ททท.พังงาชวนนั่งรถสองแถวท้องถิ่นเที่ยวจุดต้องห้ามพลาด

ททท.พังงา เปิดกิจกรรมท่องเที่ยวแนวใหม่ “นั่งรถสองแถวไม้ท้องถิ่น” ไปยังจุดต้องห้ามพลาด และสตรีทอาร์ต “น้องมาร์ดี” กระตุ้นการท่องเที่ยวของจังหวัด หวังดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว

พังงายังเฝ้าระวังหางพายุ “ปาบึก”

แม้พายุปาบึกจะเคลื่อนตัวผ่านไปแล้ว แต่จังหวัดในพื้นที่ฝั่งอันดามัน ก็ยังต้องเฝ้าระวังอิทธิพลจากพายุอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง

ชาวบางสัก ตะกั่วป่า จัดพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์

ชาวบ้านบ้านบางสัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา จัดพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ บริเวณชายทะเลหาดบางสัก ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและความอัปมงคล พร้อมสืบสานประเพณีดั้งเดิมที่มีมานานนับ 100 ปี

พังงามีแหล่งแร่ลิเธียม

กรุงเทพฯ 1 ม.ค.- ผู้ประกอบการเหมืองยื่นขอสำรวจแหล่งแร่ลิเธียมที่จังหวัดพังงาเผยอยู่ใกล้กับแหล่งขุดแร่ดีบุกเดิม    นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนไทยร่วมมือกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหมืองแร่จากประเทศออสเตรเลีย แสดงความสนใจยื่นขอสำรวจแหล่งแร่ลิเธียม ซึ่งเป็นแร่ที่นำไปผลิตเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมถึงโทรศัพท์มือถือ  บริษัทที่ยื่นขอสำรวจระบุว่า จังหวัดพังงาน่าจะมีแหล่งแร่ลิเธียมใกล้ๆ กลับเหมืองแร่ดีบุกเก่า ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างจัดทำเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องตาม พรบ.เมืองแร่ใหม่และจะยื่นเอกสารต่างให้ กพร.ภายในต้นปีหน้า จากนั้น กพร.จะนำเรื่องยื่นขอสำรวจแหล่งแร่ลิเธียมให้คณะกรรมการแร่ต่อไป คาดว่า จะพิจารณาได้ในช่วงต้นปี 2562 และได้รับการอนุมัติภายในไม่เกินไตรมาสแรกปี 2562 นายวิษณุกล่าวว่า ขณะนี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มีความพร้อมในการพิจารณาตามกระบวนการอนุญาตการทำเหมือง และการอนุญาตอื่น ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี 2562 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการแร่เดือนละ 2 ครั้ง เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคำขออนุญาตประทานบัตรและคำขอต่ออายุประทานบัตร เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบการ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องโดยเร็ว  ขณะนี้มีผู้ประกอบการเหมืองแร่ยื่นเรื่องขอทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง รวม 30 ราย จำนวนรวม 40 แปลงแปลงๆ ละ 300 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเหมืองหินก่อสร้าง  ซึ่งกพร.ได้ขอให้ผู้ที่ยื่นคำขอจัดทำเอกสารเพิ่มเติม […]

ถอดบทเรียน 14 ปี สึนามิบ้านน้ำเค็ม

หลังวานนี้ สำนักข่าวไทย นำเสนอถึงปัญหาของวิทยุสื่อสารในพื้นที่บ้านน้ำเค็ม วันนี้เราจะพาไปดูการถอดบทเรียนจากเหตุสึนามิเมื่อปี 47 ของชุมชนแห่งนี้กันบ้าง รวมถึงปัญหาเรื่องอาคารหลบภัยที่ยังรอคอยการแก้ไข

14 ปี สึนามิ ปัญหาเครื่องมือสื่อสารที่รอการแก้ไข

เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มชายฝั่งอันดามันเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.47 จ.พังงา เป็นพื้นที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของไทย ผ่านมา 14 ปี กระทั่งถึงวันนี้ ชาวบ้านที่นี่ยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องเครื่องมือสื่อสารและการแจ้งเตือนภัยยังทำได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

ย้อนรอยคดีรุมโทรมเด็ก 14 ปี บ้านเกาะแรด

ย้อนรอยเหตุการณ์คดีเกาะแรด จุดเริ่มต้นมาจากแม่ของเหยื่อแจ้งความตำรวจว่าลูกสาวถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้ชายในหมู่บ้านเกาะแรด ขณะนั้นเด็กอายุเพียง 14 ปี

BIG STORY : พิพากษาคดีชายรุมโทรมเด็กหญิงวัย 14 ปี บ้านเกาะแรด

ถือเป็นคดีสะเทือนสังคมเมื่อปีที่แล้ว กรณีมารดาเด็กหญิงวัย 14 ปี แจ้งความว่าลูกสาวถูกชายในหมู่บ้านเกาะแรด จ.พังงา รุมข่มขืน กระทั่งวันนี้ศาลจังหวัดพังงาอ่านคำพิพากษาตัดสินคดีนี้แล้ว

เกาะติดคำตัดสินคดีชาย 11 คน ถูกกล่าวหารุมโทรมเด็ก 14 ปี

ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีชายในหมู่บ้านเกาะแรด 11 คน ถูกกล่าวหารุมล่วงละเมิดทางเพศเด็กหญิงวัย 14 ปี หลังจากมารดาของเด็กหญิงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ตั้งแต่เดือน ก.ย.60

1 18 19 20 21 22 26
...