จีนเล็งสร้าง “ยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์” แบบมีคนขับคันแรก

ปักกิ่ง, 29 พ.ค. (ซินหัว) — วันจันทร์ (29 พ.ค.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน ประกาศการเปิดรับข้อเสนอเกี่ยวกับยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ ซึ่งจะขับเคลื่อนโดยนักบินอวกาศ 2 คน ที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเยือนดวงจันทร์ภายในปี 2030 การออกแบบภารกิจปัจจุบันบ่งชี้ว่ายานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมจะมีหลายหน้าที่ เช่น การขับเคลื่อนแบบมีมนุษย์ควบคุม การเคลื่อนที่บนพื้นผิวดวงจันทร์ การสนับสนุนด้านการระบุตำแหน่ง รวมถึงความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยทีมนักบินอวกาศด้านการเคลื่อนไหว การสื่อสาร การสำรวจ และอื่นๆ องค์การฯ เปิดรับข้อเสนอจากสาธารณชนและจะคัดเลือกทีมที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาต้นแบบยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ เพื่อรวบรวมทรัพยากรคุณภาพสูงจากภาคสังคม สำรวจวิธีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสม และปรับปรุงประสิทธิภาพของยานดังกล่าว อนึ่ง ข้อเสนอควรครอบคลุมการสาธิตตามข้อกำหนดของพันธกิจ การออกแบบแผนการโดยรวม เทคโนโลยีหลักที่สำคัญ การออกแบบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ กระบวนการพัฒนา การรับประกันคุณภาพและกำหนดการ รูปแบบธุรกิจ ตลอดจนการยื่นขอเงินทุน-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230529/df2086f044354b6b9c8d4137b4008356/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360873_20230529ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนส่งพลเรือนคนแรกขึ้นสู่อวกาศแล้ว

จิ่วเฉวียน 30 พ.ค.- จีนส่งนักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นสู่อวกาศเพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) ของจีนแล้วในเช้าวันนี้ หนึ่งในนั้นเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้เดินทางไปยังอวกาศ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ภายในสิ้นคริสต์ทศวรรษนี้ จวดลองมาร์ช ทูเอฟ (Long March 2F) นำยานอวกาศเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเมื่อเวลา 09:31 น.วันนี้ตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 08:31 น.วันนี้ตามเวลาไทย ผู้อำนวยการศูนย์ฯ แจ้งว่า การปล่อยจรวดประสบความสำเร็จด้วยดี นักบินอวกาศทั้งหมดปลอดภัยดี ประกอบด้วยนายจิ่ง ไห่เผิง ผู้บัญชาการภารกิจที่ปฏิบัติภารกิจเป็นครั้งที่ 4 นายจู หยางจู้ วิศวกรที่เป็นลูกเรือคนที่ 3 และนายกุ้ย ไห่เฉา อาจารย์มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้ขึ้นสู่อวกาศ ยานอวกาศเสินโจวจะเชื่อมต่อกับเทียนเหอ (Tianhe) ซึ่งเป็นโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกง เพื่อนำนักบินอวกาศทั้ง 3 คนไปปฏิบัติภารกิจเสินโจว-16 ต่อจากนักบินอวกาศ 3 คนที่จะเดินทางกลับโลกในอีกไม่กี่วัน หลังจากปฏิบัติภารกิจเสินโจว-15 อยู่นาน 6 เดือน นักบินอวกาศชุดใหม่จะทำการทดลองขนาดใหญ่ในวงโคจร […]

เซี่ยงไฮ้เผชิญอากาศร้อนที่สุดในรอบ 100 ปีของเดือน พ.ค.

นครเซี่ยงไฮ้ของจีนในวันนี้มีอุณหภุมิร้อนที่สุดของเดือนพฤษภาคมในรอบ 100 ปี ทำลายสถิติเดิมถึง 1 องศาเซลเซียส

ธปท.ชี้ส่งออกทุเรียนไทยเริ่มมีคู่แข่ง แนะเตรียมรับมือ

ธปท.ชี้สถานการณ์ทุเรียนโลกกำลังเปลี่ยน จีนเริ่มนำเข้าทุเรียนจากประเทศอื่นมากขึ้น ทุเรียนไทยมีคู่แข่งแย่งชิงตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม แนะเตรียมรับมือ ทำตลาดเมืองรองในจีน รักษาคุณภาพผลผลิต และบริหารจัดการโลจิสติกส์ 

จีนเตรียมส่งนักบินอวกาศพลเรือนคนแรก

จีนเตรียมส่งนักบินอวกาศซึ่งเป็นพลเรือนคนแรกขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง พร้อมกับนักบินอวกาศอีก 2 คน ในช่วงสายของวันพรุ่งนี้

จีนจะส่งพลเรือนขึ้นอวกาศเป็นคนแรก

ปักกิ่ง 29 พ.ค.- องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีนจะส่งนักบินอวกาศที่เป็นพลเรือนขึ้นสู่อวกาศเป็นคนแรก โดยร่วมไปกับคณะที่จะไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) โฆษกสำนักงานอวกาศจีนเผยกับสื่อในวันนี้ว่า นายกุ้ย ไห่เฉา ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง เขามีหน้าที่รับผิดชอบหลักเรื่องการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศขณะอยู่ในวงโคจร ถือเป็นพลเรือนคนแรกที่จะได้ขึ้นสู่อวกาศ เพราะที่ผ่านมานักบินอวกาศจีนล้วนเป็นทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ส่วนผู้บัญชาการภารกิจคือ นายจิ่ง ไห่เผิง และลูกเรือคนที่ 3 คือ นายจู หยางจู้ ทั้งหมดจะเดินทางขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน (Jiuquan Satellite Launch Centre) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนไปพร้อมกับยานเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ในเวลา 09:31 น.วันที่ 30 พฤษภาคมตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 08:31 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเดินหน้าผลักดันโครงการด้านอวกาศอย่างจริงจัง โดยได้ทุ่มลงทุนให้แก่โครงการอวกาศที่กองทัพเป็นผู้ดำเนินการ และคาดหวังว่าจะสามารถส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ได้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้จีนเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ต่อจากสหรัฐและรัสเซีย นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายจะสร้างฐานบนดวงจันทร์ และคาดว่าจะเริ่มส่งนักบินอวกาศไปปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับดวงจันทร์ได้ภายในปี 2572.-สำนักข่าวไทย

โอกาสหรือความท้าทาย หลังสหรัฐฯ-จีน เปิดศึกแยกห่วงโซ่อุปทาน

สนค. เผยผลระดมสมองผลการแยกห่วงโซ่อุปทานหลังเกิดความขัดแย้งสหรัฐฯ กับจีน ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พบไทยมีทั้งโอกาสและความท้าทาย แนะศึกษาต่อเชิงลึกรายรัฐ/มณฑล เพื่อขยายตลาด พัฒนาแรงงานฝีมือให้พร้อม ส่วนนโยบายลงทุน ต้องปรับให้เอื้อ เพิ่มแรงจูงใจ และเร่งใช้ประโยชน์จาก FTA

เครื่องบินโดยสารที่จีนพัฒนาเองลำแรกให้บริการปฐมฤกษ์

เครื่องบินโดยสารที่จีนพัฒนาและต่อสร้างเองในประเทศลำแรกที่เรียกว่า “ซี919” เริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์แล้วในวันนี้

ไต้หวันเผยจีนส่งเรือบรรทุกเครื่องบินเข้ามาแล่นในช่องแคบไต้หวัน

ไทเป 27 พ.ค.- กระทรวงกลาโหมไต้หวันแจ้งว่า เรือบรรทุกเครื่องบินของจีนได้แล่นเข้ามาในช่องแคบไต้หวันที่เป็นพรมแดนทางธรรมชาติกั้นระหว่างไต้หวันกับจีน โดยมีเรืออีก 2 ลำแล่นประกบมาด้วย ทำให้ไต้หวันต้องส่งเรือและเครื่องบินขึ้นไปปฏิบัติการตามความเหมาะสม กระทรวงไต้หวันแถลงเพียงสั้น ๆ ในวันนี้ว่า เรือซานตงของจีนที่เริ่มปฏิบัติการภารกิจตั้งแต่ปี 2562 ได้แล่นมุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือราวเที่ยงวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น โดยแล่นไปตามเส้นมัธยะที่เป็นเส้นแบ่งพรมแดนอย่างไม่เป็นทางการ กองทัพไต้หวันได้ติดตามกองเรือจีนอย่างใกล้ชิด และได้ส่งเรือและเครื่องบินขึ้นไปปฏิบัติการตามความเหมาะสม เรือซานตงเคยเข้าร่วมภารกิจฝึกซ้อมทางทหารรอบเกาะไต้หวันเมื่อเดือนเมษายน โดยปฏิบัติการอยู่ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก หลังจากนั้นจีนมีการเคลื่อนไหวทางทหารรอบไต้หวันอย่างต่อเนื่องแต่มีขนาดเล็กลง กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุในวันนี้ด้วยว่า เครื่องบินขับไล่ของจีน 8 ลำได้บินข้ามเส้นมัธยะในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนทำอย่างสม่ำเสมอนับตั้งแต่เสร็จสิ้นการฝึกซ้อมทางทหารรอบไต้หวันเมื่อเดือนสิงหาคม 2565.-สำนักข่าวไทย

เครื่องปลูกข้าวอัตโนมัติในจีน หว่านข้าวได้กว่า 416 ไร่ ภายในวันเดียว

ลี่หยาง, 25 พ.ค. (ซินหัว) — เครื่องจักรปลูกข้าวอัตโนมัติในเมืองลี่หยาง มณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน สามารถหว่านเมล็ดพันธุ์ได้มากพอที่จะคลุม “สนามฟุตบอล” ถึง 93 รอบ ภายในเวลาเพียงวันเดียว ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและทุ่นแรงมนุษย์อย่างมาก หวังหลินซง ผู้อำนวยการสมาคมสหกรณ์ท้องถิ่น บอกเล่าว่าเมื่อฤดูกาลเพาะกล้าข้าวชุดแรกเริ่มต้น โรงงานเพาะกล้าของเราได้ปรับปรุงสายการผลิตจากแบบกึ่งอัตโนมัติให้กลายเป็นแบบอัตโนมัติ ทำให้จากเดิมที่ต้องใช้คนงานดูแลสายการผลิตกึ่งอัตโนมัติอย่างน้อย 10 คน ลดเหลือเพียง 5 คน ก่อนหน้านี้โรงงานของหวังหว่านข้าวได้ประมาณ 125 ไร่ ต่อวันเท่านั้น แต่ตอนนี้พวกเขาหวานเมล็ดพันธุ์ได้วันละมากกว่า 416 ไร่ แล้ว การเพาะต้นกล้าถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในกระบวนการเตรียมการเพาะปลูก ก่อนที่จะย้ายข้าวลงไปปลูกในแปลงนา ซึ่งสารพัดเทคโนโลยีอัตโนมัติในปัจจุบันทำให้การทำฟาร์มทั้งชาญฉลาดและสะดวกสบายขึ้น – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230523/6a964d6353be4bd6977af087df32e54b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/360003_20230525ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ยูเนสโกรับรอง ‘ตำราแพทย์ทิเบตโบราณ’ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

ลาซา, 25 พ.ค. (ซินหัว) –วันพฤหัสบดี (25 พ.ค.) โรงพยาบาลแพทย์แผนทิเบต ณ เขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ประกาศว่าตำราแพทย์แผนทิเบตโบราณสี่เล่ม จำนวน 5 ฉบับ ถูกบรรจุในทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก (UNESCO Memory of the World Register) ณ การประชุมล่าสุดที่จัดขึ้นในกรุงปารีสของฝรั่งเศส ตำราแพทย์สี่เล่มที่รวบรวมขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 8-12 ถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมขั้นพื้นฐานสุดของการแพทย์แผนทิเบต รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และพัฒนาการแพทย์แผนทิเบต โดยตำราโบราณทั้งห้าฉบับแบ่งเป็นฉบับไม้แกะสลัก 4 ฉบับ และฉบับจารึกหมึกทอง 1 ฉบับ คำนำของเอกสารบนเว็บไซต์ยูเนสโก ระบุว่าตำราโบราณนี้ไม่เพียงอธิบายภูมิปัญญาการรักษาขั้นสูงสุดของทิเบตในยุคโบราณเท่านั้น แต่ยังสะท้อนการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วรรณคดี ศิลปะ และงานฝีมือของทิเบตในสมัยก่อนด้วย ชื่อเหริน ประธานโรงพยาบาลฯ กล่าวว่าการรับรองตำราแพทย์สี่เล่มของยูเนสโกนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการแพทย์แผนทิเบตได้ก้าวสู่เวทีนานาชาติแล้ว- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230525/07e2095e517b4d2caaeb835b4703fae1/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360122_20230526ขอบคุณภาพจาก Xinhua

1 98 99 100 101 102 523
...