ยูกันดาขาดแคลนหมอรับมืออีโบลา
กัมปาลา 17 พ.ย.- แพทย์ในยูกันดาเผยว่า ความกลัวติดโรคอีโบลาที่ทำให้ถึงตาย ความเหนื่อยล้า และเงินเดือนล่าช้า เป็นสาเหตุที่ทำให้เหลือแพทย์เพียงไม่กี่คนในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโรคอีโบลา หอแยกผู้ป่วยที่โรงพยาบาลฟอร์ตพอร์ทัล ทางตะวันตกของยูกันดา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับภูมิภาค มีแพทย์ 10 คนเข้ามาทำงานทันทีที่อีโบลาเริ่มระบาดครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน แต่ขณะนี้เหลือแพทย์เพียง 3 คน แพทย์ที่เหลืออยู่เผยว่า แพทย์ส่วนใหญ่ลังเลที่จะมาทำงานในหอแยกผู้ป่วยนี้ เพราะกลัวติดเชื้อไวรัสอีโบลา เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตไปแล้ว 2 คน ขณะที่โรงพยาบาลทั่วประเทศมีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อทั้งหมด 15 คน และเสียชีวิตไปแล้ว 6 คน นอกจากนี้ยังเป็นเพราะความเหนื่อยล้าและเงินเดือนที่จ่ายล่าช้า ยูกันดามีแพทย์เพียง 1 คนต่อประชากร 25,000 คน ต่ำกว่าเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่ 1 คนต่อ 1,000 คน กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า ไม่มีปัญหาขาดแคลนบุคลากรหรือทรัพยากร แพทย์หอผู้ป่วยวิกฤตหรือไอซียูทำงานสูงสุดกะละ 8 ชั่วโมง และมีการนำบุคลากรจากพื้นที่ที่ปลอดอีโบลามาทำงานหมุนเวียน แต่สมาคมแพทย์ยูกันดาแย้งว่า ตั้งแต่อีโบลายังไม่ระบาด ยูกันดาก็มีแพทย์ทำงานเพียงร้อยละ 40 อีโบลาเข้ามาทำให้ระบบสาธารณสุขใช้การไม่ได้ทางอ้อม เพราะบุคลากรขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคลหรือพีพีอีในการรักษาผู้ป่วย เชื้อไวรัสอีโบลาที่กำลังระบาดในยูกันดาเป็นสายพันธุ์ซูดานที่ยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันได้ผล ยอดผู้ป่วยเพิ่มเป็น 141 […]