สปส.เปิดช่องทางออนไลน์ติดต่อ ลดเสี่ยงโควิด

สปส. 24 พ.ค.-สำนักงานประกันสังคม ห่วงความปลอดภัยนายจ้าง ผู้ประกันตน แนะติดต่องานประกันสังคม ห่างไกลโควิด-19 ผ่านช่องทางระบบออนไลน์ นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลให้รัฐบาลต้องออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด เช่น การปิดสถานที่บางแห่งเป็นการชั่วคราว การงดจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งให้ลดการรวมตัวกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค สำนักงานประกันสังคมได้ตอบสนองมาตรการภาครัฐ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของผู้ประกันตน ผู้ใช้บริการ และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมกับทางสำนักงานฯ ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค โดยที่ไม่ต้องเดินทางเข้ามายังสำนักงานฯ ได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้ – กรณีผู้ประกันตน ขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และชราภาพ สามารถรับแบบขอรับสิทธิประโยชน์ได้ที่ช่องทาง download แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนใน www.sso.go.th และส่งแบบพร้อมเอกสารได้ที่ไปรษณีย์ลงทะเบียน (AR ตอบรับ) โทรสาร (Fax) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) แอปพลิเคชัน (Line) รายละเอียดของแต่ละหน่วยงาน […]

เลิกจ้างเหตุโควิด ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าชดเชย

กสร.6 พ.ค.-อธิบดีกรมสวัสดิการฯ แจงกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะสาเหตุติดเชื้อโควิดมิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (อธิบดี กสร.) กล่าวชี้แจงว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด–19 ที่ขยายวงกว้างเข้าสู่สถานประกอบกิจการ เป็นความห่วงใยที่ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน กำชับให้ความคุ้มครองดูแลให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากติดเชื้อไวรัสดังกล่าว หรือมีความเสี่ยงที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับความช่วยเหลือ รักษา เยียวยา โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทำความเข้าใจกับนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการให้ทราบว่า กรณีที่สถานประกอบกิจการออกประกาศห้ามลูกจ้างเดินทางข้ามจังหวัดหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อโควิด–19 แต่ภายหลังทราบว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นายจ้างสงสัยได้ว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงมีคำสั่งไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและให้กักตัว ณ ที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เพราะคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัวเป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จะถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ “นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้ใช้สิทธิการลาป่วยหรือหยุดพักผ่อนประจำปี หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อโรคดังกล่าวหรือสงสัยว่าลูกจ้างติดเชื้อ มิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง เพราะการเจ็บป่วยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่การกระทำผิดวินัยของลูกจ้างและเป็นการติดเชื้อจากโรคระบาดที่แพร่กระจายในวงกว้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย” อธิบดี กสร.กล่าว อธิบดี กสร.กล่าวด้วยว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด–19 ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ในวงกว้าง นายจ้าง ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรจะต้องให้ความร่วมมือกันในการป้องกันการแพร่ระบาดดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว […]

แนะใช้แรงงานสัมพันธ์ร่วมฝ่าวิกฤติโควิด

ก.แรงงาน 12 ม.ค.-รมว.แรงงาน วอนนายจ้าง ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ ก่อนตัดสินใจหยุดกิจการตามมาตรา 75 หรือเลิกจ้าง ควรเปิดใจปรึกษาหารือร่วมกัน นำแนวปฏิบัติการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ และมาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างมาปรับใช้ในสถานประกอบกิจการ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวออกไปในวงกว้างส่งผลกระทบต่อนายจ้าง สถานประกอบกิจการ และลูกจ้าง อาจเกิดวิกฤติด้านแรงงานที่รุนแรงได้ จนทำให้สถานประกอบกิจการบางแห่งจำเป็นต้องลดทุนการผลิต ลดชั่วโมงการทำงานของลูกจ้าง หยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วนชั่วคราวโดยใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลดพนักงาน หรือเลิกกิจการในท้ายสุด ซึ่งจะเกิดความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสงบสุขในวงการแรงงาน จึงขอวอนให้นายจ้าง-ลูกจ้างควรเปิดใจปรึกษาหารือร่วมกันก่อนหยุดกิจการตามมาตรา 75 หรือเลิกจ้าง โดยนำมาตรการและแนวปฏิบัติที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พยายามมุ่งส่งเสริมให้เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน นั่นคือ แนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ และมาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง ด้านนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ นายจ้างควรนำแนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติมาปรับใช้ในสถานประกอบกิจการก่อน โดยมีสาระสำคัญ อาทิ นายจ้างควรเปิดเผยผลประกอบการตามสภาพความเป็นจริงแก่ฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้างลูกจ้างหารือร่วมกันในการประหยัดค่าใช้จ่าย หลีกเลี่ยงการชุมนุมเผชิญหน้าด้วยความรุนแรง หากดำเนินการแล้วสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย […]

เปิดเยียวยาผู้ประกันตนจากโควิด

กรุงเทพฯ 4 ม.ค.-พบผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากประกาศหยุดงานในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด กว่า 1 แสนคน รวม 6,098 กิจการ ด้านรัฐบาลพร้อมเยียวยา ลดขั้นตอนขอรับการชดเชยเร็วขึ้น นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยกำหนดให้ลดเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนเป็นระยะเวลา 3 เดือน รวมถึงการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีมีเหตุสุดวิสัยและการเตรียมความพร้อมระบบรับชำระเงินสมทบผ่านช่องทางออนไลน์ และหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร นายสุชาติ กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ปี2563 ส่งผลให้ลดเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน ตาม ม.33 เหลือร้อยละ 3 ส่วนผู้ประกันตน ตามมาตรา 278 เหลือ 278 บาทต่อเดือน รวมระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มกราคม-มีนาคมนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจให้ได้รับการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของทุกฝ่ายได้ถึง 15,660 ล้านบาท ตอนนี้มีมาตรการช่วยเหลือ แบ่งเป็น 1.เตรียมความพร้อมระบบรองรับการรับชำระเงินสมทบอัตราใหม่ผ่านช่องทางต่างๆ ตั้งแต่วันที่1มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งนายจ้างสามารถชำระเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย และธนาคารธนชาต หรือชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารตามที่กล่าวมา […]

ทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

กรมการจัดหางาน แนะนายจ้าง/สถานประกอบการ ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน และจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนี้ 1.คนต่างด้าวที่มีนายจ้าง/สถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี -นายจ้าง/สถานประกอบการ ดำเนินการแจ้งรายชื่อคนต่างด้าว ผ่านระบบออนไลน์ โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานและรูปถ่ายคนต่างด้าว ตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 -นายจ้าง/สถานประกอบการ พาคนต่างด้าวเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด-19 และตรวจสุขภาพโรคต้องห้าม กับโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และซื้อประกันสุขภาพเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยต้องดำเนินการภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564 -นายจ้าง/สถานประกอบการชำระค่าคำขอและค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงานผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ ธนาคารกรุงไทย จำนวน 1,900 บาท และยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจคัดกรองโควิด-19 และโรคต้องห้าม พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 -คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน จะต้องไปจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตรสีชมพู […]

แรงงานเมียนมาอ้างนายจ้างไทยต้นตอโควิด

กรุงเทพฯ 24 ธ.ค.- สื่อสหรัฐรายงานว่า แรงงานชาวเมียนมาในไทยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 อ้างว่าติดเชื้อมาจากนายจ้างในตลาดอาหารทะเลขนาดใหญ่ของจังหวัดสมุทรสาคร เว็บไซต์สถานีวิทยุเอเชียเสรีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐรายงานว่า นายอ่อง ฉ่วย แรงงานเมียนมาที่กำลังรับการรักษาโรคโควิด-19 ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เผยว่า ติดเชื้อมาจากนายจ้างหญิงที่ตรวจพบเชื้อก่อนเป็นคนแรก หลังจากนั้นมารดา พี่สาว และน้องสะใภ้ของนายจ้างก็มีผลตรวจเป็นบวกหมดทุกคน อ่อง ฉ่วยซึ่งรู้สึกปกติดีแม้ติดเชื้อเล่าว่า นายจ้างป่วยเพราะเชื้อเข้าปอด เธอรู้สึกไม่สบายมาระยะหนึ่งแล้วและสวมหน้ากากอนามัยเป็นครั้งคราว ระหว่างนั้นเขาทำงานกับเธอโดยตลอด ผ่านไปหลายวันเธอจึงไปหาหมอที่คลินิก หลังจากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่มาพาเขาและครอบครัวรวมทั้งเพื่อนร่วมงานไปตรวจหาเชื้อ เขาถูกส่งตัวมารักษาที่กรุงเทพฯเพราะผลตรวจยืนยันว่าติดเชื้อ ด้านกลุ่มพันธมิตรคณะกรรมการช่วยเหลือแรงงานเมียนมา หรือเอซีซี (ACC) ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไทยแถลงว่า ร้อยละ 90 ของผู้มีผลตรวจเป็นบวกเป็นแรงงานเมียนมา แต่รัฐบาลไทยไม่เปิดเผยรายละเอียดเรื่องการกักโรคผู้ป่วย 900 คนเศษเหล่านั้น ขณะนี้แรงงานต่างด้าวกำลังวิตกว่า จะอยู่ในกลุ่มแรงงาน 5,000 คนที่ถูกกักตัวหรือไม่ นอกจากนี้ข่าวโควิดระบาดที่จังหวัดสมุทรสาครยังทำให้ชาวเมียนมาในไทยถูกเลือกปฏิบัติด้วย บางร้านไม่ขายของให้ ทำให้พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างต้องสงสัย เอซีซีขอให้สถานทูตเมียนมาแจ้งหมายเลขโทรศัพท์แก่แรงงานเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีที่ถูกจับกุม แม้ว่าทางการไทยประกาศว่า จะไม่มีการจับกุมในช่วงการระบาดก็ตาม เอซีซีประมาณว่า มีชาวเมียนมาทำงานในไทยประมาณ 3 ล้านคน เฉพาะในจังหวัดสมุทรสาครมีแรงงานทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายราว 500,000 คน.-สำนักข่าวไทย

น้ำท่วมฉับพลันทำกัมพูชาปิดโรงงาน 40 แห่ง

พนมเปญ 19 ต.ค. – โรงงาน 79 แห่งในจังหวัดกำปงสปือ จังหวัดกันดาล และกรุงพนมเปญได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันหลังฝนตกหนัก ส่งผลให้โรงงาน 40 แห่งต้องปิดทำการชั่วคราว โฆษกกระทรวงแรงงานและอาชีวะของกัมพูชากล่าวกับหนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ว่า มีแรงงานกว่า 40,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม มีโรงงาน 40 แห่งที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนต้องปิดทำการชั่วคราว และมีโรงงานอีกกว่า 30 แห่งที่ยังคงเปิดดำเนินงานตามปกติ ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานจังหวัดกำปงสปือเผยว่า สำนักงานกำลังเฝ้าติดตามโรงงานและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย หากแรงงานประสบปัญหาในการเดินทางไปทำงานเนื่องจากภัยน้ำท่วม สำนักงานก็จะติดต่อนายจ้างเพื่อช่วยเหลือแรงงานเหล่านั้น และว่า ขณะนี้มีโรงงาน 145 แห่งในจังหวัดกำปงสปือที่ยังคงเปิดทำการตามปกติ ด้านรองเลขาธิการสมาคมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชา (GMAC) แสดงความวิตกกังวลว่า ภัยน้ำท่วมได้สร้างความเสียหายต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ของโรงงาน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต และทำให้การจัดส่งสินค้าล่าช้า อาจทำให้โรงงานเหล่านี้ถูกปรับเงิน สมาคมขอให้รัฐบาลกัมพูชา โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน ประกาศเลื่อนการทำงานทั้งหมดโดยเร็วที่สุดในกรณีที่โรงงานไม่สามารถทำงานต่อได้ ไม่ว่าจากปัจจัยภายในหรือภายนอก กระทรวงแรงงานกัมพูชาประกาศเตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ขอให้นายจ้างและแรงงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามข้อแนะนำด้านความปลอดภัย และวางแผนเส้นทางอพยพในกรณีที่เกิดน้ำท่วมรุนแรง รวมถึงการให้ความร่วมมือกับนายจ้าง และอยู่ห่างจากสายไฟฟ้า. -สำนักข่าวไทย

สเปนเห็นชอบให้นายจ้างชำระค่าใช้จ่ายทำงานจากบ้าน

รองนายกรัฐมนตรีของสเปนเผยว่า รัฐบาลสเปนเห็นชอบกับสหภาพแรงงานและผู้นำธุรกิจในการให้นายจ้างชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างทำงานจากบ้านให้แก่ลูกจ้าง

กสร.ขอความร่วมมือนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดชดเชยสงกรานต์

ก.แรงงาน 21 ส.ค.-กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกประกาศขอความร่วมมือนายจ้าง สถานประกอบกิจการกำหนดให้วันที่ 4และ 7 ก.ย.63 เป็นวันหยุดชดเชยวันหยุดสงกรานต์ที่ยังคงค้างอีก 2 วัน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 กำหนดให้วันศุกร์ ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 เป็นวันหยุดราชการเพื่อชดเชยวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2563 เป็นจำนวน 2 วันที่ยังคงค้างอยู่ ซึ่งจะทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องโดยรวมวันเสาร์อาทิตย์เป็น 4 วัน คือวันศุกร์ที่ 4 ถึงวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงขอความร่วมมือนายจ้าง สถานประกอบกิจการที่เลื่อนประกาศวันหยุดตามประเพณีวันสงกรานต์และยังไม่ได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีที่เลื่อนออกไปหรือประกาศกำหนดแล้วแต่ยังไม่ครบ ขอให้ประกาศกำหนดให้วันศุกร์ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 เป็นวันหยุดตามประเพณี ประจำปี […]

กสร.เผยผลสอบ “ขนซากเครื่องบิน” นายจ้างผิด จ้างแรงงานเด็ก

ก.แรงงาน 18 ส.ค.-กรมสวัสดิการฯ เผยผลสอบข้อเท็จจริงกรณีลูกจ้างขนซากเครื่องบินประสบอันตรายจากการทำงาน และร้องนายจ้างใช้แรงงานเด็กไม่ถูกกฎหมาย พบนายจ้างทำผิดจริงฐานจ้างแรงงานเด็ก และฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัยทำให้ลูกจ้างเสียชีวิต พร้อมร้องทุกข์กล่าวโทษเอาผิดนายจ้างแล้ว นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุล เพื่อเด็กและสตรี นำลูกจ้างซึ่งเป็นคนขับรถบรรทุกขนซากเครื่องบินของบริษัทเอกชนมาพบเพื่อร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากถูกนายจ้างให้ทำงานขนย้ายซากเครื่องบินจากจังหวัดชลบุรีไปจังหวัดนครสวรรค์ จนประสบอุบัติเหตุไฟช็อตทำให้เพื่อนร่วมงานเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 3 คน รวมทั้งให้ตรวจสอบกรณีนายจ้างมีการใช้แรงงานเด็กไม่ถูกต้องตามกฎหมายและค้างจ่ายค่าจ้างนั้น ในกรณีดังกล่าวกสร.ได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน พบว่า นายจ้างกระทำผิดจริง โดยรับลูกจ้างเข้าทำงานในขณะที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี เข้าข่ายการใช้แรงงานเด็ก และมิได้มีการแจ้งการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเข้าทำงานจำนวน 2 คน จึงมอบ หมายให้พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่9 ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษนายจ้างต่อพนักงานสอบสวน สน.ดอนเมืองเรียบร้อยแล้ว ส่วนประเด็นการค้างจ่ายค่าจ้างพบว่านายจ้างมีการค้างจ่ายค่าจ้างจริง และพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างและค่าจ้างในวันลาป่วยที่ค่าจ้างให้กับลูกจ้างแล้ว สำหรับกรณีความผิดตามกฎหมายความปลอดภัย พนักงานตรวจความปลอดภัย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ได้ดำเนินการสอบสวน […]

นายกฯอังกฤษจะบอกนายจ้างให้คนกลับไปที่ทำงาน

สื่ออังกฤษรายงานว่า นายกรัฐมนตรีจะแจ้งนายจ้างในสัปดาห์หน้าเรื่องให้พนักงานกลับไปที่ทำงานได้แล้วหากปลอดภัย เพื่อชะลอผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19

ประกันสังคมเชื่อมโยงข้อมูลชำระเงินสมทบกับกรมสรรพากร

สำนักงานประกันสังคม ลงนามบันทึกข้อตกลงกับกรมสรรพากร บูรณาการจัดการภาครัฐ หรือ Big Data เชื่อมโยงข้อมูลชำระเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน

1 2 3 4 5 6 13
...