ญี่ปุ่นเปิดฉากหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ

โตเกียว 23 มี.ค.- ญี่ปุ่นเริ่มการหาเสียงอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ ผลการเลือกตั้งอาจมีผลต่อการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะว่าจะยุบสภาจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดหรือไม่ในช่วงที่คะแนนนิยมไม่ดีนัก การเลือกตั้งท้องถิ่นทุก 4 ปีจะมีขึ้นในวันที่ 9 เมษายน 2566 เป็นการเลือกตั้งรอบแรก ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด 9 จังหวัดได้เปิดตัวหาเสียงในวันนี้ ส่วนผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรี 6 เมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น 41 จังหวัด และ 17 เมืองใหญ่จะเปิดตัวภายในเดือนนี้ ประเด็นหลักที่คาดว่าจะใช้ในการหาเสียงคือ แผนการขึ้นภาษีของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนงบประมาณด้านกลาโหมที่เพิ่มขึ้น มาตรการแก้ปัญหาอัตราเด็กเกิดใหม่ต่ำ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และปัญหาระดับท้องถิ่นอื่น ๆ มีกระแสข่าวลือหนาหูว่า นายกรัฐมนตรีคิชิดะอาจจะยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนที่เขาจะครบวาระการเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือแอลดีพี (LDP) ในเดือนกันยายน 2567 เพื่อสกัดผู้อื่นชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดต้องจัดขึ้นภายในเดือนตุลาคม 2568 พรรคแอลดีพีตั้งเป้าจะได้ที่นั่งในการเลือกตั้งสภาระดับจังหวัดเกินครึ่งจากทั้งหมด 2,260 ที่นั่ง แต่หากพลาดเป้าก็จะทำให้คิชิดะมีอิทธิพลทางการเมืองลดลง และยากจะนำพาพรรคชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้ ผลการหยั่งเสียงของสำนักข่าวเกียวโดนิวส์ในเดือนนี้พบว่า รัฐบาลคิชิดะมีคะแนนนิยมร้อยละ 38.1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 33.6 เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์.-สำนักข่าวไทย

ครม. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ครม. มีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ที่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี สถานะของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66

สรุปไทม์ไลน์ “ยุบสภา” 14 ครั้ง แห่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย | FACTSHEET

ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66 โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ | กัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร, ปพิชยา นัยเนตร, พีรพล อนุตรโสตถิ์ การยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นับเป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งการยุบสภาในแต่ละครั้ง มีสาเหตุและบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมมานำเสนอในบทความนี้ รู้จัก “ยุบสภา”          “ยุบสภา” หรือคำเต็มคือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การทำให้การดำรงสภาพของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบกำหนดตามวาระ โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่         ประเทศไทย เคยมีการประกาศ “ยุบสภา” มาแล้ว 15 ครั้ง โดยแบ่งเป็น การยุบสภาผู้แทนราษฎร 14 ครั้ง และ การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1 ครั้ง การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ […]

“อนุทิน” เตรียมถอยบทบาท รมว.สธ.หลังยุบสภา

“อนุทิน” เตรียมถอยบทบาท รมว.สธ.หลังยุบสภา ชี้ เป็นมารยาททางการเมือง ระบุ ไม่กังวลคะแนนเสียง หลังกัญชา ถูกด้อยค่า ยัน ภูมิใจไทย เสนอกฎหมายควบคุม ไม่เคยตั้งเป้าให้ใช้นันทนาการ

ฝากรัฐบาลใหม่สานต่องานให้ปท.มั่นคง ยั่งยืน

นายกฯ บอกให้รอราชกิจจานุเบกษาประกาศยุบสภา เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ไม่มีอะไรทิ้งท้าย ขอแค่ช่วยกันทำงานช่วงรักษาการให้ดีที่สุด  ฝากรัฐบาลใหม่สานต่อโครงการให้ปท.มั่นคง ยั่งยืน เตรียมลงพื้นที่มากขึ้นกันขรก.เกียร์ว่าง

“วิษณุ” คาด พ.ร.ฎ.ยุบสภา ประกาศลงราชกิจจาฯ วันนี้

“วิษณุ” เผย นายกฯ ทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว คาดประกาศลงราชกิจจานุเบกษาวันนี้ ขอหารือ กกต.กำหนดวันหย่อนบัตร

“วิษณุ” ถก “กกต.” พรุ่งนี้ วางแนวปฏิบัติหลังยุบสภา

“วิษณุ” ถก “กกต.” พรุ่งนี้ วางแนวปฏิบัติ ครม. – ขรก.หลังยุบสภา ยึด รธน.ม.168 เป็นหลัก พร้อมไทม์ไลน์เลือกตั้ง กกต.จ่อประชุม 21 มี.ค. กำหนดวันเลือกตั้งและวันสมัคร

นายกฯ ให้รอราชกิจจาฯ ประกาศยุบสภา

นายกฯ เผยเสนอร่างพ.ร.ฎ.ยุบสภาแล้ว รอประกาศในราชกิจจานุเษกษา ยืนยันแม้เป็นรัฐบาลรักษาการจะลงพื้นที่ต่อเนื่อง ป้องกันข้าราชการเกียร์ว่างช่วงรอยต่อ เคารพการตัดสินใจ “สมศักดิ์” ไปอยู่ที่ไหน ยังรักกันเหมือนเดิม

ชี้ หาก กกต.แบ่งเขตเลือกตั้งเสร็จ ก็ยุบสภาได้

“วิษณุ” ชี้หาก กกต.ส่งเรื่องแบ่งเขตเลือกตั้งให้รัฐบาลวันนี้ ก็สามารถประกาศยุบสภาได้ เตรียมร่าง พ.ร.ฎ.ยุบสภาพร้อมแล้ว ยันนายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันที โดยไม่ผ่าน ครม. แจง “นายกฯ” ลงพื้นที่ตรวจราชการทำได้ แต่หากมีหลักฐานชัดก็เอาผิดได้เช่นกัน

1 2 3 4 18
...