ยูเอ็นเตือนสถานการณ์เมียนมาเข้าขั้นหายนะ
สหประชาชาติ ชี้หลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหารมาได้ 2 ปี สถานการณ์ในเมียนมามีแต่ทรุดลงและขณะนี้เข้าขั้นหายนะแล้ว
สหประชาชาติ ชี้หลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหารมาได้ 2 ปี สถานการณ์ในเมียนมามีแต่ทรุดลงและขณะนี้เข้าขั้นหายนะแล้ว
ชาร์ม เอล เชค 20 พ.ย.- การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ปิดฉากลงแล้ว พร้อมกับข้อตกลงประวัติศาสตร์ตั้งกองทุนเยียวยาความสูญเสียและเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมนาน 2 สัปดาห์ที่เมืองชาร์ม เอล เชคของอียิปต์เสร็จสิ้นในวันนี้ ล่าช้าจากเดิมที่กำหนดเสร็จสิ้นในวันศุกร์ ผู้ร่วมประชุมที่ดูเหนื่อยล้าพากันปรบมือเมื่อข้อเสนอตั้งกองทุนเยียวยาได้รับการรับรองเมื่อเข้าสู่เช้าวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีการเจรจาต่อรองกันอย่างมาราธอน เดิมข้อเสนอนี้แทบไม่มีการพูดถึงในวาระการประชุม แต่เริ่มได้รับความสำคัญมากขึ้นในระหว่างการประชุม เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาเดินหน้าผลักดันอย่างเต็มที่ จนกระทั่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศร่ำรวยที่ก่อมลพิษและกังวลมาโดยตลอดว่าจะต้องรับผิดชอบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด พันธมิตรรัฐเกาะขนาดเล็กที่ประกอบด้วยประเทศหมู่เกาะที่เสี่ยงหายไปจากแผนที่โลกเพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแถลงว่า เป็นข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่ใช้เวลาเรียกร้องนานถึง 30 ปี เนื้อหาของข้อตกลงระบุว่า กองทุนเยียวยานี้จะจัดสรรให้เฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษต่อผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเนื้อหาตามที่สหภาพยุโรปหรืออียูเรียกร้อง อียูยังต้องการให้ขยายฐานประเทศที่ต้องจ่ายเงินสดสมทบกองทุน เป็นการส่งสัญญาณว่าต้องการให้ครอบคลุมจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีฐานะดีด้วย คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านจะแก้ไขประเด็นที่ยังเป็นปัญหาและนำเสนอรายงานต่อที่ประชุมคอป 28 ที่ดูไบในปีหน้า นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ที่ประชุมคอปได้เดินหน้าไปสู่ความเป็นธรรมอย่างสำคัญด้วยการตั้งกองทุนเยียวยา แต่ยังไม่สามารถผลักดันเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน แถลงการณ์ปิดการประชุมครอบคลุมเรื่องความพยายามต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และพูดเรื่องพลังงานหมุนเวียนเป็นครั้งแรก พร้อมกับย้ำเรื่องที่เคยเรียกร้องให้เร่งยกเลิกการใช้พลังงานถ่านหินและการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ไม่ได้มีเป้าหมายใดไกลไปกว่าที่ประชุมคอป 26 ที่กลาสโกว์ของสกอต์แลนด์เมื่อปีก่อน.-สำนักข่าวไทย
สหประชาชาติคาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 8 พันล้านคนในวันนี้ ในขณะที่อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศสำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นกลับมีอัตราการเพิ่มของประชากรที่ลดลง
นายอันโตนิโอ กูแตเรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ กล่าววันนี้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาหันกลับมาเดินในเส้นทางประชาธิปไตยในทันที โดยกล่าวว่า เป็นหนทางเดียวที่จะหยุดยั้ง “ฝันร้ายที่ไม่จบสิ้น” ที่กำลังรุมเร้าเมียนมาอยู่ในขณะนี้
ชาร์มเอลเชค 6 พ.ย.- การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ที่อียิปต์เปิดฉากแล้วในวันนี้ เพื่อหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ความช่วยเหลือในการจำกัดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การประชุมมีขึ้นที่ชาร์มเอลเชค เมืองตากอากาศริมทะเลแดง จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและผู้นำรวมอยู่ด้วย มีประเทศและดินแดนต่าง ๆ เข้าร่วมมากกว่า 190 แห่ง ที่ประชุมจะหารือเรื่องการเร่งดำเนินการตามแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 การให้ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีในการจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์เมื่อปี 2564 เห็นพ้องกันว่า ภาคีทุกแห่งจะร่วมกันหาทางทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่สำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นราว 2.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นคริสต์ศวรรษที่ 21 หรือภายในสิ้นปี พ.ศ.2643 หากภาคียังคงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นในปัจจุบัน ทั่วโลกกังวลเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เนื่องจากเกิดสภาพอากาศผิดปกติบ่อยครั้งขึ้น และมีความเสียหายรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมา เช่น ปากีสถานเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ญี่ปุ่นมีอุณหภูมิฤดูร้อนปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อเดือนสิงหาคมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ และถูกตำหนิว่าเป็นเพราะชาติตะวันตกและรัสเซียเป็นอริกันจากเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน.-สำนักข่าวไทย
ออสเตรเลียและประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก จะร่วมกันเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศของโลกในปี 2026 ในขณะที่รัฐบาลพรรคแนงงานของออสเตรเลียพยายามวางจุดยืนให้ออสเตรเลียเป็นศูนย์กลางชองโลกด้านพลังงานหมุนเวียน
สหรัฐเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกบังคับใช้มาตรการลงโทษเกาหลีเหนือ โดยระบุว่า เกาหลีเหนือละเมิดมติของสหประชาชาติด้วยการทดสอบปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีป
นายไซฟุดดิน อับดุลละฮ์ รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียกล่าววันจันทร์ว่า ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จะต้องตัดสินใจว่า จะเดินหน้าผลักดันแผนสันติภาพ 5 ข้อสำหรับเมียนมาต่อไป หรือ ตัดสินใจว่าจะดำเนินขั้นตอนต่อไปอย่างไรก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนหน้า
สหประชาชาติเรียกร้องให้นานาชาติช่วยเหลือปากีสถาน ที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากอุทกภัยครั้งใหญ่ ซึ่งคร่าชีวิตชาวปากีสถานไปถึง 1,391 คน ประชาชนจำนวนมากต้องกลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
อิสลามาบัด 9 ก.ย. – นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เรียกร้องทั่วโลกให้เร่งช่วยเหลือเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปากีสถาน ในระหว่างที่เขาปฏิบัติภารกิจเยือนปากีสถานเป็นเวลา 2 วันเพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือจากภัยพิบัติน้ำท่วมรุนแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,391 คน นายกูเตอร์เรสกล่าวในขณะที่เดินทางถึงปากีสถานในวันนี้ว่า เขาขอเรียกร้องให้ประชาคมโลกเร่งส่งความช่วยเหลือมายังปากีสถาน เนื่องจากภัยพิบัติน้ำท่วมในครั้งนี้เป็นผลมาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่นางมารียัม ออรังเซบ รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศของปากีสถาน กล่าวว่า การเดินทางเยือนปากีสถานของนายกูเตอร์เรสจะทำให้ทั่วโลกทราบถึงความเสียหายรุนแรงในปากีสถานที่เกิดจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทั้งนี้ นายกูเตอร์เรสมีกำหนดพบปะกับนายกรัฐมนตรีเชห์บาซ ชารีฟ ของปากีสถาน และจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ก่อนหน้านี้ ยูเอ็นได้ประกาศมอบเงินช่วยเหลือปากีสถาน 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5,800 ล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูภัยพิบัติน้ำท่วม แต่รัฐบาลปากีสถานประเมินในขั้นต้นว่า เหตุน้ำท่วมทำให้เกิดความเสียหายคิดเป็นมูลค่าราว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 363,400 ล้านบาท) สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า เหตุฝนตกหนักและธารน้ำแข็งละลายในเทือกเขาทางตอนเหนือทำให้ปากีสถานเผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ทำลายบ้านเรือน ถนน รางรถไฟ สะพาน โรงปศุสัตว์ และพื้นที่เกษตรเป็นจำนวนมาก รวมถึงทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,391 คน ขณะที่ข้อมูลของรัฐบาลปากีสถานระบุว่า มีประชาชนเกือบ 33 […]
เนปิดอว์ 17 ส.ค. – นางโนลีน เฮย์เซอร์ ทูตพิเศษของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เรื่องเมียนมา จะเริ่มประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลทหารเมียนมาในวันนี้ แต่ไม่ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวที่ว่า เธอจะมีโอกาสพบนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อนหรือไม่ องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ระบุว่า นางเฮย์เซอร์เริ่มปฏิบัติภารกิจเยือนเมียนมาตั้งแต่เมื่อวันอังคาร โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์รุนแรงในเมียนมาและข้อวิตกกังวลเร่งด่วน รวมถึงปัญหาสำคัญอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย อย่างไรก็ดี นางเฮย์เซอร์ไม่ได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวในขณะที่กำลังเดินทางออกจากโรงแรมภายใต้การอารักขาความปลอดภัยของตำรวจและเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยนอกเครื่องแบบ ที่ว่าเธอจะมีโอกาสพบนางซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อนหรือไม่ ในขณะเดียวกัน นายซอ มิน ตัน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวในงานแถลงข่าววันนี้ว่า นางเฮย์เซอร์มีกำหนดประชุมกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมา และพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมาในช่วงเย็นวันนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาคาดว่าผลการประชุมในครั้งนี้จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ทั้งนี้ การเดินทางเยือนเมียนมาของนางเฮย์เซอร์มีขึ้นหลังจากที่นางซู จี วัย 77 ปี ถูกศาลทหารเมียนมาตัดสินจำคุกเพิ่มอีก 6 ปีในความผิดฐานทุจริตเมื่อวันจันทร์ จนทำให้ขณะนี้นางซู จี มีโทษจำคุกรวมเป็น 17 ปี.-สำนักข่าวไทย
องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น คาดโลกจะมีประชากรแตะ 8 พันล้านคน ในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ และอินเดียจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีนในปี 2566