พะยูนตาย

ห่วงสถานการณ์พะยูน พบตายถี่จากแหล่งหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

“เฉลิมชัย” ห่วงสถานการณ์ “พะยูน” ซึ่งพบตายบ่อยขึ้น สั่งการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและกรมอุทยานแห่งชาติฯ เฝ้าติดตามปัญหา ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขโดยด่วน

มนุษย์ ภัยคุกคามพะยูน ?

ช่วงนี้พบพะยูนในทะเลฝั่งอันดามันตายเพิ่มขึ้นแบบถี่ยิบ จนน่าเป็นห่วงว่าพะยูนอาจสูญพันธุ์ไปในอนาคต โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อมีการพบพะยูนตายในทะเลภูเก็ต อยู่ในสภาพถูกตัดหัว คาดนักล่าหวังเอาเขี้ยว

พบพะยูนตายต่อเนื่อง ล่าสุดพบที่เกาะศรีบอยา

พบซากพะยูนที่เกาะศรีบอยา จ.กระบี่ เป็นเพศเมียาวประมาณ 1 เมตร หนัก 60 กก. คาดตายมาไม่เกิน 1 วัน พบตายตัวที่ 2 ในรอบ 1 เดือน ที่ทะเลกระบี่

พะยูนตัวแรกของฤดูกาลท่องเที่ยวโผล่

นับตั้งแต่เปิดฤดูกาลท่องเที่ยว 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เพิ่งพบพะยูนบริเวณหน้าเกาะลิบง จังหวัดตรัง เป็นตัวแรก สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวอย่างมาก

พบพะยูนรวมฝูงครั้งใหญ่ 30 ตัว บริเวณแหล่งหญ้าทะเลเกาะมุกด์

เจ้าหน้าที่ออกสำรวจพบพะยูนรวมฝูงมากถึง 30 ตัว บริเวณแหล่งหญ้าทะเล เกาะมุกด์-หาดหยงหลำ ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง

ตั้งวอร์รูมแก้ไขปัญหาพะยูนตายต่อเนื่อง ปี 67 ตาย 20 ตัวแล้ว

กรุงเทพฯ 12 พ.ค. -“พัชรวาท” สั่งกรม ทช. และกรมอุทยานฯ ตั้งวอร์รูม แก้ปัญหาพะยูนฝั่งอันดามันตายต่อเนื่อง โดย 5 เดือนแรกปี 67 ตายแล้ว 20 ตัว ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนคุ้มครองพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน พร้อมพิจารณาใช้มาตรการปิดการท่องเที่ยวและกันพื้นที่คุ้มครองทางทะเล หาแนวทางอนุรักษ์เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปิดเผยว่า สั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชตั้งศูนย์บัญชาการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาพะยูนซึ่งสัตว์ทะเลหายากตายเป็นจำนวนมากและถี่ขึ้นในฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง พะยูนเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 6 ตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยพบเห็นได้มากที่จังหวัดตรัง บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ จังหวัดกระบี่ บริเวณเกาะปู เกาะจำ เกาะศรีบอยา เกาะลันตา และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเล ในอดีตพบการตายของพะยูนจากการเจ็บป่วยตามธรรมชาติ การต่อสู้กันเองติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ หรือถูกเรือชนหรือถูกใบจักรเรือฟัน แต่ปัจจุบันสืบเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ทำให้แหล่งหญ้าทะเลเกิดการเสื่อมโทรมและสูญหายเป็นจำนวนมาก พะยูนบางส่วนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดตรังและกระบี่ เคลื่อนย้ายถิ่นไปหากินแหล่งหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียง […]

“กรมทะเลชายฝั่ง” ช่วยพะยูนเกยตื้นสำเร็จ บริเวณแหลมจูโหย จังหวัดตรัง

ตรัง 7 พ.ย.- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วยเหลือพะยูนเกยตื้นมีชีวิตอยู่บริเวณแหลมจูโหย ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ต. เกาะลิบง อ. กันตัง จ. ตรัง โดยพบว่า มีบาดแผลที่โคนหางซึ่งเกิดจากการถูกเชือกพันรัด แต่ขอบแผลเป็นเนื้อตายสมานกัน คาดเป็นแผลเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน จึงนำเชือกออกให้ เมื่อประเมินว่า สามารถตอบสนองและทรงตัวว่ายน้ำได้ดี จึงปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ( ศวอล.) ได้รับแจ้งจากนายกฤษณะ ผ่องศรี เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรังว่า พบพะยูนเกยตื้นมีชีวิตอยู่บริเวณแหลมจูโหย ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ต. เกาะลิบง อ. กันตัง จ. ตรัง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ศวอล. ร่วมกับเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงนำเรือยางขนาดเล็กและเรือพาดหางยาว 4 ลำ เพื่อสำรวจและติดตามช่วยเหลือพะยูนตัวดังกล่าว พบว่า พะยูนมีเชือกรอบปูพันอยู่ที่โคนหาง เจ้าหน้าที่ ศวอล. จึงได้ทำการช่วยเหลือพะยูนและทำการปลดเชือกบริเวณโคนหางโดยทันที จากการตรวจร่างกายเบื้องต้นพบว่า เป็นพะยูนเพศเมียอยู่ในช่วงวัยรุ่น ขนาดตัวประมาณ 2 เมตร มีเพรียงเกาะตามลำตัวเล็กน้อย มีบาดแผลที่โคนหางซึ่งเกิดจากการถูกเชือกพันรัด […]

แห่ดูพะยูนโชว์ตัวกินหญ้าทะเล อันซีนแห่งใหม่ของ จ.ตรัง

นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเกาะมุก อ.กันตัง จ.ตรัง ต่างตื่นเต้นและดีใจ ได้เห็นพะยูนมากินหญ้าทะเลให้เห็นกันชัดๆ แถมยังว่ายน้ำพลิกตัวโชว์หน้าท้องสีขาวอย่างสบายใจ กลายเป็นอันซีนแห่งใหม่ของจังหวัด

นักวิจัยชี้พะยูนสูญพันธุ์ไปจากประเทศจีนแล้ว

นักวิจัยประกาศว่า พะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นแรงบันดาลใจเกี่ยวกับตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับนางเงือก สูญพันธุ์ไปจากประเทศจีนแล้ว

พบพะยูนตายอีก 1 ตัว

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีรายงานพบพะยูนขนาดโตเต็มวัยตายอีก 1 ตัว บริเวณเกาะมุก จ.ตรัง คาดพลาดถูกเงี่ยงปลากระเบนแทง

พะยูนท้องแก่ถูกฆ่าตาย-เลาะเอาเขี้ยว

สลดส่งท้ายปี เจ้าหน้าที่พบซากพะยูน ลอยในทะเลตรัง สภาพถูกฆ่า แทงช่วงท้องจนทะลุม้าม และตัดเขี้ยวเอาไปทั้ง 2 ข้าง แต่เมื่อผ่าท้องออกมากลับยิ่งสลดใจ เมื่อพบลูกอยู่ในท้อง

เข้มลาดตระเวนทะเลคุ้มครองสัตว์หายาก

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. – ทช. จับมือสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า พัฒนาระบบลาดตระเวนทางทะเล นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเข้ามาใช้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสัตว์ทะเลหายาก นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ทช. ลงนามร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยเพื่อพัฒนาโครงการการลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเล (SMART Marine Patrol) เพื่อนำเทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการใหม่ๆ มาพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามนโยบายของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่กำหนดให้ใช้การพัฒนางานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) ข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานถูกต้องแม่นยำและทันสมัย ที่ผ่านมา ทส. นำอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ใช้ตรวจสภาพป่าไม้ซึ่งให้สามารถทราบถึงสถานการณ์ได้ตามเวลาจริง จึงเห็นควรให้ทช. พัฒนางานด้านลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเลด้วย นายโสภณ กล่าวต่อว่า ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพคือ ระบบการลาดตระเวนพื้นที่ที่จัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการจัดเก็บ สืบค้น วิเคราะห์ และรายงานผลการลาดตระเวนงานด้านการป้องกันและปราบปราม และการลักลอบกระทำผิดต่อทรัพยากรผ่านโปรแกรม SMART ซึ่งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยมีความรู้ ประสบการณ์ในด้านการสำรวจและฝึกอบรมด้านการลาดตระเวนและบริหารจัดการสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล […]

1 2 3 5
...