพราะมีคำพยากรณ์เตือนว่า อาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอร์มเซิร์จสูงถึง 3.5 เมตร ด้านนครย่างกุ้งที่อยู่ห่างออกไป 500 กิโลเมตรมีฝนตกและลมแรงแล้วในวันนี้ ไซโคลนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียด้านทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล เทียบเท่ากับไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และเฮอริเคนที่เกิดขึ้นทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก.-สำนักข่าวไทย