ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ปิดรับยื่นจอง “ซิโนฟาร์ม”
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ปิดรับการยื่นความประสงค์ขอรับวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” แล้ว รวม 5 วัน มียอดจอง 17,070 องค์กร 4,873,659 คน
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ปิดรับการยื่นความประสงค์ขอรับวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” แล้ว รวม 5 วัน มียอดจอง 17,070 องค์กร 4,873,659 คน
อบจ.สมุทรสงคราม เปิดลงทะเบียนรับจองฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ที่ขอจัดซื้อจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 20,000 โดส ปรากฏว่ามีผู้สนใจมาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สรุปจำนวนองค์กรที่ยื่นความประสงค์ขอรับวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” วันแรกเมื่อวานนี้ มี 6,938 องค์กร
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยยอดจองวัคซีนตัวเลือก ‘ซิโนฟาร์ม’ วันแรก เกือบ 7,000 องค์กร
กรุงเทพฯ 9 มิ.ย.-ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศข้อกำหนดผู้ขอรับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม ราคาเข็มละ 888 บาท ไม่รวมค่าบริการทางการแพทย์ , องค์กรนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐ องค์กรการกุศล และหน่วยงานเอกชนซื้อได้ , นำไปฉีดให้บุคคลได้ทุกกลุ่มแต่ห้ามเก็บเงินหรือค่าบริการและห้ามขาย ฝ่าฝืนปรับ 15 เท่า , ต้องบริจาควัคซีน 10 %ของจำนวนที่ได้รับจัดสรรให้ชุมชนผู้ด้อยโอกาส และต้องประสานจัดหา รพ.เพื่อรองรับการฉีดวัคซีน เพจเฟซบุ๊ก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เผยแพร่ ข้อกำหนดผู้ขอรับการจัดสรร “วัคซีนตัวเลือก” ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 1.เป็นองค์กรนิติบุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ ( สำหรับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้เป็นไปตามประกาศ ศบค. เรื่องแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ข้อ 5) องค์กรการกุศลและหน่วยงานเอกชน โดยจะพิจารณาการจัดสรรในระยะที่ 1 ตามประเภทการดำเนินงานของหน่วยงาน (ความสำคัญด้านความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำ) ระดับความเสี่ยงของโอกาสในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงโควิดบนพื้นที่ของทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ 2.องค์กร / หน่วยงานสามารถจัดสรรวัคซีนให้แก่กลุ่มบุคคลที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตัวเลือกได้ทุกประเภท ทั้งพนักงาน ครอบครัวพนักงานและแรงงานต่างชาติ แต่ไม่อนุญาตให้เรียกเก็บเงินค่าวัคซีนและค่าบริการอื่นๆ กับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้และห้ามหาผลประโยชน์ทางการค้า […]
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนดราคา ‘ซิโนฟาร์ม’ เข็มละ 888 บาท ไม่รวมค่าฉีด เอกชน/องค์กร สามารถจัดสรรวัคซีนให้แก่กลุ่มบุคคลที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตัวเลือกได้ทุกประเภท แต่ไม่อนุญาตให้เรียกเก็บเงินค่าวัคซีนและค่าบริการอื่นๆ กับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน ห้ามหาผลประโยชน์ทางการค้า หากฝ่าฝืนจะถูกปรับ 15 เท่า
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกาศยังไม่รับจองซิโนฟาร์ม ด้านศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกเลื่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ 8 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป เนื่องจากได้รับการจัดสรรวัคซีนมาไม่เพียงพอ ส่วน จ.เลย ผู้ว่าฯ ออกประกาศยกเลิกนัดฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด
หมอนิธิ โพสต์เพซบุ๊ก แจงไม่มีนโยบายคุยเรื่องวัคซีนซิโนฟาร์มกับ อปท.
สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพอู่ฮั่นในเครือไชน่า เนชันแนล ฟาร์มาซูติคัล กรุ๊ป หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ซิโนฟาร์ม ระบุว่า การเริ่มดำเนินงานที่โรงงานแห่งใหม่จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้อย่างน้อยปีละ 1 พันล้านโดส
28 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ 3 หน่วยงาน ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการนำเข้าวัคซีนโควิดทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ทำไมต้อง “ซิโนฟาร์ม” มาเมื่อไหร่ นำเข้าโดยใคร? ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์” วันที่ 28 พ.ค. 64 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ร่วมแถลงข่าว การนำเข้าวัคซีนทางเลือกล็อตแรก “ซิโนฟาร์ม” โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และพล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าร่วมการแถลงข่าว Q : ทำไมวัคซีนทางเลือกต้องเป็น “ซิโนฟาร์ม” ?A : เพราะซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองแล้ว อีกทั้งเป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง […]
เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์รับประสานบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด นำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มเป็นทางเลือก หลังผ่านการขึ้นทะเบียน อย.สามารถนำเข้าได้ทันที 1 ล้านโดสในเดือน มิ.ย.นี้ เบื้องต้นราคาเข็มละไม่เกิน 1,000 บาท เป็นค่าวัคซีนรวมประกันและขนส่ง มีสภาอุตสาหกรรมและ ปตท.ติดต่อเข้ามาฉีดให้กับบุคลากรแล้ว
สำนักข่าวไทย 28 พ.ค.- อย. อนุมัติทะเบียนวัคซีน COVILO (BIBP) ของ Sinopharm ที่นำเข้าโดย บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด แล้ววันนี้ โดยวัคซีนนี้เป็นแบบชนิดเชื้อตาย กำหนดให้ใช้ 2 เข็มห่างกัน 21-28 วันโดยนับเป็นการขึ้นทะเบียนวัคซีนเป็นลำดับที่ 5 ในไทย นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า วันนี้ (28 พฤษภาคม 2564) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนของซิโนฟาร์ม นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นวัคซีนโควิด-19 รายการที่ 5 ของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการขึ้นทะเบียนแบบใช้ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งวัคซีนซิโนฟาร์มผลิตขึ้นโดยสถาบันชีววัตถุแห่งกรุงปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Product Co.LTD) เป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต “ชนิดเชื้อตาย” โดยการฉีดจะกำหนดให้ใช้ 2 เข็มในระยะห่างกัน 28 วัน โดยวัคซีนนี้ได้รับการรับรองให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก (WHO EUL) แล้ว […]