ศาลอังกฤษยกฟ้อง “เกรตา ธันเบิร์ก” นักเคลื่อนไหวโลกร้อน

เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชาวสวีเดน พ้นข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดเรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชน หลังจากผู้พิพากษาตัดสินว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจในการจับกุมเธอและคนอื่น ๆ ในระหว่างการประท้วงในกรุงลอนดอนของอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว

“เกรตา ธันเบิร์ก” ถูกคุมตัวหลังประท้วงเหมืองถ่านหินในเยอรมนี

เบอร์ลิน 18 ม.ค. – เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน ถูกตำรวจเยอรมนีควบคุมตัวเป็นเวลาสั้น ๆ หลังเข้าร่วมการประท้วงในพื้นที่ทางตะวันตกของเยอรมนีเพื่อยับยั้งการขยายตัวของเหมืองถ่านหิน บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า ตำรวจเยอรมนีได้ควบคุมตัวธันเบิร์ก วัย 20 ปี เป็นเวลาสั้น ๆ ในขณะที่เธอเข้าร่วมการประท้วงคัดค้านการรื้อถอนหมู่บ้านลุตเซราทในรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย ทางตะวันตกของเยอรมนี เพื่อขยายพื้นที่ทำเหมืองถ่านหิน ขณะที่ตำรวจเยอรมนีเผยในเวลาต่อมาว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้จับกุมธันเบิร์กและได้ปล่อยตัวเธอหลังจากที่ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ทั้งยังระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวธันเบิร์กหลังจากที่กลุ่มผู้ประท้วงเคลื่อนตัวไปที่บริเวณขอบเหมืองถ่านหินการ์ซไวเลอร์ 2 โดยไม่ได้ตั้งข้อหาใด ๆ กับผู้ที่ถูกควบคุมตัว บีบีซียังระบุว่า คลิปวิดีโอจากจุดเกิดเหตุแสดงให้เห็นภาพตำรวจเยอรมนี 3 นายกำลังยกตัวธันเบิร์กออกจากกลุ่มผู้ประท้วงในขณะที่เธอมีสีหน้ายิ้มแย้ม ด้านกลุ่มผู้ประท้วงคัดค้านการรื้อถอนหมู่บ้านลุตเซราทระบุว่า การทำเหมืองถ่านหินถือเป็นการทำลายความพยายามของเยอรมนีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเยอรมนีให้คำมั่นว่าจะลดการพึ่งพาถ่านหินในรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย ซึ่งมีชื่อเสียงด้านเหมืองถ่านหิน ให้เร็วขึ้นเป็นปี 2573 เร็วขึ้นจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2581.-สำนักข่าวไทย

“เกรตา ธันเบิร์ก” จะไม่ร่วมประชุม “COP27” ที่อียิปต์

เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน ระบุว่า เธอจะไม่เข้าร่วมการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) ที่อียิปต์เป็นเจ้าภาพ

“เกรตา ธันเบิร์ก” ชี้ผู้นำโลกแสร้งจริงจังปัญหาสภาพอากาศ

กลาสโกว์ 2 พ.ย. – เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน กล่าวกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่เป็นเยาวชนว่า นักการเมืองจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์แกล้งทำเป็นเอาจริงเอาจังกับอนาคตของทุกคนท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า การเดินทางเข้าร่วมประชุมสุดยอดดังกล่าวของบรรดาผู้นำจากทั่วโลกทำให้เกิดการชุมนุมหลายสิบแห่งทั่วเมืองกลาสโกว์ ขณะที่ธันเบิร์ก วัย 18 ปี กล่าวกับผู้ชุมนุมรุ่นเยาว์ของ “ขบวนการวันศุกร์เพื่ออนาคต” (Fridays for Future) ซึ่งจัดขึ้นที่บริเวณเฟสติวัล พาร์ก ใกล้กับสถานที่จัดการประชุม COP26 ว่า การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นจากกลุ่มนักการเมืองที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดดังกล่าว แต่เกิดจากทุกคนที่แสดงความเป็นผู้นำออกมา การประชุมสุดยอดในครั้งนี้ก็เหมือนกับการประชุมในครั้งก่อน ๆ ที่ไร้ทิศทาง ภายในงานดังกล่าวมีแต่นักการเมืองและผู้มีอำนาจที่แกล้งทำเป็นเอาจริงเอาจังกับอนาคต และแสร้งจริงจังกับสภาวะของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า ทุกคนรู้สึกเจ็บปวดและเหนื่อยหน่ายกับการแสดงออกด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว และจะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองไม่ว่าบรรดาผู้นำประเทศจะเห็นชอบหรือไม่ก็ตาม.-สำนักข่าวไทย

นายกฯนิวซีแลนด์แจงนโยบายสภาพภูมิอากาศ

เวลลิงตัน 15 ธ.ค. – นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น ของนิวซีแลนด์ปกป้องนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศที่ถูกเกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้จุดมุ่งหมาย ธันเบิร์ก วัย 17 ปีโพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศของนิวซีแลนด์ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาที่ให้คำมั่นลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2568 ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรจากประเทศอื่น ๆ ขณะที่นางอาร์เดิร์นกล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงคำวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวว่า เธอรู้สึกยินดีที่ธันเบิร์กโต้แย้งนโยบายสภาพอากาศของนิวซีแลนด์ แต่การประกาศภาวะฉุกเฉินดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะเป้าหมายบางส่วนของนิวซีแลนด์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น หากครอบคลุมเป้าหมายทั้งหมดที่นิวซีแลนด์กำลังดำเนินการอยู่ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ดี ถือเป็นเรื่องดีที่ยังมีผู้คนที่คอยย้ำเตือนเรื่องจุดมุ่งหมายและการลงมือทำ นิวซีแลนด์ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยให้คำมั่นว่า ภาครัฐจะลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2568 และจะใช้งบประมาณราว 200 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (4,256 ล้านบาท) เพื่อทดแทนการใช้หม้อไอน้ำพลังงานถ่านหินและสนับสนุนการซื้อรถยนต์ไฮบริดหรือพลังงานไฟฟ้า. -สำนักข่าวไทย

...