มท.1 เน้นย้ำเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนด้านสุขภาพ

กระทรวงมหาดไทย ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 9 เฉลิมพระเกียรติ” ด้าน มท.1 เน้นย้ำมหาดไทยพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนด้านสุขภาพพลานามัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี มีความสุข ประเทศชาติมั่นคงและยั่งยืน

สธ.เผยผลคัดกรองคนไทยชุด 3 กลับจากอิสราเอล เจ็บ 2 ราย

รมว.สธ. กำชับคัดกรองสุขภาพคนไทยกลับจากอิสราเอล เน้นให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว เพื่อกลับคืนสู่อ้อมกอดครอบครัวโดยเร็ว ด้านรักษาราชการแทนรองปลัด สธ. เผยผลการดูแลคนไทยชุดที่ 3 ลงสนามบินอู่ตะเภา 90 ราย มีผู้บาดเจ็บ 2 ราย ไม่พบปัญหาสุขภาพจิต

มลภาวะทางอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพคนมากที่สุด

วอชิงตัน 29 ส.ค.- ผลการศึกษาในสหรัฐระบุว่า มลภาวะทางอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทั่วไปมากกว่าการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียใต้ สถาบันนโยบายพลังงาน มหาวิทยาลัยชิคาโกออกรายงานดัชนีชีวิตคุณภาพอากาศ (AQLI) ประจำปีในวันนี้ว่า มลภาวะฝุ่นละอองที่ปล่อยมาจากยวดยาน โรงงาน ไฟป่า และอีกหลายสาเหตุ ยังคงเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด หากโลกสามารถลดฝุ่นละอองให้เหลือ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้เป็นการถาวร คนทั่วไปจะมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 2.3 ปี เพราะฝุ่นละอองเป็นสาเหตุของโรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ว ขณะที่การสูบบุหรี่จะลดอายุขัยลง 2.2 ปี ส่วนภาวะทุพโภชนาการในวัยเด็กและมารดาจะลดอายุขัยลง 1.6 ปี รายงานระบุว่า เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศมากที่สุดในโลก โดยมีบังกลาเทศ อินเดีย เนปาล และปากีสถานเป็นอันดับ 1 ถึง 4 ของประเทศที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก บังกลาเทศมีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือพีเอ็ม 2.5 (PM2.5) 74 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กรุงนิวเดลีของอินเดียมี 126.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นมหานครที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก ขณะเดียวกันไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่กำลังทำให้มลภาวะทางอากาศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ภาคตะวันตกของสหรัฐไปจนถึงลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฤดูไฟป่าครั้งประวัติศาสตร์ของรัฐแคลิฟอร์เนียปี 2565 […]

ควันพิษจากไฟป่าแคนาดาแผ่ไปไกลทั่วอเมริกาเหนือ

ควันพิษจากไฟป่าในแคนาดาได้แผ่ปกคลุมไปทั่วทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยหมอกควัน กระทบทั้งคนและสัตว์จำนวนมาก และต้องมีการเตือนภัยคุณภาพอากาศเลวร้าย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : น้ำตาลเป็นพิษอย่างมากที่สุดได้ จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์ข้อความเตือนว่าน้ำตาลเป็นพิษอย่างเลวร้ายสำหรับมนุษย์ เป็นความหิวโหยของเซลล์มะเร็งและเป็นสาเหตุของไข้หวัดทั้งปวงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  “น้ำตาลเป็นจุดเริ่มต้นหลายอย่างของความเสื่อมของร่างกาย แล้วก็ทำให้เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่องได้อาจจะไปลดภูมิคุ้มกันแบบเจาะจงที่ทำให้ป่วยง่ายขึ้น ในหนึ่งวันไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา” สัมภาษณ์เมื่อ 18 มกราคม 2565 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

อิหร่านเผยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศเติบโตสูง

เตหะราน 2 มิ.ย. – เครือข่ายข่าวสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (IRINN) รายงานว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศกำลังเติบโต ได้รับความนิยมสูง ปีที่แล้วมีผู้ป่วยจากต่างชาติเดินทางไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของอิหร่านมากกว่า 1.2 ล้านคน น.พ. บาห์ราม เอนอลลาฮี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอิหร่าน เปิดเผยว่า ผู้ป่วยต่างชาติส่วนใหญ่มาจากอัฟกานิสถาน อิรัก อาเซอร์ไบจาน ปากีสถาน ตุรกี และอินเดีย เข้ารับบริการด้านการแพทย์และสุขภาพครอบคลุมหลากหลายสาขา อาทิ นรีเวชวิทยา สูติศาสตร์ ศัลยกรรมตา กระดูกและข้อ ศัลยกรรมความงาม โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินปัสสาวะ และที่สำคัญ มะเร็งเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดที่กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวด้านสุขภาพไปเที่ยวอิหร่านมากที่สุด ซึ่งสามารถชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและการยอมรับของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากต่างชาติที่มีต่อระบบการให้บริการทางการแพทย์ของอิหร่าน น.พ. เอนอลลาฮีระบุว่า การรักษาที่มีต้นทุนต่ำและคุณภาพสูง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ การเข้าถึงที่ง่าย และความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว เป็นปัจจัยหลักผลักดันให้นักท่องเที่ยวเลือกอิหร่านเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางเข้ารับรับการรักษาพยาบาล รัฐมนตรีสาธารณสุขอิหร่านระบุด้วยว่า อิหร่านได้รับการจัดอันดับทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2565 โดยอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คุณภาพการศึกษาทางการแพทย์ในมหาวิทยาลัยของประเทศอยู่ในระดับมาตรฐานสากล รวมถึงการผลิตยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ความก้าวหน้าที่ที่เห็นได้ชัดคือ นักวิทยาศาสตร์อิหร่านสามารถพัฒนาวัคซีน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สรรพคุณกระเทียม แก้ปวดหู คุมน้ำตาลในเลือด จริงหรือ ?

31 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับสรรพคุณของกระเทียมเอาไว้มากมาย ทั้งช่วยป้องกันโรคหัวใจ มะเร็ง และหวัด แถมยังช่วยแก้ปวดฟัน แก้ปวดหูอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : กระเทียมป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งและหวัด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อมูลว่า กินกระเทียมสามารถป้องกันโรคหวัด หัวใจ และมะเร็งได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “การกินกระเทียมไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดโรค แต่อาจจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้บ้าง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย” อันดับที่ 2 : กระเทียมใส่หูก่อนนอนแก้ปวดหู จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปแนะนำว่า กระเทียมมีประโยชน์เกินคาด หากนำมาปอกเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาใส่หูก่อนที่จะนอน เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหู ลดการติดเชื้อที่หูแบบดีเยี่ยม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ […]

กรมควบคุมโรค จัดทำแผนควบคุมโรคแรงงานข้ามชาติ

กรมควบคุมโรค จัดทำแผนปฏิบัติการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศควบคุมโรคและภัยสุขภาพ หวังครอบคลุมการดูแลแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในไทย พร้อมรับหากรัฐบาลชุดใหม่ปรับขึ้นค่าแรงต้องมีการวางแผนรัดกุมเพื่อรองรับจำนวนแรงงานที่เข้ามาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ชัวร์ก่อนแชร์ : หินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดมาจากฟัน จริงหรือ ?

22 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปเตือนว่า หินปูนที่เกาะตามฟัน เกิดจากการสะสมของแคลเซียมที่หลุดออกมาจากเนื้อฟันเมื่อเราแปรงฟัน เพราะไม่ใช้ยาสีฟันบางชนิดนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพญ.ศิริกาญจน์ อรัณยะนาค ผู้เชี่ยวชาญสาขาปริทันตวิทยา ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แคลเซียมไม่สามารถหลุดออกมาได้ด้วยการใช้ยาสีฟันและการแปรงฟัน แต่จะมีการสูญเสียแคลเซียมในชั้นเคลือบฟันได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งเกิดจากการสร้างกรดอินทรีย์ของเชื้อแบคทีเรียที่จะเป็นสาเหตุทำลายชั้นเคลือบฟันและเกิดการสลายของแร่ธาตุในชั้นเคลือบฟัน ส่วนสารผสมในยาสีฟันจะมีสารขัดที่มีชื่อว่า ABRASIVE ช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ คราบสี หรือคราบอาหารที่ตกค้างอยู่บนผิวฟัน เนื่องจากสารตัวนี้ (ABRASIVE) มีขนาดเล็กจึงไม่ไปทำลายพื้นผิวของชั้นเคลือบฟัน สารพวกนี้จึงมีความปลอดภัย ดังนั้น เรื่องหินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดออกมาจากฟัน จึงไม่เป็นความจริง และไม่ควรแชร์ต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด สัมภาษณ์เมื่อ : 16 พฤษภาคม 2565ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคประสาทหูเสื่อม

19 พฤษภาคม 2566 – โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร เมื่อไหร่ควรพบแพทย์ และมีวิธีชะลอการเสื่อมหรือรักษาหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรคประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร ? เกิดจากการสูญเสียที่หูชั้นใน  เช่น ความพิการแต่กำเนิด โรคทางพันธุกรรม ความเสื่อมตามอายุ หรือการได้รับเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ โดยมากมักจะเป็นแบบถาวร ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติได้ วิธีการป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะประสาทหูเสื่อม 1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง 2. หากจำเป็นต้องอยู่สิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังตลอด ควรใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ที่อุดหูกันเสียง ที่ครอบหู 3. ตั้งความดังเสียงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หูฟัง ให้อยู่ในระดับปลอดภัย 4.หากเกิดความผิดปกติในการได้ยิน เช่น รู้สึกได้ยินลดลง มีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบปรึกษาแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เสียงดังในหู

เสียงดังในหู คืออะไร เราจะได้ยินตอนไหน และควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำความเข้าใจกับอาการเสียงดังในหู ผศ.พญ.ศิริพร กล่าวว่า “เสียงดังในหูเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยปกติเวลาหูทำงานจะมีการส่งเสียงกลับมาด้วย เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์รับเสียงเริ่มเสื่อมลงตามอายุ ต้องกระตุ้นแรงขึ้นเลยส่งเสียงกลับมาแรงขึ้น ทำให้เราได้ยินเสียงดังในหู” ลักษณะเสียงที่ได้ยินเป็นแบบไหน ? “ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เสียง ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงวี๊ด ถ้าตามอายุหรือตามเซลล์รับเสียงในหูตาย จะตายที่บริเวณเสียงสูงก่อนเป็นอันดับแรก  แต่ถ้าหากว่าเสียงต่ำเสียก่อน ก็จะเป็นเสียงหึ่ง ๆ เหมือนเครื่องจักร” ผศ.พญ.ศิริพร กล่าว เราจะได้ยินเสียงแบบนี้ตอนไหน ? “เรามักจะได้ยินเมื่อเวลาเรามีความเครียด นอนไม่หลับ อยู่เงียบ ๆ คนเดียว เช่น เมื่อเราอยู่ในห้องเงียบ ๆ ทุกคนจะได้ยินเสียงดังในหู กลับกันหากยืนอยู่ตามท้องถนนมีเสียงที่ดังกว่า สมองของเราจะเลือกฟังเสียงที่ดังกว่า เหมือนเราทำงานเพลิน ๆ ไม่ได้สนใจเสียงแอร์ เสียงดังในหูก็คล้ายกับเสียงแอร์นั่นเอง” ผศ.พญ.ศิริพร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันปรุงอาหาร สารพัดประโยชน์ จริงหรือ ?

17 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันปรุงอาหารเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าใช้ทาไข่ไก่จะทำให้เก็บได้นานขึ้น และการอมน้ำมันกลั้วปากจะช่วยดูแลช่องปากได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ปรุงอาหารด้วยน้ำมันชนิดไหนดีกว่ากัน ? มีการแชร์กันหลายกระแสถึงเรื่องน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร บ้างก็ว่าชนิดนั้นดีกว่า ชนิดนี้ดีกว่า หลายคนได้รับแชร์ว่า น้ำมันหมูดีกว่าน้ำมันพืช บ้างก็ว่าน้ำมันมะพร้าวดีที่สุด บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายสง่า ดามาพงษ์ “การกินน้ำมันเพื่อสุขภาพที่ดีไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันเพียงอย่างเดียว ปริมาณในการใช้ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งควรกินไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา” อันดับที่ 2 : 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมู จริงหรือ ? มีการแชร์ 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมูที่คุณอาจยังไม่รู้ เช่น […]

1 2 3 4 13
...