ประธานศาลฎีกา ย้ำอำนวยความยุติธรรม ปชช.เป็นศูนย์กลาง

“อโนชา” ประธานศาลฎีกา คนที่ 49 มอบนโยบายศาลทั่วประเทศ ให้เป็น ”ที่พึ่ง เที่ยงธรรม เท่าเทียม ทันโลก” ย้ำอำนวยความยุติธรรม มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ศาลสั่ง “ช่อ” หมดสิทธิเลือกตั้งตลอดชีวิต  

ศาลฎีกาพิพากษา  “ช่อ พรรณิการ์”  ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง โพสต์หมิ่นสถาบัน เพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตลอดไป ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ไม่เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง

โฆษกศาลยุติธรรมเผยขั้นตอนนำ “ทักษิณ” ส่งศาลฎีกาฯ

โฆษกศาลยุติธรรม เผยขั้นตอนนำ “ทักษิณ” ส่งศาลฎีกา ไม่ให้สื่อเข้าฟัง คุมเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัย เหตุชนคดี “สุเทพ” โรงพักร้าง

ถอนสิทธิเลือกตั้ง “ธณิกานต์” ตลอดชีวิต

ศาลฎีกาฯ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง “ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์” อดีต สส.พปชร. ตลอดชีวิต ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม ใช้อำนาจหน้าที่มิชอบเสียบบัตรแทนกัน

ศาลฎีกาสั่งจำคุก 9 ปี “ไพร พัฒโน” หาทุนซื้อทองคำปิดพระ

ปิดคดี “ไพร พัฒโน” อดีตนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ วันนี้ ศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 9 ปี กรณีหาทุนซื้อทองคำปิดองค์พระพุทธมงคลมหาราช

ศาลฎีกาพิพากษาแก้อัตราดอกเบี้ยให้กลุ่มแม่ข่ายยูฟัน

ศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีแชร์ลูกโซ่ยูฟันสโตร์ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 และผู้เสียหาย ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องแม่ข่ายยูฟันสโตร์ โดยพิพากษายืนจำคุก 12,265 ปี ร่วมชดใช้ 356 ล้านบาท 22 จำเลย

ศาลฎีกาญี่ปุ่นให้สตรีข้ามเพศชนะคดีเข้าห้องน้ำหญิง

โตเกียว 11 ก.ค.- ศาลฎีกาญี่ปุ่นมีคำตัดสินในวันนี้ให้ข้าราชการที่เป็นสตรีข้ามเพศชนะในคดีฟ้องร้องรัฐบาลเรื่องที่เธอถูกห้ามใช้ห้องน้ำหญิงในที่ทำงาน ศาลฏีกาญี่ปุ่นระบุในคำตัดสินว่า การห้ามโจทก์ใช้ห้องน้ำที่อยู่ใกล้สถานที่ทำงาน และบังคับให้เธอใช้ห้องน้ำที่อยู่ถัดไป 2 ชั้น เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลอย่างยิ่ง และเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานคนอื่น ๆ มากเกินไป โดยละเลยอย่างไม่เป็นธรรมว่าโจทก์อาจจะเสียเปรียบอย่างไร นับเป็นครั้งแรกที่ศาลฎีกาญี่ปุ่นมีคำตัดสินเรื่องสภาพการทำงานของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือแอลจีบีทีคิว (LGBTQ) เป็นรายบุคคล ผู้เชี่ยวชาญมองว่า คำตัดสินนี้อาจเปลี่ยนทัศนะที่คนในสังคมมีต่อพื้นที่เฉพาะของสตรี โจทก์ซึ่งเป็นสตรีข้ามเพศวัย 50 ปีเศษ ถูกนายจ้างคือกระทรวงเศรษฐกิจและการค้าบอกให้ใช้ห้องน้ำสตรีที่อยู่ถัดไป 2 ชั้นจากชั้นที่เธอทำงาน เธอแย้งว่า การห้ามเธอใช้ห้องน้ำสตรีที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ทำลายศักดิ์ศรีของเธออย่างร้ายแรงที่สุด และละเมิดกฎหมายคุ้มครองพนักงานของรัฐไม่ให้ได้รับความเสียหายหรือสูญเสียในที่ทำงาน พร้อมกับแย้งด้วยว่า พนักงานสตรีคนอื่น ๆ ไม่มีใครแสดงความไม่พอใจเรื่องใช้ห้องน้ำร่วมกับเธอ ปี 2562 ศาลแขวงโตเกียวมีคำพิพากษายืนตามคำร้องของเธอ ว่า กระทรวงได้จำกัดสิทธิทางกฎหมายที่สำคัญเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศของโจทก์ แต่ศาลสูงกลับคำพิพากษาในปี 2564  ว่า รัฐมีหน้าที่ที่ต้องคำนึงถึงความอายและกังวลใจของผู้อื่นที่ใช้ห้องน้ำร่วมกับโจทก์ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำตัดสินในวันนี้ให้เธอชนะคดี.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 5 22
...