
“ไบเดน” อวยพร “อีลอน มัสก์” ให้โชคดี
“ไบเดน” ผู้นำสหรัฐ อวยพร “อีลอน มัสก์” ขอให้โชคดี กับแผนจะไปเยือนดวงจันทร์ พร้อมโต้กลับที่ “มัสก์” บอกเศรษฐกิจสหรัฐแย่มากๆ จนต้องลดพนักงงาน ชี้ทำไมฟอร์ดถึงรับพนักงานใหม่
“ไบเดน” ผู้นำสหรัฐ อวยพร “อีลอน มัสก์” ขอให้โชคดี กับแผนจะไปเยือนดวงจันทร์ พร้อมโต้กลับที่ “มัสก์” บอกเศรษฐกิจสหรัฐแย่มากๆ จนต้องลดพนักงงาน ชี้ทำไมฟอร์ดถึงรับพนักงานใหม่
อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและผู้บริหารเทสลา บริษัทรถยนต์ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ แจ้งบรรดาผู้บริหารระดับสูงของบริษัทว่า เขามีความรู้สึกในทางลบมาก ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจและบริษัทเทสลา จำเป็นต้องปรับลดพนักงานลงร้อยละ 10
นิวยอร์ก 3 พ.ค. – อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของเทสลา บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดัง เผยว่า เขาต้องการขยายการเข้าถึงทวิตเตอร์ให้มากขึ้น จากผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มในปัจจุบันให้ครอบคลุมชาวอเมริกันส่วนใหญ่ของประเทศ มัสก์ ซึ่งประกาศซื้อกิจการของทวิตเตอร์มูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) เมื่อกลางเดือนเมษายน กล่าวกับผู้สื่อข่าวบนพรมแดงของงานเมต กาลา (Met Gala) งานเลี้ยงประจำปีเพื่อหารายได้เข้าสถาบันเครื่องแต่งกายแห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในนครนิวยอร์กของสหรัฐว่า ตอนนี้ทวิตเตอร์มีแต่ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เขาต้องการให้ชาวอเมริกันเข้ามาสนทนาในสื่อโซเชียลมีเดียนี้กันให้มากขึ้น มาตรวัดความสำเร็จที่สำคัญของทวิตเตอร์คือ จะสามารถขยายฐานผู้ใช้งานได้อย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เขาอยากให้ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือและเข้าถึงคนหมู่มากให้ได้มากที่สุด มัสก์ยังระบุว่า เขาจะทำให้ทวิตเตอร์มีความโปร่งใสเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพื่อโฆษณาทวีตและต้องการเปิดเผยการทำงานของซอฟต์แวร์ดังกล่าวให้สาธารณชนวิพากษ์วิจารณ์ได้ นอกจากนี้ มัสก์ยังตอบคำถามเกี่ยวกับข่าวพนักงานทวิตเตอร์อาจจะตบเท้าลาออกหลังจากที่เขาเข้าซื้อกิจการว่า สหรัฐเป็นประเทศแห่งเสรีภาพ ถ้าพนักงานคนใดรู้สึกอึดอัดต่อนโยบายของเขา ก็มีสิทธิที่จะย้ายไปทำงานที่อื่น ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ทวิตเตอร์มีผู้ใช้งานชาวอเมริกันราววันละ 40 ล้านคน. -สำนักข่าวไทย
แคลิฟอร์เนีย 28 เม.ย. – อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ได้ทวีตถ้อยคำวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายนโยบายและทีมกฎหมายของทวิตเตอร์ จนทำให้หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการไม่ใช้ถ้อยคำดูหมิ่นผู้อื่นและอนาคตของทวิตเตอร์หลังจากที่มัสก์บรรลุข้อตกลงซื้อกิจการของทวิตเตอร์เมื่อวันจันทร์ มัสก์ระบุผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า เขาไม่เห็นด้วยกับทวิตเตอร์ที่ตัดสินใจระงับการเข้าถึงบทความของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์เกี่ยวกับข่าวของฮันเตอร์ ไบเดน บุตรชายของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเมื่อปี 2563 และเรียกการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ มัสก์ยังเข้าไปแสดงความคิดเห็นในโพสต์ของซาการ์ เอนเจติ นักจัดรายการพอดแคสต์ชื่อดัง ที่กล่าวพาดพิงถึงวิจายา แกด ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยและหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของทวิตเตอร์ว่าเป็นผู้สนับสนุนนโยบายเซ็นเซอร์ตัวยงของทวิตเตอร์ ในขณะเดียวกัน ดิค คอสโตโล อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของทวิตเตอร์ กล่าวว่า มัสก์กำลังทำในสิ่งที่เป็นการกลั่นแกล้งไม่ใช่การแสดงความเป็นผู้นำ เขาไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับมัสก์ที่ตั้งเป้าใช้ถ้อยคำล่วงละเมิดและโจมตีบริษัทที่ตัวเองเข้าซื้อกิจการ จากนั้น มัสก์ได้เข้าไปตอบในโพสต์ของคอสโตโลว่า เขาแค่ต้องการให้ทวิตเตอร์เป็นกลางทางการเมือง ส่วนเคที ฮาร์บาธ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะของเมตา แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ระบุว่า การที่มัสก์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการดูแลเนื้อหาของทวิตเตอร์ทำให้เกิดข้อวิตกกังวลว่า เขาอาจใช้อำนาจลบล้างนโยบายและการดำเนินงานแบบเดิมที่ทวิตเตอร์ตั้งไว้ รวมถึงข้อสงสัยที่ว่า มัสก์อาจรับพนักงานใหม่ที่มีทัศนคติแบบเดียวกันกับเขาเข้ามาทำงานแทนพนักงานที่ไม่เห็นด้วยกับเขา นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังวิตกกังวลว่า นโยบายของทวิตเตอร์ในการจัดการกับโพสต์ที่มีข้อความล่วงละเมิด ความเกลียดชังผู้หญิง และการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ อาจถอยหลังเข้าคลองภายใต้การบริหารของมัสก์.-สำนักข่าวไทย
แคลิฟอร์เนีย 26 เม.ย. – ปารัก อักราวัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของทวิตเตอร์ กล่าวกับพนักงานของทวิตเตอร์ในระหว่างการประชุมพนักงานทุกระดับเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า อนาคตของทวิตเตอร์ตกอยู่ในความไม่แน่นอน หลังอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ประกาศซื้อกิจการของทวิตเตอร์ได้สำเร็จ สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า อักราวัลได้ตอบคำถามหลายข้อจากพนักงานเกี่ยวกับนโยบายของมัสก์ในระหว่างการประชุมดังกล่าว เช่น คำถามเรื่องการเลิกจ้างพนักงานและเหตุผลของคณะกรรมการบริหารทวิตเตอร์ที่รับข้อเสนอซื้อกิจการของมัสก์ แต่ก็ได้เลี่ยงตอบคำถามบางส่วนที่เขาคิดว่าควรให้มัสก์เป็นผู้ตอบเอง พนักงานของทวิตเตอร์ได้ถามอักราวัลว่า มัสก์เชื่อว่าทวิตเตอร์ควรเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้งานมีเสรีภาพในการพูด เขาจึงสงสัยว่าอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะกลับมาใช้งานทวิตเตอร์ได้อีกหรือไม่หลังจากที่มัสก์ได้ซื้อกิจการของทวิตเตอร์แล้วอักราวัลตอบคำถามดังกล่าวว่า เมื่อมัสก์ได้ซื้อกิจการของทวิตเตอร์แล้ว ไม่มีใครรู้ว่านโยบายของทวิตเตอร์ในอนาคตจะเป็นเช่นไร แต่เขาเชื่อว่าทุกคนจะมีโอกาสได้พูดคุยกับมัสก์ และควรตั้งคำถามนี้ให้มัสก์เป็นผู้ตอบ อย่างไรก็ดี อักราวัลบอกกับพนักงานของทวิตเตอร์ว่า บริษัทยังไม่มีแผนเลิกจ้างพนักงาน ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ระบุว่า มัสก์จะเข้าร่วมการประชุมพนักงานทุกระดับของบริษัทในช่วงถามตอบกับพนักงานทุกคนในภายหลัง. -สำนักข่าวไทย
อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัท เทสลา และ สเปซเอ็กซ์ ประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการของ ทวิตเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ด้วยวงเงิน 44,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ทำให้เขากลายเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้หลายล้านคน
อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทวิตเตอร์ ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการทวิตเตอร์ด้วยเงินสดจำนวน 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.38 ล้านล้านบาท) ไม่กี่วันหลังปฏิเสธไม่เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของทวิตเตอร์
วอชิงตัน 11 เม.ย. – ปารัก อักราวัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของทวิตเตอร์ เผยว่า อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทวิตเตอร์ ได้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของทวิตเตอร์แล้ว สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า มัสก์ ซึ่งเข้าซื้อหุ้นของทวิตเตอร์คิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 9.2 เมื่อไม่กี่วันก่อน ได้รับการเสนอให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของทวิตเตอร์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา แต่อักราวัลได้ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า มัสก์ได้ปฏิเสธเข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร เขาเชื่อว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นหนทางที่ดีที่สุด อย่างไรก็ดี ทวิตเตอร์จะยังคงให้ความสำคัญกับการแสดงความเห็นของกลุ่มผู้ถือหุ้นของทวิตเตอร์ต่อไป ไม่ว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นจะมีตำแหน่งอยู่ในบอร์ดบริหารหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ มัสก์ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของทวิตเตอร์ และทวิตเตอร์ก็จะยังคงให้ความสำคัญต่อข้อคิดเห็นของมัสก์ ก่อนหน้านี้ มัสก์ได้แนะนำเมื่อวันเสาร์ให้ทวิตเตอร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการทวิตเตอร์ บลู (Twitter Blue) ซึ่งเป็นบริการจ่ายเงินรายเดือนเพื่อให้ได้ฟีเจอร์พิเศษในทวิตเตอร์ เช่น การลดราคา การห้ามโฆษณา และการเพิ่มตัวเลือกชำระค่าบริการด้วยเงินดิจิทัลสกุลโดจคอยน์ (Dogecoin) มัสก์ยังได้ตั้งโพลล์ถามความเห็นผู้ติดตามบัญชีทวิตเตอร์ของเขากว่า 81 ล้านคนในวันเดียวกันว่า ทุกคนเห็นด้วยหรือไม่ถ้าเขาจะเปลี่ยนสำนักงานใหญ่ของทวิตเตอร์ให้เป็นที่พักอาศัยของคนไร้บ้าน โดยมีผู้เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวกว่าร้อยละ 90 จากผู้ลงความเห็นกว่า 1 ล้านคน รวมถึงการตั้งโพลล์เมื่อวันอาทิตย์ว่า ควรตัดตัวอักษร ‘w’ ออกจากชื่อ ‘twitter’ […]
ฟอร์บส์ จัดอันดับเศรษฐีโลกปี 65 เทสลา พา “อีลอน มัสก์” คว้ามหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก “ธนินท์ เจียรวนนท์” ติดอันดับ 137 ถือเป็นหนึ่งในคนไทยบนทำเนียบเศรษฐีโลก
วอชิงตัน 5 เม.ย. – อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของเทสลา บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดัง ได้เข้าซื้อหุ้นของทวิตเตอร์กว่า 73 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.2 และทำให้เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของทวิตเตอร์ เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐระบุว่า มัสก์ถือหุ้นของทวิตเตอร์จำนวน 73,486,938 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.2 นับถึงวันที่ 14 มีนาคม ทำให้มัสก์กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของทวิตเตอร์ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าแจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์ ที่ถือหุ้นร้อยละ 2.25 ประกาศดังกล่าวทำให้หุ้นของทวิตเตอร์พุ่งขึ้นกว่าร้อยละ 27 ในตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ทั้งนี้ หุ้นของทวิตเตอร์ที่มัสก์ถืออยู่มีมูลค่าสูงถึง 2,890 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 97,000 ล้านบาท) บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า มัสก์เป็นผู้ใช้งานทวิตเตอร์อยู่เป็นประจำและมียอดผู้ติดตามในทวิตเตอร์กว่า 80 ล้านคน แต่เขาเพิ่งระบุเมื่อไม่นานมานี้ว่ากำลังคิดที่จะสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแบบใหม่อย่างจริงจัง นอกจากนี้ มัสก์ยังเคยถามผู้ติดตามบัญชีทวิตเตอร์เมื่อปลายเดือนก่อนว่า ทุกคนคิดว่าทวิตเตอร์สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ และจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มแบบใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ มัสก์มักใช้งานทวิตเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ […]
เคียฟ 1 มี.ค. – นายมิคาอิโล เฟโดรอฟ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของยูเครน ระบุว่า ยูเครนได้รับตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์ (Starlink) จากอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ บริษัทเทคโนโลยีด้านอวกาศของสหรัฐแล้ว นายเฟโดรอฟระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า เขาได้รับตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์ และกล่าวขอบคุณมัสก์ที่ส่งอุปกรณ์ดังกล่าวให้ยูเครน หลังจากที่นายเฟโดรอฟได้ขอให้มัสก์ช่วยเหลือยูเครนเมื่อไม่กี่วันก่อน นอกจากนี้ นายเฟโดรอฟยังได้โพสต์ภาพถ่ายท้ายรถทหารที่บรรทุกตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต ขณะที่มัสก์ได้ตอบกลับข้อความของนายเฟโดรอฟว่า เขารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเหลือยูเครน ทั้งนี้ ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์มีลักษณะคล้ายจานรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมในบ้านและช่วยให้สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงมากเมื่อเทียบกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป เนื่องจากตัวรับสัญญาณดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับฝูงดาวเทียมสตาร์ลิงก์ที่อยู่ในวงโคจรต่ำของโลก อย่างไรก็ดี นายจอห์น สกอตต์-เรลตัน นักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยโทรอนโตของแคนาดา ได้ออกมาเตือนผ่านทวิตเตอร์ว่า ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์อาจตกเป็นเป้าโจมตีจากรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียมีประสบการณ์มายาวนานหลายสิบปีเรื่องการโจมตีผู้คนด้วยการมุ่งเป้าไปที่การสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม. -สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 15 ก.พ.- ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ชี้แจงว่า จรวดที่คาดจะชนพื้นผิวดวงจันทร์ในต้นเดือนมีนาคมเป็นจรวดของจีน ไม่ใช่ของสเปซเอ็กซ์ตามที่เคยเข้าใจผิดก่อนหน้านี้ นายบิล เกรย์ นักดาราศาสตร์ ผู้เปิดเผยเป็นคนแรกว่า จรวดของสเปซเอ็กซ์ บริษัทของนายอีลอน มัสก์ จะชนพื้นผิวดวงจันทร์ในวันที่ 4 มีนาคม ได้ยอมรับเมื่อสุดสัปดาห์ก่อนว่าตีความผิดพลาด เพราะแท้จริงแล้วจรวดที่จะชนคือ 2014-065B ที่ใช้ขับเคลื่อนฉางเอ๋อ 5-T1 ซึ่งเป็นยานอวกาศหุ่นยนต์ทดลองที่สำนักงานอวกาศจีนปล่อยไปยังดวงจันทร์เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ในโครงการสำรวจดวงจันทร์ ด้านนายโจนาธาน แมคโดเวลล์ นักดาราศาสตร์ที่สนับสนุนให้เพิ่มการกำกับดูแลขยะอวกาศทวีตว่า เรื่องนี้ย้ำให้เห็นถึงปัญหาของการที่ไม่มีการติดตามวัตถุในอวกาศอย่างเหมาะสม ขณะที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซาแถลงเมื่อปลายเดือนมกราคมว่า จะใช้ยานสำรวจดวงจันทร์หรือแอลอาร์โอ (LRO) ของนาซาที่กำลังโคจรรอบดวงจันทร์ สังเกตการณ์หลุมบนพื้นผิวดวงจันทร์ที่จะเกิดจากการถูกจรวดชน เพราะถือเป็นโอกาสด้านการวิจัยที่น่าตื่นเต้น.-สำนักข่าวไทย