ฝ่ายค้านเวเนซุเอลาลี้ภัยไปสเปนแล้ว

นายเอ็ดมุนโด กอนซาเลซ อดีตผู้สมัครฝ่ายค้านชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ได้เดินทางไปลี้ภัยในสเปนแล้ว หลังจากถูกอัยการออกหมายจับ

สหรัฐปัดเอี่ยวโค่นผู้นำบังกลาเทศ

วอชิงตัน 13 ส.ค.- รัฐบาลสหรัฐปฏิเสธว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับไล่นายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศซึ่งขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในอินเดีย โฆษกทำเนียบขาวตอบคำถามของผู้สื่อข่าวกรณีมีข่าวลือหรือรายงานว่า สหรัฐมีส่วนร่วมในการขับไล่นางเชค ฮาซีนา อดีตนายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศที่ขณะลี้ภัยอยู่ในอินเดียว่า สหรัฐไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในบังกลาเทศแต่อย่างใด การกล่าวหาสหรัฐเป็นเรื่องที่ไม่จริง สหรัฐเชื่อมั่นว่าชาวบังกลาเทศจะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของรัฐบาล และสหรัฐเองยึดมั่นในจุดยืนนี้ หนังสือพิมพ์อีโคโนมิคไทมส์ในอินเดียรายงานเมื่อวันอาทิตย์ว่า นางฮาซีนากล่าวหาสหรัฐว่ามีส่วนร่วมในการโค่นล้มเธอออกจากตำแหน่ง เนื่องจากสหรัฐต้องการเข้ามาควบคุมเกาะเซ็นต์มาร์ตินในอ่าวเบงกอล หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวอ้างว่า นางฮาซีนาเปิดเผยข้อมูลนี้ผ่านมาทางคนสนิท แต่นายชาจีบ วาเจด บุตรชายของเธอโพสต์เอ็กซ์ในวันเดียวกันว่า มารดาไม่เคยพูดเรื่องนี้ เหตุการณ์ประท้วงในบังกลาเทศที่เกิดขึ้นมานานนับเดือนมีชนวนเหตุมาจากความไม่พอใจของนักศึกษาที่ต้องการให้รัฐบาลยกเลิกการจัดสรรโควต้าเข้ารับราชการไว้สำหรับบุตรหลานของทหารผ่านศึกที่เคยร่วมรบในสงครามเรียกร้องเอกราชเมื่อปี 2514 นอกจากนี้ยังมีประชาชนร่วมผสมโรงจากความไม่พอใจเรื่องปัญหาปากท้อง ทำให้นางฮาซีนาไม่สามารถทนแรงกดดันได้อีกต่อไปจนต้องหนีไปลี้ภัยอยู่ในกรุงนิวเดลีของอินเดียเมื่อต้นเดือนนี้.-816(814).-สำนักข่าวไทย

ลูกอดีตนายกฯ บังกลาเทศมองประเทศเสี่ยงวุ่นวายแบบซีเรีย

นิวเดลี 7 ส.ค.- บุตรชายของนางเชค ฮาซีนาที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศและหนีออกนอกประเทศเมื่อวันจันทร์แสดงความเห็นว่า อนาคตของบังกลาเทศเสี่ยงเกิดความวุ่นวายเหมือนซีเรียที่เกิดสงครามกลางเมือง นายชาจีฟ วาเจด จอย วัย 53 ปี บุตรชายนางฮาซีนาให้สัมภาษณ์พิเศษกับสถานีโทรทัศน์เอ็นดีทีวี (NDTV) ของอินเดีย แสดงความกังวลเรื่องมีการทำร้ายแกนนำของพรรคสันนิบาตอวามี ซึ่งเป็นพรรคของมารดา และชนกลุ่มน้อยในประเทศ หลังจากมีการพบศพแกนนำพรรค 12 คน ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการวางเพลิงเผาบ้านเรือน สส. และรัฐมนตรีของพรรค เขามองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่การเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะมีการสังหารผู้คน เขาจะขอให้รัฐบาลอินเดียช่วยรับรองความปลอดภัยของคนเหล่านี้ ด้านกลุ่มสิทธิและผู้นำชุมชนอ้างว่า มีม็อบสร้างความเสียหายให้แก่วัดฮินดู ร้านค้า และวัดในบังกลาเทศ หลังจากรัฐบาลนางฮาซีนาล่มสลาย ต่อข้อถามว่ามองอนาคตบังกลาเทศอย่างไร นายจอยตอบว่า บังกลาเทศเสี่ยงเกิดความวุ่นวายเหมือนซีเรีย ชาวบังกลาเทศได้ตัดสินอนาคตของตนเองไปแล้ว จึงต้องอยู่กับสิ่งที่ได้ทำลงไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอนาคตที่สิ้นหวัง เศรษฐกิจจะหยุดเติบโต และทหารจะปกครองต่อไป ส่วนรายงานข่าวเรื่องสหราชอาณาจักรนิ่งเฉยต่อคำขอลี้ภัยของมารดา และข่าวสหรัฐเพิกถอนวีซ่าของมารดา บุตรชายของนางฮาซีนาปฏิเสธว่า ไม่จริง เพราะมารดายังไม่ได้ขอลี้ภัยไปยังที่ใด.-814.-สำนักข่าวไทย  

เผยคนร่วมล้านหนีออกจากราฟาห์ตั้งแต่อิสราเอลเริ่มบุก

กาซา 28 พ.ค.- สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้หรืออันวา (UNRWA) เผยวันนี้ว่า มีประชาชนประมาณ 1 ล้านคนหนีออกจากเมืองราฟาห์ ทางใต้ของกาซานับตั้งแต่อิสราเอลเริ่มใช้ปฏิบัติการทางทหารกับเมืองนี้เมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน ราฟาห์เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีพรมแดนติดกับอียิปต์ และเป็นที่พักพิงของชาวปาเลสไตน์มากกว่า 1  ล้านคนที่ลี้ภัยการสู้รบมาจากพื้นที่อื่น ๆ ในกาซา นับตั้งแต่อิสราเอลเปิดฉากทำสงครามในกาซาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 กองทัพอิสราเอลได้เริ่มใช้ปฏิบัติการทางทหารในเมืองนี้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม โดยระบุว่า เป็นปฏิบัติการอย่างจำกัดเพื่อสังหารนักรบฮามาสและรื้อทำลายโครงสร้างพื้นฐานที่ฮามาสใช้งาน และแจ้งให้พลเรือนในเมืองนี้อพยพไปยังเขตมนุษยธรรมต่อขยายที่อยู่ห่างออกไป 20 กิโลเมตร ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากร้องเรียนว่า ไม่ว่าจะเดินทางไปลี้ภัยอยู่ที่ใดก็เสี่ยงอันตรายจากการโจมตีของอิสราเอล และต้องอพยพย้ายถิ่นไปมาทั้งขึ้นเหนือและล่องใต้ในฉนวนกาซาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา อันวาระบุว่า ชาวปาเลสไตน์หนีออกจากเมืองราฟาห์ไปโดยที่ไม่มีสถานที่ปลอดภัยให้หลบภัย ต้องเผชิญทั้งกระสุนและระเบิด ขาดแคลนน้ำ ขาดแคลนอาหาร และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสม ขณะที่การให้ความช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองแทบเป็นไปไม่ได้แล้ว.-814.-สำนักข่าวไทย

รัฐบาลลาตินอเมริกาเข้าข้างเม็กซิโกที่ถูกเอกวาดอร์บุกสถานทูต

กีโต 7 เม.ย.- รัฐบาลหลายประเทศในลาตินอเมริกาแสดงท่าทีสนับสนุนเม็กซิโกและวิพากษ์วิจารณ์เอกวาดอร์ หลังจากตำรวจเอกวาดอร์บุกสถานทูตเม็กซิโกในกรุงกีโตของเอกวาดอร์ เพื่อจับกุมอดีตรองประธานาธิบดีเอกวาดอร์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ รัฐบาลในลาตินอเมริกาที่มีแนวนโยบายแตกต่างกันตั้งแต่ฝ่ายซ้ายอย่างบราซิลและโคลอมเบียไปจนถึงฝ่ายขวาอย่างอาร์เจนตินาและอุรุกวัย วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงกรณีที่ตำรวจเอกวาดอร์บุกจับกุมนายฮอร์เฆ กลาส อดีตรองประธานาธิบดีที่ต้องคดีทุจริต 2 คดีเมื่อคืนวันศุกร์ และทำให้เม็กซิโกประกาศระงับความสัมพันธ์กับเอกวาดอร์ กระทรวงต่างประเทศบราซิลแถลงว่า การกระทำของเอกวาดอร์จะต้องถูกปฏิเสธอย่างเด็ดขาด  ไม่ว่าจะมีข้ออ้างสร้างความชอบธรรมใดก็ตาม เพราะเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อบรรทัดฐานสากลที่ห้ามการบุกสถานทูตของประเทศอื่น ขอย้ำว่าบราซิลขออยู่เคียงข้างเม็กซิโก ขณะที่ประธานาธิบดีกุสตาโว เปโตร ของโคลอมเบียโพสต์เอ็กซ์ว่า ลาตินอเมริกาจะต้องคงไว้ซึ่งหลักกฎหมายสากลในยามที่ความป่าเถื่อนกำลังรุกรานโลก รัฐบาลโคลอมเบียแถลงว่า จะหาทางให้ความคุ้มครองทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนแก่นายกลาสที่ถูกทางการเอกวาดอร์ควบคุมตัวในวันเดียวกับที่ได้รับอนุมัติคำขอลี้ภัยทางการเมืองจากเม็กซิโก นายกลาสหลบซ่อนตัวอยู่ในสถานทูตเม็กซิโกที่ตั้งอยู่ในย่านการเงินของกรุงกีโตตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เอกวาดอร์ตำหนิเม็กซิโกว่าให้ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากนายกลาสเป็นผู้ต้องคดีทุจริตและขณะนี้ถูกคุมขังในเรือนจำเมืองกัวยากิลที่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ.-814.-สำนักข่าวไทย  

เม็กซิโกระงับสัมพันธ์กับเอกวาดอร์เหตุบุกสถานทูต

เม็กซิโกซิตี 6 เม.ย.- เม็กซิโกระงับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับเอกวาดอร์ หลังจากทางการเอกวาดอร์บุกจับกุมอดีตรองประธานาธิบดีเอกวาดอร์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ในสถานทูตเม็กซิโกในกรุงกีโตของเอกวาดอร์ ประธานาธิบดีอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ของเม็กซิโกโพสต์ผ่านเอ็กซ์ (X) ว่า ตำรวจเอกวาดอร์ใช้กำลังบุกเข้าไปในสถานทูตเม็กซิโกในกรุงกีโต จับกุมนายฮอร์เฆ กลาส อดีตรองประธานาธิบดีเอกวาดอร์เมื่อเย็นวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น เขาจึงได้สั่งการให้อาลิเซีย บาร์เซนา รัฐมนตรีต่างประเทศเม็กซิโกระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับเอวาดอร์ เนื่องจากการบุกจับดังกล่าวเป็นการกระทำแบบเบ็ดเสร็จ และเป็นการละเมิดกฎหมายสากลและอธิปไตยของเม็กซิโก หลังจากนั้นไม่นานนางบาร์เซนาโพสต์ผ่านเอ็กซ์ว่า เม็กซิโกขอระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับเอกวาดอร์ อดีตรองประธานาธิบดีกลาสถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาทุจริต 2 คดี เขาหลบซ่อนตัวอยู่ในสถานทูตเม็กซิโกตั้งแต่ยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองเมื่อเดือนธันวาคม 2566 เม็กซิโกอนุมัติคำขอเมื่อวันศุกร์ ก่อนที่ตำรวจเอกวาดอร์บุกเข้ามาจับกุมในวันเดียวกัน ทำเนียบประธานาธิบดีเอกวาดอร์แถลงว่า ได้จับกุมนายกลาสที่เป็นรองประธานาธิบดีสมัยรัฐบาลราฟาเอล กอร์เรอาระหว่างปี 2556-2560 และนำตัวไปยังศาลแขวงในกรุงกีโต โดยมีการวางกำลังทหารรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา แถลงการณ์ยังได้ตำหนิเม็กซิโกว่าอนุมัติให้นายกลาสลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย การบุกจับกุมอดีตรองประธานาธิบดีเอกวาดอร์เป็นความตึงเครียดล่าสุดระหว่างเม็กซิโกที่อยู่ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาเหนือ กับเอกวาดอร์ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ หลังจากเอกวาดอร์ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีให้เอกอัครราชทูตเม็กซิโกในกรุงกีโตเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา อันเนื่องจากการที่ผู้นำเม็กซิโกแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การเลือกตั้งนองเลือดในเอกวาดอร์เมื่อปีก่อนที่มีการลอบสังหารผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี.-814.-สำนักข่าวไทย

นานาชาติเตือนอิสราเอลเรื่องบุกเมืองในกาซาที่เต็มไปด้วยผู้ลี้ภัย

ลอนดอน 11 ก.พ.- นานาประเทศเตือนอิสราเอลที่มีแผนการจะบุกเมืองราฟาห์ที่อยู่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซาและเต็มไปด้วยผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ นายเดวิด คาเมรอน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์เมื่อวันเสาร์ว่า มีความกังวลอย่างยิ่งต่อเรื่องที่อิสราเอลมีแผนจะใช้ปฏิบัติการทางทหารบุกเมืองราฟาห์ สิ่งสำคัญอันดับแรกในขณะนี้คือ พักรบโดยทันทีเพื่อให้สามารถส่งความช่วยเหลือเข้าไปในกาซา และนำตัวประกันออกมา จากนั้นจึงจะเป็นการก้าวหน้าไปสู่การหยุดยิงที่ยั่งยืนและถาวร ด้านนางฮังเก แบรนส์ สลอต รัฐมนตรีต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ระบุว่า พลเรือนจำนวนมากในกาซาได้หนีลงไปทางใต้ จึงเป็นไปได้ยากที่ปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นเช่นนี้จะไม่ทำให้มีพลเรือนล้มตายและเกิดหายนะด้านมนุษยธรรมที่รุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันกระทรวงต่างประเทศซาอุดีอาระเบียเตือนว่า ไม่ควรเล็งเป้าหมายไปที่เมืองราฟาห์ ซึ่งเป็นที่พักพิงแห่งสุดท้ายของพลเรือนจำนวนมากที่ถูกการรุกรานอย่างโหดร้ายของอิสราเอลบีบบังคับให้ต้องหนี พร้อมกับย้ำข้อเรียกร้องให้มีการหยุดยิงโดยทันที นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลมีคำสั่งเมื่อวันศุกร์ให้กองทัพเตรียมพร้อมอพยพพลเรือนออกจากเมืองราฟาห์ ก่อนการขยายปฏิบัติการโจมตีฮามาสว่า เป็นไปไม่ได้ที่อิสราเอลจะบรรลุเป้าหมายในการสู้รบโดยไม่กำจัดฮามาสและปล่อยให้กองพัน 4 กองของฮามาสอยู่ในเมืองนี้ จึงจำเป็นต้องอพยพพลเรือนออกจากพื้นที่สู้รบเสียก่อน ด้านสหรัฐเตือนว่า แผนการนี้จะเป็นหายนะ ขณะที่สหภาพยุโรปและสหประชาชาติแสดงความกังวลอย่างยิ่ง ส่วนกลุ่มบรรเทาทุกข์ชี้ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะอพยพทุกคนออกจากเมืองราฟาห์ที่มีพรมแดนติดกับอียิปต์ เพราะเชื่อกันว่ามีชาวปาเลสไตน์อยู่ในเมืองนี้มากถึง 1 ล้าน 5 แสนคน ส่วนใหญ่หนีมาจากพื้นที่สู้รบอื่น ๆ ในกาซา และอาศัยเต็นท์เป็นที่พัก.-814.-สำนักข่าวไทย

ปานามาปฏิเสธคำขอของนิการากัวให้เปิดทางให้อดีต ปธน.ลี้ภัย

ปานามาปฏิเสธคำขอของนิการากัวที่ต้องการให้นายริคาร์โด มาร์ติเนลลี อดีตประธานาธิบดีปานามา เดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปลี้ภัยในนิการากัว

ญาติคนไทยในเล่าก์ก่าย ร้องทูตจีนช่วยเปิดพรมแดนให้ลี้ภัย

ญาติคนไทยที่ติดอยู่ในสงครามเมืองเล่าก์ก่าย ร้องทูตจีนช่วยเหลือและอนุญาตให้คนไทยเดินทางผ่านทางชายแดนจีน-เมียนมา เพื่อลี้ภัยจากสงคราม

เกาหลีเหนือปล่อยตัวพลทหารอเมริกัน

วอชิงตัน 28 ก.ย.- สหรัฐแจ้งว่า เกาหลีเหนือได้ปล่อยตัวพลทหารทราวิส คิงแล้ว และขณะนี้พลทหารคนดังกล่าวถูกคุมตัวอยู่ในห้องขัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแถลงว่า พลทหารคิงยังมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงดี ก่อนหน้านี้ทางการสหรัฐได้พยายามอย่างเต็มที่ในการให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับทางการเกาหลีเหนือได้ โฆษกถือโอกาสนี้กล่าวขอบคุณนักการทูตจีนและสวีเดนที่ให้การช่วยเหลือในการปล่อยตัวพลทหารคิง ด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐแถลงว่า กำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับพลทหารรายนี้ พลทหารคิงหลบหนีเข้าไปในเกาหลีเหนือเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม โดยอาศัยช่วงที่กำลังจะถูกส่งตัวกลับสหรัฐ ปะปนไปกับคณะทัวร์ที่ไปเที่ยวชมพื้นที่ในเขตปลอดทหารพรมแดนสองเกาหลี แล้วข้ามเข้าไปในฝั่งเกาหลีเหนือโดยไม่ได้รับอนุญาต เกาหลีหนือยืนยันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมว่า ควบคุมตัวเขาไว้ และอ้างว่าเขาต้องการลี้ภัยในประเทศที่ 3.-สำนักข่าวไทย

เอเอฟพีลงข่าว “ทักษิณ” ได้รับพระราชทานอภัยลดโทษ

กรุงเทพฯ 1 ก.ย.- สำนักข่าวเอเอฟพีของฝรั่งเศสรายงานข่าว ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับพระราชทานอภัยลดโทษ จากที่มีโทษจำคุกรวม 8 ปี เหลือเพียง 1 ปี เอเอฟพีระบุว่า ทักษิณ วัย 74 ปี ได้รับพระราชทานอภัยลดโทษ ไม่กี่วันหลังกลับจากการลี้ภัยนาน 15 ปีเมื่อสัปดาห์ก่อน เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากราชกิจจานุเบกษาที่ระบุเรื่องที่เขาเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อถูกดำเนินคดีก็ยอมรับผิดด้วยความเคารพในกระบวนการยุติธรรม มีปัญหาสุขภาพมากมาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษให้เหลือโทษจำคุกต่อไปอีก 1 ปี เพื่อให้ได้ใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศต่อไป เอเอฟพีระบุว่า ทักษิณกลับประเทศพร้อมกับที่พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ด้วยการจับมือเป็นพันธมิตรกับพรรคการเมืองที่สนับสนุนทหาร เป็นเหตุให้หลายคนสรุปว่ามีการทำข้อตกลงเพื่อลดโทษจำคุกของเขา เอเอฟพีชี้ด้วยว่า ทักษิณเป็นผู้ทรงอิทธิพลแต่สร้างความแตกแยกมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 8
...