ชงเลื่อนเลือกตั้งท้องถิ่น ขอทำประชามติก่อน

รัฐสภา 7 ต.ค.-กมธ.แก้ รธน.จ่อชงเลื่อนเลือกตั้งท้องถิ่น ขอทำประชามติก่อน อีกแนวทางขอความร่วมมือประชาชนทำประชามติ พร้อมสนามเลือกตั้งท้องถิ่น นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ โฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มก่อนรับหลักการ รัฐสภา เปิดเผยว่า การประชุมวันนี้ (7 ต.ค.) วิปรัฐบาลเข้ามาชี้แจงนำเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาล โดยกรรมาธิการฯ ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของร่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลว่าแตกต่างกันอย่างไร แต่กรรมาธิการฯ เสียดายที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ส่งตัวแทนเข้ามานำเสนอเพื่อให้กรรมาธิการฯ ได้ทำความเข้าใจร่วมกัน นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ส่วนการทำประชามติ ยังไม่มีข้อยุติ เนื่องจากมีความเห็นเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเป็น 2 แนวทาง คือ 1.การแก้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่ทำได้ด้วยการแก้ไขมาตรา 256 และ 2.หากมีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะถือว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ คือ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ไป ซึ่งไม่น่าจะทำได้ผ่านกลไกการแก้ไขมาตรา 256 ดังนั้นเมื่อทำไม่ได้ ก็จะต้องไปสอบถามประชาชนผ่านการทำประชามติก่อนว่าจะให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการทั้งหมด โดยขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติ และหากฝ่ายค้านได้เข้ามาชี้แจงเจตนาของฝ่ายค้านในการตั้ง ส.ส.ร.จะเป็นไปในแนวทางไหน เป็นการแก้ไขฉบับเดิม หรือเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแล้วร่างใหม่ทั้งฉบับ ทางกรรมาธิการฯ จะได้ประเมินและตัดสินใจได้ถูก ส่วนที่มีข้อห่วงใยว่าหากมีการทำประชามติ […]

ชี้การเสนอแก้ ม.256-ตั้ง ส.ส.ร. เท่ากับการฉีก รธน.

กรุงเทพฯ 2 ต.ค.-“อุดม” ชี้การเสนอแก้ ม.256 และให้มี ส.ส.ร.มายกร่าง รธน.เท่ากับการฉีกรัฐธรรมนูญ จึงต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนเสนอแก้ นายอุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และอนุกรรมการพิจารณาเสนอความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับก่อนลงมติ กล่าวถึงข้อกังวลของ ส.ว.ว่าการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่างใหม่ จะต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ ว่า ประเด็นอยู่ที่ว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการเสนอเพื่อแก้หรือเพื่อล้มรัฐธรรมนูญเก่า เพราะการตั้ง ส.ส.ร.เท่ากับเป็นการล้มรัฐธรรมนูญเดิม ไม่ได้เป็นเพียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงกลายเป็นประเด็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญมีที่มาจากการลงประชามติ ควรต้องกลับไปถามประชามติจากประชาชนก่อนหรือไม่ เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เฉพาะการแก้ไขในหมวด 15 ที่สามารถพิจารณาผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ แล้วค่อยไปทำประชามติ ดังนั้นส่วนตัวเห็นว่าควรต้องนำไปลงประชามติสอบถามประชาชนก่อนที่จะนำมาพิจารณาในสภาฯ และเรื่องนี้ควรจะต้องมีการถกเถียงกันในคณะอนุกรรมการฯ พอสมควร “ผมยังคิดว่ามีประเด็นที่ทำให้คิดว่ากรณีนี้ ถ้าตามหลักการมีทั้ง 2 มุม ที่มองว่าการเสนอดังกล่าวไม่ใช่เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ ถ้ามองในมุมนั้นจะต้องไปลงประชามติก่อน เพราะมันไม่ใช่เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ามีคนบอกว่าเราเคยทำแล้วตอนรัฐธรรมนูญปี 34 ตอนนั้นที่ทำได้เพราะรัฐธรรมนูญปี 34 ไม่มีการลงประชามติ ตรงนั้นไม่ได้พูดถึงว่ามันมาจากมติของประชาชน มันมีการยกร่างกันขึ้นมาธรรมดา” […]

“วิรัช” นั่งประธาน กมธ.แก้ รธน.

รัฐสภา 30 ก.ย.-ที่ประชุม มีมติให้ “วิรัช รัตนเศรษฐ” นั่งประธาน กมธ.พิจารณาร่างแก้ไข รธน. และเห็นควรให้ผู้เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด มาชี้แจงข้อมูลเพื่อให้กรรมาธิการฯ ได้พิจารณา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ ได้ประชุมนัดแรกวันนี้ (30 ก.ย.) เพื่อเลือกตำแหน่งต่าง ๆ และวางกรอบการทำงาน โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล เป็นประธานกรรมาธิการฯ และมีรองประธานกรรมาธิการฯ 6 คน ได้แก่ นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ , นายไพบูลย์ นิติตะวัน , นายศุภชัย ใจสมุทร , นายชินวรณ์ บุญเกียรติ , นายวิเชียร ชวลิต และนายนิกร จำนง รวมถึงมีที่ปรึกษากรรมาธิการฯ 4 คน ได้แก่ นายกล้านรงค์ จันทิก , นายอิสระ สมชัย , นายสมชาย […]

“จุรินทร์” ปัดถกนายกฯ เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ

สนามบินหาดใหญ่ 30 ก.ย.-“จุรินทร์” ปัดถกนายกฯ เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ รับแก้ รธน.สัญญาณดี ยันแก้ปากท้องกับแก้ รธน.ทำพร้อมกันได้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เชิญหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลหารือก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ (29 ก.ย.) ว่า ไม่มีการคุยเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ และในความเห็นของตน รัฐบาลแห่งชาติในโลกจะเกิดได้ ต้องอยู่ในภาวะสงครามหรือในภาวะวิกฤติที่ระบบปกติไม่มีทางไป แต่สำหรับสถานการณ์ประเทศขณะนี้ ระบบรัฐสภายังเดินหน้าไปได้ตามปกติ จึงไม่เห็นความจำเป็นและไม่ทราบที่มาที่ไปของข่าว นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการหารือกับนายกรัฐมนตรีและพรรคร่วมรัฐบาล ถือว่าเป็นสัญญานที่ดีเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะมีความเห็นไปทางเดียวกันแล้ว ซึ่งสิ่งที่ตนเห็นว่าต้องเร่งดำเนินการต่อไป คือ เร่งหารือและหาจุดร่วมกับวุฒิสมาชิก เพราะถ้า 3 ฝ่าย คือ พรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน วุฒิสมาชิก เห็นร่วมกันได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เดินหน้าได้ ซึ่งตนกำชับให้กรรมาธิการของพรรคประชาธิปัตย์ได้ผลักดันอย่างเต็มที่ เพราะเป็นทั้งจุดยืนและนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และให้สนับสนุนร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่แก้มาตรา 256 ให้ตั้ง ส.ส.ร. โดยไม่แตะหมวด 1 […]

เชื่อพรรคร่วมเคลียร์ปัญหาแก้ รธน.ได้

โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ฯ 30 ก.ย.-“นิพนธ์” เชื่อพรรคร่วมเคลียร์ปัญหาแก้ รธน.ได้ชี้ใครลงชื่อหนุนญัตติ ควรโหวตตามนั้น นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า โดยหลักการ แม้คณะรัฐมนตรีจะไม่มีมติส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นความเห็นพ้องในนามพรรคร่วม เชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลยังสามารถพูดคุยกันได้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีบรรยากาศที่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล นายนิพนธ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้เห็นว่าเรื่องรัฐธรรมนูญ เป็นปัญหาที่พูดคุยได้ โดยหลักเบื้องต้น ส.ส. เมื่อเซ็นชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ควรลงมติตามที่ได้เสนอญัตติไป ขณะเดียวกัน จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนให้แก้ไข มาตรา 256 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และเชื่อว่าพรรคร่วมสามารถทำความเข้าใจ นำไปสู่การรับหลักการวาระแรกได้สำเร็จ.-สำนักข่าวไทย

ยันร่างแก้ รธน.ทุกฉบับยังไม่ตก

รัฐสภา 29 ก.ย.-ที่ปรึกษาประธานสภาฯ ยันร่างแก้ รธน.ทุกฉบับยังไม่ตก เผยฉบับไอลอว์ตรวจสอบเสร็จแล้วกว่า 50,000 รายชื่อ นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับใดตกแม้แต่ฉบับเดียว โดยเฉพาะญัตติร่างแก้รัฐธรรมนูญทั้ง 6 ฉบับของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาฯ ก่อนลงมติรับหลักการวาระที่หนึ่ง ตามข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภา ข้อที่ 121 วรรคสาม ซึ่งเป็นมติของที่ประชุมรัฐสภา ไม่ใช่ความคิดนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทั้งนี้หลังจากกรรมาธิการฯ พิจารณาเสร็จแล้ว จะนำกลับเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาในสมัยประชุมหน้า เพื่อลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ นพ.สุกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของกลุ่มโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ที่มีประชาชนร่วมเข้าชื่อกันจำนวนแสนคนนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน ซึ่งรัฐสภาจะเร่งรัดทำงานให้เสร็จโดยเร็วที่สุด และล่าสุดได้รับการแจ้งว่าตรวจสอบรายชื่อเสร็จไปแล้วกว่า 50,000 รายชื่อ จากนั้นต้องส่งให้กรมการปกครองตรวจสอบว่าผู้ลงชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ อีกทั้งต้องทำหนังสือไปยังเจ้าตัวว่าได้ลงชื่อจริงหรือไม่ ถ้าทำไม่ครบถ้วนทุกขั้นตอน อาจถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นจึงต้องทำให้ถูกต้องที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังบอกไม่ได้ว่าร่างฉบับของไอลอว์จะนำกลับเข้าสู่รัฐสภาได้เมื่อใด.-สำนักข่าวไทย

ชี้การชุมนุมใหญ่ 14 ตุลาฯ มีแนวโน้มยืดเยื้อ

กรุงเทพฯ 26 ก.ย.-นักวิชาการมองการชุมนุมใหญ่ 14 ตุลาคมนี้ มีแนวโน้มยืดเยื้อ รุนแรง ขยายฐานมวลชน หลัง ส.ส.รัฐบาล-ส.ว.เห็นชอบตั้ง กมธ.ศึกษาญัตติแก้ รธน. ชี้ไม่ต่างกับการคว่ำ 6 ญัตติแก้ไข รธน. นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงการนัดชุมนุมใหญ่ 14 ตุลาคมนี้ ว่า การนัดชุมนุมใหญ่ครั้งนี้มีส่วนสัมพันธ์กับการเมืองในสภาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อที่ประชุมร่วมรัฐสภามีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ญัตติก่อนรับหลักการในสมัยประชุมหน้า ซึ่งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าการเมืองในสภาฯ เป็นตัวตัดสินชี้วัดที่สำคัญกับการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในการชุมนุมเดือนตุลาคมนี้ นายยุทธพร กล่าวว่า อีกทั้งการประชุมร่วมรัฐสภา แสดงถึงบรรยากาศความขัดแย้งที่บดบังสาระหลักของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องทัศนคติทางการเมืองของช่วงชั้นวัย และเป็นการต่อสู้ทางความคิด เป็นภาพเห็นว่าความขัดแย้งนอกสภาฯ ถูกถ่ายทอดเข้าไปในสภาฯ รวมถึงความขัดแย้งภายในสภาฯ ก็ถูกถ่ายทอดกลับไปนอกสภาฯ “ยิ่งทางออกของการลงมติออกมาในรูปแบบการตั้งคณะกรรมาธิการฯ ดูจะไม่ต่างจากการคว่ำทั้ง 6 ญัตติ ซึ่งจะทำให้การขยายตัวฐานมวลชนเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวางขึ้น เนื่องจากกลุ่มการชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงกลุ่มแนวร่วมอื่น ต่างเห็นตรงกันว่ารัฐธรรมนูญเป็นหัวใจหลักที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ จึงเห็นว่าการตั้ง […]

ยื้อเวลาแก้ รธน. เพิ่มอุณหภูมิการเมือง ต.ค.?

การที่รัฐสภาไม่ได้เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาร่างแก้ไขทั้ง 6 ฉบับ ถูกมองว่าเป็นการยื้อเวลา ไปเช็กเสียงของสมาชิกกว่า 700 คนที่ลงมติเมื่อวานนี้ พร้อมความเห็นนักวิชาการที่เตือนว่าอุณหภูมิการเมืองจากนี้จะร้อนแรงขึ้น

เปิดชื่อ ส.ส.-ส.ว.ยื้อไม่ยื้อแก้ รธน.

เปิดชื่อ ส.ส.-ส.ว. ยื้อไม่ยื้อแก้ รธน. ลงมติตั้ง กมธ.ศึกษา รธน. ก่อนโหวตรับหลักการ ปชป.48 เสียง ไม่เห็นด้วยตั้ง กมธ. แต่ร่วมเป็น กมธ.ด้วย

ยืนยันเลื่อนโหวตแก้ รธน. ไม่ได้ยื้อเวลา

กระทรวงกลาโหม 25 ก.ย.-นายกฯ ยืนยันเลื่อนโหวตแก้ รธน. ไม่ได้ยื้อเวลา ปัดสั่ง ส.ว. ชี้เป็นกลไกรัฐสภา วอนการชุมนุมนึกถึงประเทศ กระทบเศรษฐกิจ สังคม ฝากคนไทยร่วมมือป้องกันคนบางกลุ่มฉวยโอกาสทำลายประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการที่ที่ประชุมรัฐสภาเลื่อนการลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 6 ฉบับออกอีก 1 เดือน พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาศึกษา ว่า ไม่มีความคิดเห็น เพราะเป็นขั้นตอนการทำงานของสภาฯ จากการติดตามการประชุมการอภิปรายในวันแรกก็เรียบร้อยดี แต่การอภิปรายในวันที่สอง เห็นว่ามีความขัดแย้งเพิ่มขึ้นในประเด็นที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว โดยเฉพาะมีการก้าวล่วง เป็นสิ่งที่หลายคนรับไม่ได้ จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าทุกคนเป็นผู้ทรงเกียรติ จึงต้องเคารพซึ่งกันและกัน เพราะเป็นวิถีทางของรัฐสภา หากใส่ร้าย บิดเบือนก็รับได้ยาก ดังนั้นจึงต้องมองว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย และยังยืนยันว่าการเลื่อนลงมติ ไม่ใช่เป็นการยื้อเวลา เพราะตนก็เข้าใจอยู่ว่าจะมีการลงมติ แต่เมื่อสถานการณ์เป็นไปอย่างที่ทุกคนเห็น การที่จะชะลอเลื่อนออกไป ก็เป็นไปตามกฎหมายกติกาของสภาฯ หากจะเกิดอะไรขึ้น ก็เป็นเรื่องของวันข้างหน้า และยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับตน ไม่ทำให้สถานการณ์ของตนดีขึ้นหรือเลวลง แต่เป็นเรื่องของการเป็นประชาธิปไตยที่ต้องรับฟังความคิดเห็น เดินหน้าไปด้วยกันได้ ด้วยความปรองดอง “ไม่มีการล็อบบี้ […]

1 9 10 11 12 13 15
...