พะยูนบาดเจ็บอ่าวมาหยาตายแล้ว
ทช.เตรียมผ่าชันสูตรหาสาเหตุการตายของพะยูนตัวเมีย หลังเจ้าหน้าที่พบลอยกลางทะเลบริเวณอ่าวมาหยา
ทช.เตรียมผ่าชันสูตรหาสาเหตุการตายของพะยูนตัวเมีย หลังเจ้าหน้าที่พบลอยกลางทะเลบริเวณอ่าวมาหยา
กระบี่ 27 ต.ค. 63 – เจ้าหน้าที่สุดยื้อชีวิตพะยูนสาว ทนพิษบาดแผลจากใบพัดเรือไม่ไหว ตายนะหว่างนำตัวรักษา หลังจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี พบพะยูนเพศเมีย ลอยกลางทะเลบริเวณอ่าวมาหยาหมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน เข้าพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือพะยูนตัวดังกล่าว โดยเป็นพะยูน เพศเมีย ขนาดความยาว 1.7เมตร น้ำหนัก 115 กิโลกรัม มีสภาพอ่อนแรง สาหร่ายปกคลุมบริเวณหลัง และพบแผลฉกรรจ์ มีลักษณะเป็นแผลเนื้อตาย เปื่อยยุ่ย บริเวณด้านหลังขนาดแผลยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร กว้าง 7 เซ็นติเมตร มีภาวะท้องอืดลอยตัวเอียงด้านขวา ไม่สามารถทรงตัวว่ายน้ำได้ตามปกติ จึงร่วมกันล้อมจับและรีบขนย้ายด้วยเรือเร็วของเอกชนมาส่งยังท่าเทียบเรืที่ศูนย์วิจัยฯ ภูเก็ต เพื่อรักษา ณศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร โดยระหว่างการขนย้ายเจ้าหน้าที่ได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและประคองอาการ แต่เนื่องจากสภาพพะยูนอ่อนแอมาก จึงเกิดภาวะช๊อกและเสียชีวิตลงในที่สุด ทั้งนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะผ่าชันสูตรเพื่อวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตในวันที่ 28 ตุลาคม 2563
อธิบดี ทช. เผยผลศึกษาแนวทางแก้ปัญหาหญ้าทะเลที่เกาะลิบงตายเป็นเนื้อที่ 400 ไร่ ซึ่งร่วมกับภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยห้ามหน่วยงานที่ขุดลอกร่องน้ำนำโคลน ทราย และหินมาทิ้งในทะเล แล้วเร่งปลูกฟื้นฟูหญ้าทะเลให้กลับมาสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารของพะยูนและสัตว์น้ำอื่นๆ
จิตอาสาชาวกระบี่รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม ห่วงช่วงนี้มีมรสุมพัดขยะเกลื่อนอาจกระทบสัตว์ทะเล ลุยเก็บแต่เช้าชายฝั่งบ้านหาดยาว ระยะ 10 กิโลเมตร ได้กว่า 3 ตัน มีทั้งใบไม้กิ่งไม้และพลาสติก
ผู้ว่าฯ ตรัง ตั้งทีมศึกษาวิจัยพะยูน เพื่อจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์พะยูน ผลักดันเข้าสู่เวทีประชุมวิชาการพะยูนโลก ซึ่งจะจัดที่จังหวัดตรังปีหน้า
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผยผลพิสูจน์การตายพะยูนน้อย “ยามีล” กระเพาะอาหารอักเสบรุนแรง-เรื้อรัง ตั้งแต่ก่อนการเกยตื้น นำไปสู่การติดเชื้อทั่วร่างกาย จนเกิดภาวะช็อก
สุดยื้อ!!! พะยูนยามีล ตายแล้ว ร่างกายบอบช้ำเกินทน มีภาวะช็อก หัวใจหยุดเต้น ทีมแพทย์เร่งช่วยชีวิต ด้วยการทำ CPR แต่ไม่สามารช่วยน้องกลับมาได้
กำชับอนาคตต้องไม่มีพะยูนตายเพิ่ม ขอทุกคนให้ความสำคัญลดปัญหาขยะพลาสติก
คณะทำงานด้านการจัดการสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ เตรียมเสนอแผนอนุรักษ์พะยูนไทย ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนให้ได้ร้อยละ 50 ใน 10 ปี วอนสังคมลดละเลิกใช้ขยะพลาสติก
ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชี้บทเรียนจากการตายของพะยูนน้อยมาเรียม เป็นประโยชน์อย่างต่อการวางระบบช่วยเหลือดูแลลูกสัตว์ทะเลหายาก และการทำงานด้านการอนุบาลสัตว์น้ำในอนาคตที่ยังขาดแคลนทั้งอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์
สำหรับยามีล พะยูนเพศผู้ที่พลัดหลงจากแม่และถูกนำตัวมาอนุบาล ยังศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล เจ้าหน้าที่วางแผนย้ายไปบ่ออนุบาลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และจะดูแลไปจนถึงอายุ 2 ขวบ จึงจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เสนอ 5 ประเด็นหลักแก้ปัญหาขยะทะเลไทยในเชิงรุกอย่างครบวงจร ป้องกันการสูญเสียชีวิตของสัตว์ทะเล ไม่ให้ซ้ำรอยกรณี “พะยูนน้อยมาเรียม” ติดตามจากรายงาน