บอร์ด รฟท.อนุมัติค่าโดยสารสายสีแดง 12-42 บาท 3 ปี

บอร์ด รฟท.อนุมัติในหลักการ กำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่ 12-42 บาท เป็นเวลา 3 ปี แต่ยังให้ฝ่ายบริหารส่งเรื่องถามหน่วยงานกระทรวงการคลัง เพื่อให้เป็นไปตามวินัยการเงินคลัง ตามแนวทางที่ให้ค่าโดยสารเป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่องค์กร

บีทีเอส ฟ้องแน่! 30,000 ล้านบาท

ฟ้องแน่ๆ ! ผู้บริหาร บีทีเอส.ยืนยันกำลังให้ทนายเตรียมเอกสาร ฟ้อง กทม. ให้ชดใช้ หนี้ ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายสีเขียว/และค่าติดตั้งระบบรวม 30,000 ล้านบาท คาดว่าจะเป็นการฟ้องร้องไปยังศาลปกครอง เร็วๆนี้

เสวนา เอาไง!ค่ารถไฟฟ้าแพง หนุนรัฐทำราคามาตรฐานเดียว ไม่ต่อสัปทานเอกชน

เวทีสัมมนา คลับเฮ้าส์ “เอาไงดี ! ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ทางออกที่ดีของผู้ใช้บริการ” ทั้งภาคประชาชน วิชาการ การเมือง กรมรางฯ เห็นฟ้องต้องทำราคามาตรฐาน ราคาถูก ลดความเหลี่ยมล้ำให้ประชาชนเข้าถึงรถไฟฟ้ามากขึ้น ย้ำรัฐไม่ควรต่อสัมปทานที่กำลังหมดแก่เอกชน เพื่อนำโครงข่ายมาทำราคาได้ และรอผู้ว่า กทม.หลังเลือกตั้งมาแก้ปัญหารถไฟฟ้าในเมือง

สภาองค์กรของผู้บริโภค ต้านต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้ารถไฟฟ้า

สภาองค์กรของผู้บริโภคออกแถลงการณ์ฉบับที่ 5 ย้ำรถไฟฟ้าเป็นบริการขนส่งมวลชน ครม.ต้องหยุดต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้าแก่เอกชน และราคารถไฟฟ้า 25 บาท เป็นราคาทึ่ทำได้จริง

รฟม. ย้ำค่าโดยสาร MRT ถูก!

กรุงเทพฯ 19 เม.ย.- รฟม.สวนแรง ข้อมูล “สามารถ ราชพลสิทธิ์” พร้อมแจงข้อมูลค่าโดยสารของ MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน จะต่ำกว่าประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เผยแพร่ข้อมูลชี้แจง กรณีนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ให้ข่าวระบุหัวข้อว่า “ดูกันชัดๆ อีกที ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม. หรือ รฟม. ถูกกว่า?” นั้น โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ดังนี้ 1)การเดินทางที่ไกลที่สุดจาก MRT สายสีม่วงไปยัง MRT สายสีน้ำเงินอยู่ที่ประมาณ 59 กิโลเมตร โดยมีอัตราค่าโดยสาร 70 บาท ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ประชาชนมีภาระค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 1.18 บาท/กิโลเมตร เท่านั้น […]

“สิริพงศ์” แฉ กทม.ไม่ส่งรายละเอียดค่าโดยสาร-ตารางเดินรถ

ศาลปกครองไต่สวน กทม.ขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท รอบสอง “สิริพงศ์” แฉ กทม.ไม่ส่งรายละเอียดการคำนวณค่าโดยสาร – ตารางเดินรถ อ้างเลื่อนจัดเก็บค่าโดยสารเป็นมติสภา กทม. แต่ไม่พร้อมส่งรายงานการประชุมสภา กทม.ให้ศาลพิจารณา เชื่อเจตนายื้อเวลาพิจารณาคดีของศาล

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ค้านปรับราคารถไฟฟ้าสีเขียว

กรุงเทพฯ 8 ก.พ. – มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงนายกฯ คัดค้านการขึ้นราคาค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นสูงสุด 104 บาท โดยขอให้ชะลอปรับราคาก่อน 16 ก.พ.นี้ และเปิดสัญญาสัมปทานสายสีเขียวต่อสาธารณะ รวมทั้งทบทวน สัมปทานรถไฟฟ้าทุกเส้น โดยหวังว่านายกรัฐมนตรี จะสั่งชะลอปรับราคาในประชุม ครม.พรุ่งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 กรุงเทพมหานคร และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอส ประกาศว่าจะปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) เป็นสูงสุดไม่เกิน 104 บาท (ชั่วคราว) ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป นั้น ในวันนี้ (8 ก.พ.) แกนนำมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร และเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือต่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คัดค้านการปรับราคาดังกล่าว […]

แนะทางออกสัมปทานค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่เป็นประเด็นโต้แย้งระหว่างกระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร ทั้งประเด็นค่าโดยสาร จนถึงการขยายสัญญาสัมปทาน 30 ปี วันนี้องค์กรวิชาการอย่างทีดีอาร์ไอ จะชี้ทางออกของปัญหาดังกล่าว

ผู้ว่า รฟม.โต้ “สามารถ” ยันค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีส้มแค่ 15-45 บาท

ผู้ว่าการ รฟม.โต้ “สามารถ ราชพลสิทธิ์” ยืนยันราคาค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีส้ม ในปีเปิดให้บริการ (2566 หรือ 2567) มีราคาแค่ 15 – 45 บาท เป็นราคาที่มีที่มาที่ไป

รัฐบาลกำลังเจรจาลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า

นายกฯ เผยเตรียมขยายเส้นทาง หลังเปิดรถไฟฟ้าสายสีทอง กรุงธนบุรี -คลองสาน ระบุกำลังเจรจาลดค่าโดยสาร ย้ำทุกอย่างต้องเป็นไปตามกติกา

เลขาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร้อง กมธ.ควบคุมค่าโดยสารรถสาธารณะ

เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร้อง กมธ.แก้ปัญหาความยากจนฯ วุฒิสภา ประสานรัฐบาลออกมาตรการควบคุมอัตราค่าโดยสารรถสาธารณะให้เหมาะสม

1 2 3 4 7
...