ฟอสซิล 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง ‘แมลงวางไข่-แมลงล่าไข่’ ในใบไม้

พฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช (endophytic oviposition) แสดงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช เฝิงจัว นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน และทีมงาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว ได้เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ เฝิงกล่าวว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ “การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน” เฝิงกล่าว อนึ่ง การค้นพบนี้เผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อวันอังคาร (8 พ.ย.) ที่ผ่านมา 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/science/2022-11/09/c_1310674959.htmอ่านข่าวภาษาอังกฤษ http://english.news.cn/20221109/03da97f78e2b41cd9a7520a7b4d212f7/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/319797_20221111 ขอบคุณภาพจาก Xinhua (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพฟอสซิลพืชที่แมลงวางไข่)

เพจดังแฉหมู่บ้านยิงกระสุนส่องแสงสร้างบั้งไฟพญานาค

เพจพิสูจน์บั้งไฟพญานาค เปิดภาพถ่ายและรายชื่อหมู่บ้านริมโขง ยิงกระสุนส่องแสงสร้าง “บั้งไฟพญานาค” พร้อมยื่นให้สถานทูตลาวตรวจสอบ ขณะที่นักวิชาการระบุแม้จะมีข้อถกเถียงเรื่องความเชื่อ แต่ควรเปิดกว้างเพื่อพิสูจน์ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์

กองทัพเรือ มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์

กทม. 16 มิ.ย.-กองทัพเรือ จับมือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ผนึกกำลัง มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ

“นพ.ยง” อธิบายโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย

“นพ.ยง” อธิบายโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย ตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่ไทยเลือกใช้น่าจะมีประสิทธิผลในการป้องกันได้ ชี้ต้องคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนสร้างปัญหาใหญ่

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา

กรมพลศึกษา มุ่งเน้นงานวิจัยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อนำมาใช้พัฒนาพื้นฐานสมรรถภาพและเสริมสร้างสุขภาพของคนไทยอย่างมีระบบ

สื่อเกาหลีเหนือแนะใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีลดการนำเข้า

สื่อทางการเกาหลีเหนือแนะว่า เกาหลีเหนือควรมุ่งเน้นพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตสิ่งที่จำเป็นได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าในช่วงเวลาที่ประเทศปิดพรมแดน

บ.ยาใหญ่รับปากพัฒนาวัคซีนโควิดตามมาตรฐาน

แฟรงก์เฟิร์ต 8 ก.ย.- บริษัทยาชั้นนำในสหรัฐและยุโรป 9 แห่งรับปากร่วมกันว่า จะไม่ละทิ้งมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 หลังจากมีกระแสวิตกเรื่องบริษัทต่าง ๆ แข่งขันกันอย่างรีบเร่ง ไฟเซอร์ แกล็กโซสมิทไคลน์ แอสตราเซนเนกา ไบโอเอ็นเทค จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เมอร์คแอนด์โค โมเดอร์นา โนวาแว็กซ์ และซาโนฟี ออกแถลงการณ์ร่วมกันรับปากครั้งประวัติศาสตร์ว่า จะยึดมั่นตามความถูกต้องของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการยื่นขอให้ทางการอนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยจะปฏิบัติตามแนวทางของทางการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น สำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) การอนุมัติจะต้องพิจารณาจากการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลาย มีกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับวัคซีนเป้าหมาย โดยที่ผู้ทำการทดลองและอาสาสมัครต้องไม่รู้ล่วงหน้าว่าได้รับวัคซีนขนานใด การที่บริษัทยาชั้นนำรับปากร่วมกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้สะท้อนว่า กำลังมีการถกเถียงทางการเมืองอย่างหนักว่าควรดำเนินการอย่างไรเพื่อควบคุมโรคโควิด-19 อย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถเริ่มธุรกิจและการค้าโลกได้อีกครั้ง เอฟดีเอแสดงท่าทีเมื่อเดือนก่อนว่า อาจไม่ใช้กระบวนการอนุมัติตามปกติกับวัคซีนโควิด-19 หากมั่นใจว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษ ทำให้องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ตัดสินใจด้วยความรอบคอบ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีบริษัทยาแห่งใดมีผลการทดลองขนาดใหญ่ ขณะที่รัสเซียอนุมัติให้ใช้วัคซีนไปเมื่อเดือนก่อนทั้งที่ยังไม่ทดลองระยะสามซึ่งเป็นระยะสุดท้าย.-สำนักข่าวไทย

ม.รามฯ เตรียมจัดประชุมนานาชาติวิทยาศาสตร์ฯ ครั้งที่46

กทม.5ส.ค.-ม.รามฯ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ จัดประชุมนานาชาติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฐานเทคโนโลยี ครั้งที่ 46 ระหว่าง 5-7 ต.ค.นี้ ปรับรูปแบบประชุมจากระดับชาติสู่นานาชาติ เชิญ “ศ.ดร.จอห์น วอร์เนอร์” นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปี 63 จากสหรัฐฯ ร่วมปาฐกถาพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวการจัดการประชุมนานาชาติ THE 46th INTERNATIONAL CONGRESS ON SCIENCE, TECHNOLOGY AND TECHNOLOGY-BASED INNOVATION หรือ STT46 หัวข้อ “POWER OF SCIENCE TO ACHIEVE SDGs” ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม2563 ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และอาคารศรีศรัทธา มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จทรงเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมในวันที่ 5 ตุลาคม และจะทรงประทับรับฟังปาฐกถาพิเศษจาก ศ.ดร.จอห์น วอร์เนอร์ […]

ที่ปรึกษารัฐบาลอังกฤษเตือนอย่ารีบเปิดเมืองเพราะโควิดยังระบาดหนัก

ที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลอังกฤษสองคนเตือนอย่ารีบเปิดเมืองเร็วเกินไปเนื่องจากโรคโควิด19 ยังระบาดอย่างรวดเร็วอยู่ และหนึ่งในนั้นมองว่าเป็นเรื่องทางการเมือง

“หมอยง” โควิด-19 เปิดเทอม ยึดหลักวิทยาศาสตร์

“นพ.ยง” ชี้ในสถานการณ์โควิด-19 การเปิดเทอมของเด็กนักเรียน ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ แตกต่างกันในเด็กเล็กและเด็กโต บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่การเมือง

เปิดเผยเคล็ดลับ 4 อย่างในการรักษาของจีน ผู้ป่วย COVID-19 ในอู่ฮั่นเป็นศูนย์

หม่า เสี่ยวเว่ย ผอ.สนง.คณะกรรมการสุขภาพและสวัสดิการแห่งชาติ กล่าวว่าจีนได้เรียนรู้ประสบการณ์อันมีค่าในการรักษาโควิด-19 ในผู้ป่วยรุนแรงและนำมาแบ่งปันกับนานาชาติ

1 2 3
...