fbpx

หนังสือเยียวยาแผลใจเด็กยูเครนหนีสงคราม

ลอนดอน 21 ก.พ.- อาสาสมัครชาวอังกฤษเชื้อสายยูเครนร่วมกับหลายคนจัดทำหนังสือขึ้นเพื่อเยียวยาบาดแผลทางจิตใจให้แก่เด็กชาวยูเครนที่ต้องอพยพจากบ้านเกิด ซึ่งตกอยู่ในภาวะสงครามมาตั้งแต่ 1 ปีก่อน อันนา เชฟเชนโก นักเขียนวัย 58 ปี เดินทางไปโรมาเนียหลังจากรัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนได้ไม่กี่วัน เพื่อเป็นอาสาสมัครช่วยดูแลแม่และเด็กชาวยูเครนที่หนีสงคราม สิ่งหนึ่งที่เธอสังเกตเห็นคือ เด็ก ๆ ทุกคนมีเป้หลังเป็นของล้ำค่าประจำตัว เพราะเป็นสิ่งที่พวกเขานำติดตัวมาจากบ้านเกิด ดังนั้นเมื่อเดินทางกลับถึงอังกฤษ เธอจึงคิดจะนำเป้หลังมาใช้ในโครงการเยียวยาแผลใจให้แก่เด็กชาวยูเครน โดยได้ประสานงานกับชาวยูเครนในต่างประเทศที่เต็มใจช่วยเหลือ และขอให้ไดแอน เรดมอนด์ นักเขียนหนังสือสำหรับเด็กชื่อดังชาวอังกฤษแต่งเรื่องราวที่ได้แรงบันดาลใจจากแนวคิดที่ว่า ความทรงจำของเด็กชาวยูเครนลี้ภัยทุกคนถูกบรรจุไว้ในเป้หลังหนึ่งใบ จากนั้นให้ลิเลีย มาร์ตินยุก นักวาดภาพประกอบชาวยูเครน วาดภาพที่มีชีวิตชีวาและทรงพลังจากชั้นใต้ดินในเมืองซาปอริชเชียในยูเครนที่เป็นเมืองหน้าด่านสงคราม หนังสือชื่อ “เป้หลัง (Rucksack)” ถูกนำไปแจกจ่ายตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ให้แก่โรงเรียนในอังกฤษที่เป็นศูนย์กลางการดูแลเด็กยูเครนลี้ภัยและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเปิดทางให้เด็กและผู้เป็นห่วงเด็กสามารถพูดคุยกันเกี่ยวกับสงคราม จากเดิมที่คิดว่าไม่ควรพูดถึงเพราะเกรงจะกระทบกระเทือนจิตใจเด็ก นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กชาวอังกฤษเข้าอกเข้าใจเพื่อนชาวยูเครนในวัยเดียวกันมากขึ้นด้วย.-สำนักข่าวไทย

มาเลเซียส่งกลับชาวเมียนมาที่ขอลี้ภัย 150 คน

มาเลเซียส่งตัวขาวเมียนมา 150 คนกลับประเทศในเดือนนี้ ซึ่งรวมถึงอดีตนายทหารเรือหลายคนที่ขอลี้ภัยไปพำนักในประเทศอื่น นอกจากนั้น ยังมีแผนการที่จะส่งตัวกลับเพิ่มเติมอีกแม้ว่าจะมีความเสี่ยงว่าบุคคลเหล่านี้จะถูกจับกุมเมื่อเดินทางกลับไปถึงเมียนมา

“มิสแกรนด์เมียนมา” เตรียมขอลี้ภัย สตม. ยันไม่ได้จับกุม

ฮาน เลย์ มิสแกรนด์เมียนมา ถูกทางการไทยปฏิเสธการเข้าเมือง แต่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทยยืนยันไม่ได้จับกุม ล่าสุด ประสานสายการบินให้ออกนอกราชอาณาจักร หลังเจ้าตัวเตรียมขอลี้ภัยไปต่างประเทศ

กัมพูชาเริ่มไต่สวนฝ่ายค้าน 37 คนข้อหากบฏ

พนมเปญ 15 ก.ย.- กัมพูชาเปิดการไต่สวนข้อหากบฏกับนักเคลื่อนไหวและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติพรรคฝ่ายค้านรวม 37 คนที่ถูกกล่าวหาว่าพยายามช่วยเหลือนักการเมืองลี้ภัย แต่มีจำเลยมาขึ้นศาลเพียง 3 คนเท่านั้น ทนายความจำเลยเผยว่า นายสม รังสี อดีตผู้นำฝ่ายค้านและแกนนำหลายคนของพรรคกู้ชาติกัมพูชาหรือซีเอ็นอาร์พี (CNRP) ที่ถูกยุบไปแล้ว อยู่ในกลุ่มจำเลยที่ไม่มาขึ้นศาลแขวงพนมเปญ บางคนลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ บางคนหลบซ่อนตัวเพราะคิดว่าเป็นการรังควานทางการเมือง จำเลยทั้ง 37 คน ถูกตั้งข้อหาคบคิดกันก่อกบฏ หากถูกตัดสินว่ามีความผิดจะมีโทษจำคุก 5-10 ปี คดีนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความพยายามจัดการให้นางมู ซกโฮ อดีตรองประธานพรรคซีเอ็นอาร์พี กลับกัมพูชาในเดือนมกราคม 2564 แต่ไม่เป็นผล นับเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่ศาลกัมพูชาแห่งนี้เปิดการไต่สวนคดีที่เกี่ยวกับความพยายามพาแกนนำฝ่ายค้านกลับประเทศ มีจำเลยรวมกันเกือบ 130 คน แต่ส่วนใหญ่ไม่เคยมาขึ้นศาล ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ศาลตัดสินให้จำเลย 21 คน ซึ่งมีนายสม รังสีรวมอยู่ด้วยมีความผิด และตัดสินจำคุก 5-10 ปีในข้อหากบฏและข้อหาคบคิดกันก่อกบฏและยุยงให้กระทำความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ ต่อมาในเดือนมิถุนายนศาลตัดสินให้นางเทียรี เซ็ง ทนายความชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันและผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน 60 คนมีความผิดในข้อหากบฏและตัดสินจำคุก 5-8 ปี สองคดีแรกนี้เกี่ยวข้องกับความพยายามพานายสม […]

สตรีหมายเลข 1 สหรัฐจะพบผู้ลี้ภัยชาวยูเครนในต่างประเทศ

วอชิงตัน 2 พ.ค.- นางจิล ไบเดน สตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐ จะเดินทางเยือนโรมาเนียและสโลวะเกียระหว่างวันที่ 5-9 พฤษภาคม เพื่อเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่สหรัฐ ผู้ลี้ภัยสงครามยูเครน และเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ สำนักงานสตรีหมายเลข 1 สหรัฐแถลงตารางการเดินทางว่า นางไบเดนจะเยี่ยนเยียนเจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐที่ฐานทัพอากาศ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของโรมาเนียในวันที่ 6 พฤษภาคม ก่อนเดินทางต่อไปยังกรุงบูคาเรสต์เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลโรมาเนีย เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐ เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ และครูที่สอนหนังสือให้แก่เด็กชาวยูเครนที่ลี้ภัยสงคราม จากนั้นจะแวะหลายเมืองในสโลวะเกียเพื่อพบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาล ผู้ลี้ภัย และเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ สำนักงานเผยด้วยว่า ในวันที่ 8 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันแม่ในสหรัฐที่เป็นวันหยุดประจำปีทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม นางไบเดนจะพบกับมารดาชาวยูเครนและลูก ๆ ที่ต้องหนีภัยสงครามด้วย สตรีหมายเลข 1 สหรัฐถือเป็นตัวแทนระดับสูงคนล่าสุดของสหรัฐที่แสดงความสนับสนุนยูเครนและประเทศเพื่อนบ้านที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงคราม หลังจากนางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพิ่งเดินทางไปกรุงเคียฟของยูเครนโดยไม่แจ้งล่วงหน้าเพื่อพบกับประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีเมื่อวันอาทิตย์ ข้อมูลของสหประชาชาติระบุว่า ตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากโจมตียูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ มีคนอพยพออกจากยูเครนแล้วเกือบ 5 ล้าน 5 แสนคน โดยเข้าไปในโปแลนด์มากกว่า […]

เชฟมิชลินระดมเงินบริจาคช่วยเด็กในยูเครน

โตเกียว 11 เม.ย.- เจ้าของร้านอาหารระดับมิชลิน 2 ดาวในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น (คนสวมเสื้อขาว) แจกข้าวปั้นให้แก่ผู้บริจาคเงินเข้ามูลนิธิช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน โดยมีชาวยูเครนที่เพิ่งลี้ภัยในญี่ปุ่นมาช่วยทำข้าวปั้นด้วย นายโยชิฮิโระ นาริซาวะ เจ้าของร้านอาหารมิชลิน 2 ดาววัย 53 ปี แจกข้าวปั้นห่อด้วยใบไผ่แก่ผู้บริจาคเงินตั้งแต่ 1,000 เยน (ราว 268 บาท) ขึ้นไป โดยจะนำเงินเข้ากองทุนฉุกเฉินสำหรับยูเครนที่จัดตั้งโดยคณะกรรมการญี่ปุ่นเพื่อองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ เขากล่าวว่า กำลังมีสิ่งที่เกินคาดคิดเกิดขึ้นในยูเครน เขาจึงอยากแสดงออกถึงการสนับสนุนจากญี่ปุ่น และจะจับมือกับเชฟเจ้าของร้านอาหารอีกแห่งหนึ่งที่มีสาขาทั้งในและต่างประเทศจัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคอีกทางหนึ่ง ด้านครูสอนภาษาสตรีชาวยูเครนวัย 35 ปี ที่ลี้ภัยมาญี่ปุ่นได้เพียง 2 สัปดาห์กล่าวเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า มาร่วมโครงการทำข้าวปั้นด้วย หวังช่วยคนในประเทศแม้เป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม.-สำนักข่าวไทย

มีคนลี้ภัยออกจากยูเครนแล้ว 4 ล้านคน

เจนีวา 30 มี.ค.- สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) แจ้งวันนี้ว่า มีคนลี้ภัยออกจากยูเครนแล้วราว 4 ล้านคน ตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นับเป็นวิกฤตผู้ลี้ภัยในยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เว็บไซต์ยูเอ็นเอชซีอาร์อ้างตามข้อมูลรัฐบาลว่า มีผู้ลี้ภัยเดินทางเข้าไปในโปแลนด์มากกว่า 2 ล้าน 3 แสนคน โรมาเนียมากกว่า 608,000 คน มอลโดวามากกว่า 387,000 คน ฮังการีราว 364,000 คน และบางส่วนตัดสินใจกลับยูเครน เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์เผยว่า ช่วงหลายวันมานี้มีผู้ลี้ภัยลดลง เพราะหลายคนรอดูสถานการณ์สงครามในยูเครน ส่วนจำนวนคนพลัดถิ่นภายในยูเครนคาดว่า มีประมาณ 6 ล้าน 5 แสนคน นายฟีลิปโป กรานดี ข้าหลวงใหญ่ยูเอ็นเอชซีอาร์ทวีตขณะเดินทางข้ามพรมแดนเข้าไปในยูเครนว่า มีผู้ลี้ภัยออกจากยูเครนแล้วราว 4 ล้านคนตั้งแต่รัสเซียเริ่มรุกรานเมื่อ 5 สัปดาห์ก่อน เขาจะเดินทางไปยังเมืองลวีฟ ทางตะวันตกของยูเครนเพื่อหารือหนทางเพิ่มการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและพลัดถิ่นเพราะสงครามที่ไร้เหตุผลนี้.-สำนักข่าวไทย

ทีมฟุตบอลหญิงยูเครนลี้ภัยมาซ้อมที่เอฟซี โคโลญจน์

ทีมฟุตบอลหญิงในดิวิชั่น 1 จากยูเครน เดินทางถึงเมืองโคโลญจน์ ของเยอรมนี ด้วยความช่วยเหลือของสโมสรเอฟซี โคโลญจน์

นำเหรียญโนเบลสันติภาพออกประมูลช่วยยูเครน

มอสโก 23 มี.ค.- บรรณาธิการชาวรัสเซียจะนำเหรียญรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่ได้รับเมื่อปีก่อน ออกประมูลเพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวยูเครน เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อิสระโนวายา กาเซตาประกาศเมื่อวานนี้ว่า นายดมิทรี มูราตอฟ บรรณาธิการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์จะเปิดประมูลเหรียญรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่ได้รับเมื่อเดือนธันวาคม 2564 จากผลงานการแสดงความเห็นปกป้องเสรีภาพในรัสเซียอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย นายมูราตอฟโพสต์แถลงการณ์ในเว็บไซต์ว่า เด็ก ๆ ที่บาดเจ็บและไม่สบายจำนวนมากกำลังต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน เขาจึงต้องนำเหรียญรางวัลอันทรงเกียรติดังกล่าวออกประมูล พร้อมกับย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนเรื่องการหยุดยิง แลกเปลี่ยนตัวนักโทษ และเปิดเส้นทางมนุษยธรรม เงินที่ได้จากการประมูลจะมอบให้แก่มูลนิธิความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวยูเครน ขณะนี้เขากำลังติดต่อกับสถานประมูลต่าง ๆ ให้ช่วยดำเนินการในเรื่องนี้ ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติระบุว่า มีคนลี้ภัยออกจากยูเครนแล้วมากกว่า 3 ล้าน 5 แสนคน นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครนเมื่อวนที่ 24 กุมภาพันธ์.-สำนักข่าวไทย

โรฮิงญาในบังกลาเทศดีใจสหรัฐชี้ขาดเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ธากา 22 มี.ค. – ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศแสดงความยินดีที่รัฐบาลสหรัฐประกาศว่า การที่รัฐบาลทหารเมียนมาใช้ความรุนแรงกดขี่ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชายชาวโรฮิงญาวัย 60 ปี ที่ลี้ภัยอยู่ในค่ายแห่งหนึ่งในเขตค็อกบาซาร์ของบังกลาเทศเผยว่า ดีใจมากที่นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐประกาศขณะกล่าวสุนทรพจน์ที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐในกรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์ว่า การปราบปรามของเมียนมาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยอ้างตามคำให้การที่มีการยืนยันเรื่องกองทัพเมียนมากระทำความโหดร้ายกับพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบต่อชาวโรฮิงญา ชายคนนี้กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมาทรมานชาวโรฮิงญาและชุมชนต่าง ๆ มานาน 60 ปีแล้วเริ่มตั้งแต่ปี 2505 เขาเชื่อว่าการประกาศของสหรัฐเปิดทางให้ประชาคมโลกสามารถดำเนินการกับเมียนมาได้ ด้านศูนย์เพื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศึกษา มหาวิทยาลัยธากาในบังกลาเทศมองว่า การประกาศของสหรัฐถือเป็นก้าวเชิงบวก แต่จำเป็นต้องดูต่อไปว่า จะมีก้าวที่เป็นรูปธรรมติดตามมาหรือไม่ ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการประกาศของสหรัฐจะทำให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้รับการรับรองสถานภาพพลเมืองในเมียนมา คำถามพื้นฐานคือผู้ลี้ภัยที่อยู่ตามค่ายต่าง ๆ ในเขตค็อกบาซาร์ราว 1 ล้านคนจะได้กลับเมียนมาอย่างไรและเมื่อใด ทางศูนย์คาดว่า สหรัฐอาจใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อเมียนมาเป็นมาตรการขั้นถัดไป และต้องรอดูว่าสหรัฐจะสนับสนุนกระบวนการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกในกรุงเฮกที่กำลังไต่สวนเมียนมาในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาตามที่แกมเบียยื่นฟ้องหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

อังกฤษเล็งผ่อนคลายระเบียบรับผู้ลี้ภัยยูเครนหลังถูกวิจารณ์หนัก

ลอนดอน 10 มี.ค.- อังกฤษจะพิจารณาเรื่องผ่อนคลายระเบียบการตรวจลงตราหนังสือเดินทางหรือวีซ่าให้แก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครน หลังจากรัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าให้ความสำคัญกับระเบียบขั้นตอนมากกว่าชีวิตของผู้หนีภัยสงคราม นายเจมส์ ฮีปปี รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมของอังกฤษให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์บีบีซีว่า เขาเชื่อว่ากระทรวงมหาดไทยกำลังหาทางผ่อนคลายระเบียบตามที่ได้เผยเมื่อคืนที่ผ่านมาว่า กำลังหาทางขยายโครงการรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครน และกำลังทบทวนมาตรการตรวจสอบนโยบายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อทำให้กระบวนการง่ายขึ้น กระทรวงมหาดไทยกำลังหาทางผ่อนคลายระเบียบการขอวีซ่าและเพิ่มศักยภาพของศูนย์ขอวีซ่า โดยที่กระทรวงกลาโหมพร้อมให้ความช่วยเหลือ อังกฤษกำหนดไว้ว่า ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนต้องมีวีซ่าเข้าอังกฤษ โดยบอกผู้ลี้ภัยที่รออยู่ที่กาเลส์ เมืองท่าริมทะเลของฝรั่งเศสให้ไปยื่นขอวีซ่าที่กรุงปารีสของฝรั่งเศสหรือที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียม ในขณะที่ประชาชนทั่วยุโรปเปิดประตูบ้านให้ที่พักแก่ครอบครัวชาวยูเครนลี้ภัย หนังสือพิมพ์เดลี่เมล์อธิบายว่า มาตรการวีซ่าของอังกฤษกำหนดให้ผู้ลี้ภัยต้องมีเอกสารยืนยันว่าอาศัยอยู่ในยูเครนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565 และต้องแสดงสูติบัตรหรือทะเบียนสมรสว่ามีความเกี่ยวข้องกับชาวยูเครนที่อาศัยอยู่ในอังกฤษ ส่งผลให้อังกฤษรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับฝรั่งเศส เยอรมนี หรือประเทศเพื่อนบ้านยูเครนที่ยกเลิกข้อกำหนดต้องมีวีซ่าเข้าประเทศ ทั้งนี้นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครน อังกฤษได้ให้วีซ่าแก่ชาวยูเครนเพียง 950 คนเศษเท่านั้น เทียบกับโปแลนด์ที่รับชาวยูเครนแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน 2 แสนคน.-สำนักข่าวไทย

ชาวยูเครนในมอลโดวา ลี้ภัยไปยังโรมาเนีย

ชาวยูเครนหลายร้อยคนในมอลโดวา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก ต่อคิวเพื่อรอรถไฟท่ามกลางหิมะ เพื่อเดินทางข้ามพรมแดนไปยังโรมาเนีย ส่วนเมืองมาริอูโปลไม่มีน้ำและไฟฟ้าใช้หลายวันแล้ว

1 2 3 4 7
...