ไขข้อข้องใจบัตรทองใช้ได้ทุกที่จริงหรือ

ตามที่ สปสช. ได้ปฏิรูปสิทธิบัตรบัตรทองของคนกรุงเทพฯ มีประโยคที่หลายคนตีความกัน ไปต่างๆ คือ “ใช้ได้ทุกที่” วันนี้เราจะมาชี้แจงทำความเข้าใจกับคำว่าใช้ได้ทุกที่นี้ว่าเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน

1 พ.ย.นี้ บัตรทอง กทม.รักษาที่ไหนก็ได้

สปสช.จับมือ กทม.ดีเดย์ 1 พ.ย.63 บัตรทอง กทม.รักษาที่ไหนก็ได้ สิทธิว่าง 2 ล้านคน ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ สปสช.จัดหน่วยบริการประจำใหม่ให้ใกล้คลินิกเดิมที่สุด

สปสช.ชวนคน กทม.เสนอชื่อคลินิกในดวงใจ

กรุงเทพฯ 13 ต.ค.-สปสช.ชวนประชาชนใน กทม.เสนอรายชื่อคลินิกในดวงใจที่อยากให้เข้าร่วมบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อจะได้ส่งทีมไปเจรจาให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายต่อไป ตั้งเป้าเพิ่มหน่วยบริการปฐมภูมิใน กทม.อีกอย่างต่ำ 500 แห่งภายใน 1 พ.ย. นี้ นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สปสช.อยู่ระหว่างการปรับระบบการให้บริการสาธารณสุขปฐมภูมิในพื้นที่ กทม.ใหม่ โดยนอกจากจะมีหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการประจำที่เปิดเต็มเวลาแล้ว ยังได้เพิ่มหน่วยร่วมให้บริการ อาทิ คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกพยาบาล คลินิกกายภาพบำบัด และร้านขายยา ขย.1 ที่เป็นบริการเฉพะทางหรือเปิดบริการนอกเวลาราชการ เช่น เวลาหลังเลิกงาน ให้สามารถเข้าร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพได้ โดยทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการประจำ ทั้งนี้ ขั้นตอนในขณะนี้ สปสช.อยู่ระหว่างประกาศชวนคลินิก/โรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ กทม. ให้สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายหน่วยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. 2563 เป็นต้นไป โดยตั้งเป้าว่าจะมีหน่วยบริการต่างๆ เข้าร่วมเป็นเครือข่ายอย่างต่ำ 500 แห่ง โดย สปสช.จะอำนวยความสะดวกลงทะเบียนหน่วยบริการประจำให้ประชาชนก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อ สปสช.ลงทะเบียนแล้ว หากประชาชนรู้สึกไม่สะดวกที่จะไปรับบริการในภายหลังหรือประสงค์ที่จะเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ ก็สามารถลงทะเบียนย้ายหน่วยบริการประจำได้ […]

รร.แพทย์ไม่ขัด 30บาทรักษาทุกที่

ประธาน UHOSNET ไม่ขัดนโยบายยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ผู้มีสิทธิบัตรทองไปรับบริการที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้ทำความเข้าใจกับประชาชนว่าหมายถึงหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อไม่ให้หลงไปโรงพยาบาลตติยภูมิจนเกิดความหนาแน่น พร้อมแนะผู้ป่วยโรคเรื้อรังรักษาที่หน่วยบริการใกล้บ้านกับแพทย์คนเดิมจะดีที่สุด

บอร์ด สปสช. ยกระดับ “บัตรทอง”

ศูนย์ราชการฯ6 ต.ค.-บอร์ด สปสช. ยกระดับ “บัตรทอง” พัฒนา 4 ระบบบริการดูแลผู้มีสิทธิ ตามนโยบาย “รมว.สาธารณสุข” ลดขั้นตอน แก้ไขปัญหาอุปสรรค ดูแลประชาชนเข้าถึงบริการเพิ่ม เตรียมนำร่อง “ผู้ป่วยนอกรักษาหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่” ในเขต กทม. และปริมณฑล เริ่ม 1 พ.ย. นี้ ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 11/2563 โดยที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอเพื่อ “ยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามนโยบายของ รมว.สาธารณสุข กรณีผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) สามารถไปรับบริการที่ไหนก็ได้” นายอนุทิน กล่าวว่า การประชุมบอร์ด สปสช. ในวันนี้ เป็นอีกก้าวหนึ่งของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยที่ประชุมบอร์ด สปสช. ได้เห็นชอบข้อเสนอ สปสช. ในการพัฒนาระบบบริการ […]

กทม.-สปสช. เร่งแก้ปัญหาสิทธิบัตรทองคนกรุง

กทม.3 ต.ค.- ผู้ว่าฯ กทม.ประชุม สปสช. เร่งแก้ปัญหาสิทธิบัตรทองชาว กทม. 1พ.ย. นี้ เลือกหน่วยบริการประจำใหม่ได้ ที่ศาลาว่าการ กทม. เมื่อวันที่ 2ต.ค.63 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และพญ.วันทนีย์ วัฒนะรองปลัดกรุงเทพมหานคร, นพ.ชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ประชุมร่วมกับ นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.),นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการ สปสช. และ นพ.วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 13 กทม. หารือความร่วมมือในการดูแลประชาชนในพื้นที่ กทม.ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีหน่วยบริการประจำถูกยกเลิกสัญญาการเป็นหน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) โดยมีผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ทั้งสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. เข้าร่วม พล.ต.อ.อัศวิน […]

ผลกรรมจากการทุจริตบัตรทอง กลับมาตกกับประชาชน

25 ก.ย. – ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยพาไปชมการทุจริตบัตรทอง ที่ประชาชนต้องเป็นผู้รับกรรม ตั้งแต่การเปลี่ยนสถานพยาบาล การรอคิวยาวนาน ไม่มีลูกหลานมาด้วย วันนี้ คุณสันติวิธี พรหมบุตร ไปที่สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ดูการลงทะเบียนเลือกสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ ส่วนใหญ่พบว่า เป็นวัยกลางคนขึ้นไป ผู้สูงอายุมีจำนวนมาก และมักเป็นกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ต้องไปพบแพทย์เป็นประจำ จึงต้องรีบมาลงทะเบียนเลือกสถานพยาบาล เพราะไม่มีความมั่นใจว่า หากไม่ได้เลือกสถานพยาบาล จะสามารถเข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นตามที่ เลขา สปสช. ยืนยันได้หรือไม่ ปัญหาที่ประชาชน สะท้อนผ่านคุณสันติวิธี มีหลายเรื่อง เรื่องแรกเป็นเรื่องการรอคิวที่ยาวนาน บางคนมาตั้งแต่เช้า ได้รับบัตรคิวแล้ว แต่ต้องรอจนถึงเที่ยง ก็ยังไม่ได้ดำเนินการลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ ประชาชนหลายคนสะท้อนตรงกันว่า เพราะเจ้าหน้าที่ สปสช. ที่มาดำเนินการมีน้อยเกินไป ทำให้ต้องรอกันหลายชั่วโมง และหลายคนเป็นผู้สูงอายุ ไม่มีลูกหลานมาด้วย ทำอะไรเองไม่ค่อยได้ น่าจะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำช่วยเหลือให้มากกว่านี้ เช่น การกรอกเอกสาร ประชาชนบางคนมาจากเขตอื่นที่ไม่ใช่เขตบำรุงราษฎร์ ตอนแรกไม่รู้ คิดว่าที่เขตที่ตัวเองอาศัยอยู่จะดำเนินการให้ เพราะปกติจะมีโต๊ะติดต่อราชการของ สปสช. อยู่ด้วย แต่เมื่อไปถึง ได้รับคำตอบว่า ถ้าจะลงทะเบียนเปลี่ยนสถานพยาบาล ต้องมาที่เขตบำรุงราษฎร์ ยิ่งทำให้เสียเวลา […]

ผลกระทบ 64 คลินิก ไม่ป่วยไม่ต้องรีบย้ายหน่วย

สปสช.ย้ำผู้ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกสัญญากับ 64 คลินิก-รพ.เอกชนใน กทม.ที่สุขภาพยังแข็งแรง ไม่จำเป็นต้องรีบทำเรื่องขอย้ายหน่วยบริการประจำในช่วงนี้ สปสช.จะจัดหาทดแทนให้และแจ้งให้ทราบในเร็วๆนี้

1 2 3 4 5 6 9
...