กรมชลประทาน คาดการณ์ว่าในวันที่ 9 ตุลาคมนี้จะมีปริมาณน้ำสูงสุดที่จะไหลลงสู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา

กรมชลประทาน 2 ต.ค. – กรมชลประทาน คาดการณ์ว่าในวันที่ 9 ตุลาคมนี้จะมีปริมาณน้ำสูงสุดที่จะไหลลงสู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ 2,240 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีและพร้อมเดินหน้าส่งน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานแล้ว นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่าในช่วงนี้ บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ จะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ณ 1 ต.ค. 2560 มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 56,131 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2559 รวม 9,411 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำใช้การได้ 32,312 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 63 สามารถรองรับน้ำได้อีก 19,087  […]

กรมชลฯ จับมือ กปน.บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กรมชลประทานจับมือ กปน.บริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

อ่างทองเตรียมพร้อมรับมือกรมชลฯ ผันน้ำเข้าทุ่ง 25 ก.ย.นี้

เจ้าหน้าที่ อบจ.อ่างทอง ระดมรถแบ็กโฮลอกคลองชลประทาน ริมถนนสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง เตรียมพร้อมรับมือการระบายน้ำ หลังกรมชลประทานประกาศผันน้ำเข้าทุ่งรับน้ำ 25 ก.ย.นี้

เร่งพร่องน้ำเจ้าพระยารับน้ำทะเลหนุน

กรมชลประทานเร่งพร่องน้ำในคลองต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รับมือน้ำทะเลหนุน ช่วงวันที่ 4 – 8 กันยายน ขณะที่หลายพื้นที่ในภาคกลาง มีน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน

เขื่อนเจ้าพระยาคงอัตราการระบายน้ำ 1,498 ลบ.ม./วินาที

เช้าวันนี้ที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท คงการระบายน้ำในอัตรา 1,498 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม้ปริมาณน้ำเหนือจากจังหวัดนครสวรรค์ได้ไหลมาเพิ่มขึ้น

ชาวนาเร่งเกี่ยวข้าวก่อนใช้พื้นที่เป็นแก้มลิง

เสียงสะท้อนจากชาวนาในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ที่พร้อมยอมรับการใช้พื้นที่เป็นทุ่งรับน้ำ แต่ก็จะขอเกี่ยวข้าวให้เสร็จก่อนที่กรมชลประทานจะปล่อยน้ำเข้าพื้นที่ ไม่เช่นนั้นต้นข้าวจะเน่าขายไม่ได้

แผนจัดการน้ำป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ 20 ส.ค.-ปีนี้มีฝนตกหนักต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้คนกรุงกังวลว่าจะเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 54 หรือไม่ และกรมชลประทานมีการบริหารจัดการน้ำอย่างไร เพื่อรองรับปริมาณฝนและน้ำเหนือที่จะไหลลงมา ติดตามจากรายงาน.-สำนักข่าวไทย

อุบลฯ เตรียมเดินเครื่องเต็มพิกัดระบายน้ำมูลสู่น้ำโขง

อุบลราชธานี 13 ส.ค.- จนท.ชลประทานติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มจาก 22 ชุด เป็น 36 ชุด เร่งอัตราการระบายแม่น้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขง ลดระดับน้ำท่วมในเขตชุมชนเมืองอุบลราชธานีและวารินชำราบยังเผชิญน้ำล้นตลิ่งสูงกว่า 1 เมตร วันนี้ (13 ส.ค.) เจ้าหน้าที่จากกรมชลประทานนำเครื่องผลักดันน้ำอีก 16 ชุด ซึ่งถอนการติดตั้งมาจากลุ่มน้ำก่ำ จ.นครพนม ที่ขณะนี้ระดับน้ำท่วมลดลงเกือบเป็นปกติแล้ว มาติดตั้งฝั่งขวาของสะพานข้ามแม่น้ำมูลในอำเภอพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพราะเป็นจุดที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนกว่าฝั่งซ้าย เพื่อเร่งผลักดันน้ำจากแม่น้ำมูลให้ไหลข้ามแก่งสะพือ ซึ่งเป็นเหมือนเขื่อนธรรมชาติตั้งขวางลำน้ำ ห่างจากสะพานแห่งนี้ ไปประมาณ 800 เมตร และด้านหลังของแก่งสะพือ มีระดับน้ำต่ำกว่าแม่น้ำมูลหลายเมตร เพื่อให้การระบายน้ำที่ไหลท่วมบริเวณอำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ ลดระดับลงเร็วกว่าปกติ ทั้งนี้ ระหว่างการติดตั้งเครื่องผลักดัน เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุบลราชธานี ต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้ามาติดตั้งเพิ่มเติมจาก 1,000 วัตต์ เป็น 1,200 วัตต์ ไม่ให้บ้านเรือนบริเวณดังกล่าวประสบปัญหากระแสไฟฟ้าตก นอกจากนี้ ตำรวจและอาสาสมัครต้องคอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้รถที่แล่นข้ามสะพานระหว่างอำเภอโขงเจียมและอำเภอพิบูลมังสาหาร สามารถแล่นข้ามแม่น้ำมูลเป็นช่วง ๆ เพื่อไม่ให้กระทบกับทั้งสองอำเภอที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติในช่วงวันหยุดยาว และคาดว่าจะสามารถติดตั้งเครื่องได้ทั้งหมดภายในเย็นวันนี้ สำหรับเครื่องดันน้ำที่เจ้าหน้าที่กรมชลประทานนำมาติดตั้งที่สะพานข้ามแม่น้ำมูลในจุดนี้ ปัจจุบันมีรวมกันถึง 38 […]

1 41 42 43 44 45 49
...