เปิดประสบการณ์ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19 ตอน 4 (จบ)

แม้แพทย์จะยืนยันว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่หายป่วยมีโอกาสน้อยมากที่จะแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น แต่สังคมส่วนใหญ่ยังตื่นกลัวและรังเกียจ ทำให้พวกเขาไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

เปิดประสบการณ์ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19 ตอน 3

ในช่วงที่ “โควิด-19” ระบาด สร้างความตื่นกลัวไปในทุกพื้นที่ มีหญิงฉะเชิงเทรารายหนึ่งถูกทางการแถลงว่าเสียชีวิตจากโควิด-19 แต่ภายหลังนำชิ้นเนื้อปอดไปตรวจ พบว่าไม่ได้ติดเชื้อโควิด ทำให้ครอบครัวผู้ตายถูกรังเกียจ เดือดร้อนอย่างหนัก

เปิดประสบการณ์ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19 ตอน 2

27 ก.ค. – การช่วยชีวิตผู้ป่วยหนักโควิด-19 มีบุคลากรทางการแพทย์หลายส่วนที่ต้องเป็นด่านหน้า หนึ่งในนั้นคือ วิสัญญีแพทย์ที่ทำหน้าที่ใส่ท่อช่วยหายใจ หัตถการที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อโควิดในอากาศ ทีมข่าวพาไปชมความยากลำบากในการทำหน้าที่ส่วนนี้ จากรายงานพิเศษ “เปิดประสบการณ์ชีวิตช่วงวิกฤตโควิด-19” วันนี้นำเสนอเป็นตอนที่ 2 เมื่อผู้ป่วยหนักโควิด-19 เริ่มหอบเหนื่อย มีอาการระบบหายใจล้มเหลว วิสัญญีแพทย์และทีม ต้องรีบใส่ท่อช่วยหายใจด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ ระหว่างทำหัตถการนี้มักเกิดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยขนาดเล็ก หรือแอร์บอร์น แพร่เชื้อโควิดในอากาศไปได้ไกล พวกเขาจึงเป็นด่านหน้าที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อสูง หนึ่งในวิสัญญีแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เล่าว่า นับตั้งแต่มีเคสแรกเข้ามา ก็ต้องวางแผนปรับการทำงานทุกวัน ผู้ป่วยหนักโควิดส่วนใหญ่มักมาด้วยอาการหอบเหนื่อย ระบบหายใจล้มเหลว และปอดติดเชื้อรุนแรง การใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยจึงต้องทำให้เร็วขึ้นกว่าปกติ วิสัญญีแพทย์อีกคนที่ทำหน้าที่ใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยหนักโควิดมาแล้วหลายราย บอกว่า แม้ทางโรงพยาบาลจะมีการวางระบบ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันให้อย่างดี แต่ก็อดกังวลไม่ได้ว่าตัวเองซึ่งอยู่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด จะนำเชื้อไปแพร่สู่คนในครอบครัว และคนอื่นๆ ในโรงพยาบาล อีกทั้งโควิด-19 ก็เป็นโรคอุบัติใหม่ ที่เชื้อไวรัสมีการพัฒนาอยู่ตลอด เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เราจะติด และจะเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อ สิ่งที่กลัวมากกว่าการติดเชื้อ ก็คือ การที่ตัวเราเองเป็นคนแพร่เชื้อ เชื่อว่าบุคลากรส่วนหนึ่ง ส่วนมากด้วย คิดแบบนี้ คือ …สิ่งที่กลัว ไม่ได้กลัวตัวเองติด คือ ไปทำงานเรารู้อยู่แล้วว่า เวลาติดมักไม่ได้มีอาการหนักมากนัก […]

...