
ฟีฟ่าขอผลสอบเหตุแฟนบอลเหยียบกันตาย
ฟีฟ่า ติดต่อสมาคมฟุตบอลแห่งอินโดนีเซีย ขอรายงานสอบสวนเหตุแฟนบอลเหยียบกันเสียชีวิต
ฟีฟ่า ติดต่อสมาคมฟุตบอลแห่งอินโดนีเซีย ขอรายงานสอบสวนเหตุแฟนบอลเหยียบกันเสียชีวิต
จาการ์ตา 2 ต.ค.- เหตุจลาจลที่สนามฟุตบอลอินโดนีเซียหลังจบการแข่งขันเมื่อคืนวันเสาร์มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 174 คนแล้ว ส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะถูกเบียดและเหยียบ หลังจากตำรวจยิงแก๊สน้ำตาสลายฝูงชนจนผู้คนวิ่งหนีกันอย่างโกลาหล เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อแฟนฟุตบอลทีมอาเรมา เอฟซี ของเมืองมาลัง ที่เป็นเจ้าบ้าน ผิดหวังที่ทีมพ่ายให้แก่ทีมเปอร์เซบายา สุราบายาไป 2 ต่อ 3 ประตู จึงพากันขว้างปาขวดน้ำและสิ่งของใส่นักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ แล้วลงไปประท้วงเต็มสนามคันจูรูฮัน เรียกร้องให้คณะบริหารของทีมชี้แจงว่า เหตุใดทีมที่ไม่เคยแพ้ในบ้านมาตลอด 23 ปี จึงจบเกมด้วยสกอร์ดังกล่าว เหตุจลาจลลุกลามออกไปนอกสนาม มีการเผาทำลายรถตำรวจอย่างน้อย 5 คัน ด้านตำรวจปราบจลาจลตอบโต้ด้วยการยิงแก๊สน้ำตา และมีการยิงไปยังผู้คนที่อัฒจรรย์ด้วย ทั้งที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า (FIFA) มีกฎห้ามใช้แก๊สน้ำตาในสนามฟุตบอล ทำให้คนในสนามแห่วิ่งหนีไปยังทางออกเพื่อหนีแก๊สน้ำตา จนเกิดการเบียดกันมีทั้งคนหายใจไม่ออกและคนถูกเหยียบ รายงานระบุว่า มีคนเสียชีวิตในสนามฟุตบอล 34 คน บางรายงานระบุว่ามีเด็กรวมอยู่ด้วย ผู้บัญชาการตำรวจชวาตะวันออกแถลงข่าวในเช้าวันนี้ว่า ตำรวจได้ดำเนินมาตรการป้องกันแล้ว ก่อนตัดสินใจใช้แก๊สน้ำตาในที่สุด เนื่องจากแฟนฟุตบอลเริ่มทำร้ายตำรวจ กระทำการอย่างไร้ขื่อแป และเผายวดยาน ผู้บาดเจ็บมากกว่า 300 คนถูกส่งไปรักษาตัวตามโรงพยาบาลใกล้เคียง แต่หลายคนเสียชีวิตระหว่างทางและระหว่างการรักษา ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชวาตะวันออกเผยกับคอมปาสทีวีว่า ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 174 คนแล้ว […]
จาการ์ตา 2 ต.ค.- ภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสนามฟุตบอลจังหวัดชวาตะวันออกของอินโดนีเซียเมื่อคืนวันเสาร์ที่มีผู้เสียชีวิตแล้ว 129 คน สะท้อนถึงความรุนแรงและความล้มเหลวที่ผ่านมาในการบริหารจัดการกีฬาฟุตบอลของอินโดนีเซีย รอยเตอร์ย้อนรอยเส้นทางกีฬาฟุตบอลของอินโดนีเซียว่า ฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมที่สุดของประเทศนี้ที่มีประชากรมากเกือบ 275 ล้านคน แต่ไม่สามารถนำศักยภาพมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และไม่เคยได้เข้ารอบคัดเลือกฟุตบอลโลก ยกเว้นปี 2481 ที่เข้ารอบในฐานะที่เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ในชื่อ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ กีฬาฟุตบอลของอินโดนีเซียมีปัญหารุมเร้าทั้งในสนามและนอกสนาม รัฐบาลเคยเข้าไปแทรกแซงจนถูกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า (FIFA) ลงโทษด้วยการสั่งห้ามทีมชาติอินโดนีเซียเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติทุกรายการในปี 2558 ก่อนที่ฟีฟ่าจะยกเลิกโทษแบนในอีกหนึ่งปีถัดมา หลังจากอินโดนีเซียดำเนินการปฏิรูปหลายอย่าง รอยเตอร์ระบุว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันฟุตบอลในอินโดนีเซียยังคงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เมื่อแฟนฟุตบอลของทีมที่เป็นคู่แข่งมาเจอกันและจบลงด้วยเหตุนองเลือด พร้อมกับอ้างรายงานของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงออสเตรเลียหรือเอบีซี (ABC) ว่า ช่วงปี 2537-2557 อินโดนีเซียมีแฟนฟุตบอลเสียชีวิตเพราะความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลทั้งหมด 74 คน อินโดนีเซียเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งถูกเลื่อนมา 2 ปีเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และได้สมัครขอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลเอเชียนคัพ 2023 แข่งกับกาตาร์และเกาหลีใต้ เนื่องจากจีนขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพ คาดว่าคณะกรรมการบริหารของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียหรือเอเอฟซี (AFC) จะประกาศชื่อประเทศที่จะได้เป็นเจ้าภาพในวันที่ 17 ตุลาคมนี้.-สำนักข่าวไทย
เอกวาดอร์ยังได้สิทธิลุยฟุตบอลโลก 2022 ตามเดิม หลัง “ฟีฟ่า” ปัดคำอุทธรณ์ของชิลี ที่ร้องเรียนว่า เอกวาดอร์ใช้นักเตะปลอมสัญชาติลงสนาม
ฟีฟ่า ยืนยันผู้ตัดสินทุกคนพร้อมทำหน้าที่ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์
ฟุตบอลโลกปี 2026 ได้ 16 เมือง จาก 3 ประเทศ ที่จะร่วมกันจัดการแข่งขันแล้ว ประธานฟีฟ่าเชื่อว่าจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของศึกฟุตบอลโลก
สหพันธ์ฟุตบอลชิลี ยื่นคำร้องต่อฟีฟ่า ขอให้สอบสวนทีมชาติเอกวาดอร์ กรณีส่งนักเตะผิดกฎลงสนาม หลังสงสัยว่า “ไบรอน คาสติลโญ” แบ็กขวาเอกวาดอร์ น่าจะเป็นนักเตะสัญชาติโคลอมเบีย และปลอมแปลงอายุจริง
เลื่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบเพลย์ออฟ ระหว่าง สกอตแลนด์ กับ ยูเครน ออกไปไม่มีกำหนด โดยฟีฟ่าจะประเมินสถานการณ์ในยูเครนอีกครั้ง
ฟีฟ่า เปิดตลาดนักเตะช่วงพิเศษให้ผู้เล่น และโค้ชต่างชาติ ที่สังกัดสโมสรในลีกรัสเซีย สามารถย้ายทีมได้ เพื่อช่วยเหลือผู้เล่นที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม
อาร์เอฟยู เตรียมยื่นอุทธรณ์กรณีทีมชาติและสโมสรจากรัสเซีย ถูกฟีฟ่าและยูฟ่าสั่งแบนจากการแข่งขันระดับนานาชาติ พร้อมดำเนินการทางกฎหมายต่อ 2 องค์กรลูกหนัง
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล สั่งแบนธงชาติ เพลงชาติ และสัญลักษณ์ ของประเทศรัสเซีย และเบลารุส ส่วน “ฟีฟ่า” จับมือ “ยูฟ่า” แบนรัสเซีย ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับชาติและสโมสร
“ฟีฟ่า-ยูฟ่า” ประกาศแบน “รัสเซีย” จากฟุตบอลทุกระดับทั้งทีมชาติและสโมสร ลั่นโลกฟุตบอลขอยืนหยัดเคียงข้างความสงบสุข