fbpx

แนะโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลันควรมาพบแพทย์ทันที

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก แนะนำผู้ป่วยหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart attack) หากได้รับการรักษาล่าช้า อาจทำให้เสียชีวิตได้

โรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน รักษาล่าช้า อาจเสียชีวิตได้

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก แนะผู้ป่วยหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart attack) หากได้รับการรักษาล่าช้า อาจทำให้เสียชีวิตได้

เฝ้าระวังโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน

กรุงเทพฯ 30พ.ย.-ผอ.สถาบันโรคทรวงอกชี้โรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน แม้ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ทุกคนสามารถเฝ้าระวัง โดยเฉพาะเมื่อเวลาออกกำลังกายหายใจไม่อิ่มแน่นหน้าอก นพ.เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ว่า โรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน หรือ heart attack เป็นคำเรียก แสดงอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด พบได้ทุกช่วงวัยโดยมากในผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขณะในเวลาพักนอนหลับหรือออกกำลังกาย แต่การพบเห็นภาวะนี้ในขณะออกกำลังกายเป็นส่วนมาก เนื่องจากเมื่อออกกำลังกายจะเกิดความเครียดจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการปริแตกของผนังด้านในของหลอดเลือดหรือพลาค(plaque)หรือตะกรันในหลอดเลือดมีการปริแตก แล้วทำให้มีเม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือดมาจับกันเป็นก้อน แล้วมาอุดตันเส้นเลือดหรือจุดที่อุดตันนั้น อาจมีรอยโรคเดิมอยู่ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะไม่เคยสังเกตหรือรู้ว่าตนเองมีรอยโรคอยู่เพราะไม่มีอาการใดๆ เนื่องจากเกิดด้านในของผนังหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่หลอดเลือดเส้นนั้นไปเลี้ยง เกิดอาการ ขาดเลือดเฉียบพลัน สำหรับอาการเตือนเบื้องต้นอาจอึดอัดแน่นหน้าอก ปวดร้าวไปถึงบริเวณกรามและไหล่ในบางคนอาจมีอาการวิงเวียนและคลื่นไส้ เป็นลมเหงื่อแตก ซึ่งบางคนหากวิ่งอยู่แล้วเกิดอาการเช่นนี้อาจคิดว่าเป็นอาการเหนื่อย แต่เป็นอาการเตือนของหัวใจกำเริบเฉียบพลันก็ไม่ควรฝืน คำถามที่ว่าเมื่อวอร์มร่างกายก่อนวิ่งแล้ว แต่ยังสามารถเกิดอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันได้ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผอ.สถาบันโรคทรวงอก กล่าวว่ายังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัดเพราะไม่ว่าจะออกกำลังกายหนักหรือ เบาก็อาจเกิดอาการนี้ได้ทั้งนั้น นอกจากนี้ยังกล่าวต่อว่าบางคนอาจเพิ่งอิ่มจากมื้ออาหารหรือนอนพักก็เกิดอาการจุกเสียดแน่น บางคนวิงเวียนศีรษะขอไปนอนพักและเกิดอาการวูบไป กลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือดก็มี อย่างไรก็ตามหากมีอาการหายใจไม่อิ่มและหายใจแล้วเจ็บหน้าอก ควรตั้งข้อสังเกตว่าเข้าข่ายโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน รีบไปพบแพทย์ทันที โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดยังมีแบบเรื้อรัง กล้ามเนื้อหัวใจมีการอุดตันอยู่บางจุดแล้ว ส่วนใหญ่คนไข้จะไปพบแพทย์ มีการสวนหัวใจและกินยาอยู่แล้ว คนที่มีอาการเหล่านี้จะไม่ออกแรงมาก แตกต่างจากคนที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเข้าสู่ภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลันที่จะไม่รู้ตัวมาก่อน เกิดแบบกระทันหันไม่รู้ตัวคาดเดาไม่ได้ ส่วนวิธีหลีกเลี่ยงป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลันไม่มีวิธีที่แน่ชัด แม้ข้อมูลจะบอกว่า […]

...