ชาวนา 2 อำเภออยุธยาโวยชลประทานทำน้ำท่วมนาข้าวเกือบพันไร่

อยุธยา 15 ก.ค.-ชาวนาใน 2 อำเภอของอยุธยาโวยกรมชลประทานเร่งปล่อยน้ำลงท้ายเขื่อนเจ้าพระยามากเกิน ทำให้แม่น้ำน้อยเอ่อล้นท่วมแปลงข้าวนาปรังที่กำลังออกรวงใกล้เก็บเกี่ยว เสียหายนับพันไร่ ชาวนา 2 อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ ซึ่งมีแปลงนาข้าวติดแม่น้ำน้อย ตำหนิการทำงานของกรมชลประทาน หลังจากเร่งปล่อยระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในปริมาณสูง ทำให้น้ำท่วมนาข้าวเสียหายเกือบ 1,000 ไร่เสียหาย เพิ่มภาระหนี้สินอีกเป็นจำนวนมาก นายสุชาติ การสมลึก นายก อบต.บ้านโพธิ์ อ.เสนา เปิดเผยว่า แปลงข้าวนาปรังของชาวนาหมู่ 3 และ หมู่ 8 ต.บ้านโพธิ์ ต้องจมน้ำเสียหายในระยะ 1-2 วันที่ผ่านมา เนื่องจากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยข้าวนาปรังที่เสียหายส่วนใหญ่ออกรวงใกล้เก็บเกี่ยวแล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เร่งสำรวจแปลงนาข้าวที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป ด้านนายสมศักดิ์ มณีรัตน์ กำนันตำบลท่าดินแดง อ.ผักไห่ เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงไม่กี่วันได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนริมน้ำ และพื้นที่เกษตร รวมถึงแปลงข้าวนาปรังริมแม่น้ำในพื้นที่ไปแล้วหลายร้อยไร่ จึงอยากเสนอให้กรมชลประทานแก้ปัญหา โดยแบ่งมวลน้ำเหนือไหลหลาก ออกไปทางแม่น้ำสุพรรณบุรี และเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก รวมถึงคลองต่างๆ เหนือเขื่อนเจ้าพระยาบ้าง […]

กรมชลฯ คลอดโครงการฝากน้ำแก้ภัยแล้ง

เชียงใหม่ 1 ก.ค. – กรมชลประทานนำร่องโครงการฝากน้ำ Two in one  มั่นใจช่วยสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนช่วงฤดูแล้งและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำนักงานชลประทานที่ 1  โครงการชลประทานจังหวัดเชียงใหม่และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตงร่วมกับมณฑลทหารบกที่ 33 กองพันสัตว์ต่าง กองพลทหารราบที่ 7 กองรบพิเศษที่ 5 และสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์กรมหาชน) จัดทำ “โครงการฝากน้ำ ป้องกันภัยแล้ง” ขึ้นมาเป็นโครงการนำร่อง เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในยามวิกฤติช่วงที่แหล่งน้ำสำคัญ ๆ ขาดแคลนน้ำ โดยเป็นการนำน้ำจากลำน้ำแม่แตงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปี ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีการส่งน้ำเข้าแปลงเพาะปลูกไปเก็บไว้ในแหล่งกักเก็บน้ำที่จัดเตรียมไว้ เพื่อเป็นหลักประกันเรื่องความมั่นคงทางน้ำให้แก่คนเชียงใหม่ว่าจะมีน้ำเพียงพอกับความต้องการอย่างแน่นอน สำหรับหลักการบริหารจัดการน้ำของโครงการฯ นั้น จะเริ่มจากการสูบน้ำจากคลองน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาที่รับน้ำมาจากฝายแม่แตงเข้าไปเก็บกักในแหล่งน้ำ 5 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยหยวก สามารถเก็บกักได้ 300,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) สระเก็บน้ำในศูนย์ประชุมนานาชาติ 6 แห่ง เก็บกักได้ 532,000  ลบ.ม. สระเก็บน้ำในกองพันสัตว์ต่าง 1 แห่ง […]

เกษตรสร้างชาติ : กรมชลประทานวางแผนบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน

กรมชลประทานวางแผนบริหารจัดการน้ำตลอดฤดูฝน โดยใช้ข้อมูลการพยากรณ์อากาศของกรมอุตนิยมวิทยา ร่วมกับปริมาณน้ำในเขื่อน

1 43 44 45 46 47 49
...