เทสลาปลดผู้จัดการประจำสิงคโปร์ตามแผนลดพนักงาน

สิงคโปร์ 13 มิ.ย. – เทสลา บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังของสหรัฐ ได้ปลดผู้จัดการประจำประเทศสิงคโปร์ออกจากตำแหน่งตามแผนลดพนักงานทั่วโลกของอีลอน มัสก์ ผู้บริหารเทสลาและมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่เตือนเรื่องกำลังจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หนังสือพิมพ์เดอะสเตรทไทมส์ของสิงคโปร์รายงานว่า คริสโตเฟอร์ บูซิเกส ผู้จัดการประจำประเทศสิงคโปร์ของเทสลา ได้โพสต์ผ่านเว็บไซต์ลิงก์อิน (LinkedIn) แพลตฟอร์มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่คนทำงานเมื่อวันเสาร์ว่า เทสลาได้ประกาศลดพนักงานร้อยละ 10 ทั่วโลก ตำแหน่งของเขาก็เป็นหนึ่งในนั้น และเขาจะยุติการทำงานในตำแหน่งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ทั้งยังระบุว่า เขารู้สึกภูมิใจที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนแรกของเทสลา และวางรากฐานการดำเนินธุรกิจในสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้ อีลอน มัสก์ ได้ออกมาเตือนเมื่อช่วงต้นเดือนว่า เขาอาจลดจำนวนพนักงานเทสลาทั่วโลกลงร้อยละ 10 และระบุในอีเมลที่ส่งถึงพนักงานว่า เขารู้สึกแย่มากเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ และจำเป็นต้องลดพนักงานจำนวนหนึ่ง เพราะบริษัทมีพนักงานมากเกินไปในหลายฝ่าย ทั้งนี้ ข้อมูลของสำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่า เทสลามีพนักงานราว 100,000 คนทั่วโลกนับถึงสิ้นปี 2564. -สำนักข่าวไทย

“ไบเดน” อวยพร “อีลอน มัสก์” ให้โชคดี

“ไบเดน” ผู้นำสหรัฐ อวยพร “อีลอน มัสก์” ขอให้โชคดี กับแผนจะไปเยือนดวงจันทร์ พร้อมโต้กลับที่ “มัสก์” บอกเศรษฐกิจสหรัฐแย่มากๆ จนต้องลดพนักงงาน ชี้ทำไมฟอร์ดถึงรับพนักงานใหม่

“มัสก์” ระบุเทสลาต้องลดพนักงาน 10%

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและผู้บริหารเทสลา บริษัทรถยนต์ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ แจ้งบรรดาผู้บริหารระดับสูงของบริษัทว่า เขามีความรู้สึกในทางลบมาก ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจและบริษัทเทสลา จำเป็นต้องปรับลดพนักงานลงร้อยละ 10

“อีลอน มัสก์” อยากให้ชาวอเมริกันใช้ทวิตเตอร์มากขึ้น

นิวยอร์ก 3 พ.ค. – อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของเทสลา บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดัง เผยว่า เขาต้องการขยายการเข้าถึงทวิตเตอร์ให้มากขึ้น จากผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มในปัจจุบันให้ครอบคลุมชาวอเมริกันส่วนใหญ่ของประเทศ มัสก์ ซึ่งประกาศซื้อกิจการของทวิตเตอร์มูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) เมื่อกลางเดือนเมษายน กล่าวกับผู้สื่อข่าวบนพรมแดงของงานเมต กาลา (Met Gala) งานเลี้ยงประจำปีเพื่อหารายได้เข้าสถาบันเครื่องแต่งกายแห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในนครนิวยอร์กของสหรัฐว่า ตอนนี้ทวิตเตอร์มีแต่ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เขาต้องการให้ชาวอเมริกันเข้ามาสนทนาในสื่อโซเชียลมีเดียนี้กันให้มากขึ้น มาตรวัดความสำเร็จที่สำคัญของทวิตเตอร์คือ จะสามารถขยายฐานผู้ใช้งานได้อย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เขาอยากให้ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือและเข้าถึงคนหมู่มากให้ได้มากที่สุด มัสก์ยังระบุว่า เขาจะทำให้ทวิตเตอร์มีความโปร่งใสเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพื่อโฆษณาทวีตและต้องการเปิดเผยการทำงานของซอฟต์แวร์ดังกล่าวให้สาธารณชนวิพากษ์วิจารณ์ได้ นอกจากนี้ มัสก์ยังตอบคำถามเกี่ยวกับข่าวพนักงานทวิตเตอร์อาจจะตบเท้าลาออกหลังจากที่เขาเข้าซื้อกิจการว่า สหรัฐเป็นประเทศแห่งเสรีภาพ ถ้าพนักงานคนใดรู้สึกอึดอัดต่อนโยบายของเขา ก็มีสิทธิที่จะย้ายไปทำงานที่อื่น ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ทวิตเตอร์มีผู้ใช้งานชาวอเมริกันราววันละ 40 ล้านคน. -สำนักข่าวไทย

“อีลอน มัสก์” ถูกตำหนิหลังวิจารณ์พนักงานทวิตเตอร์

แคลิฟอร์เนีย 28 เม.ย. – อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ได้ทวีตถ้อยคำวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายนโยบายและทีมกฎหมายของทวิตเตอร์ จนทำให้หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการไม่ใช้ถ้อยคำดูหมิ่นผู้อื่นและอนาคตของทวิตเตอร์หลังจากที่มัสก์บรรลุข้อตกลงซื้อกิจการของทวิตเตอร์เมื่อวันจันทร์ มัสก์ระบุผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า เขาไม่เห็นด้วยกับทวิตเตอร์ที่ตัดสินใจระงับการเข้าถึงบทความของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์เกี่ยวกับข่าวของฮันเตอร์ ไบเดน บุตรชายของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเมื่อปี 2563 และเรียกการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ มัสก์ยังเข้าไปแสดงความคิดเห็นในโพสต์ของซาการ์ เอนเจติ นักจัดรายการพอดแคสต์ชื่อดัง ที่กล่าวพาดพิงถึงวิจายา แกด ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยและหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของทวิตเตอร์ว่าเป็นผู้สนับสนุนนโยบายเซ็นเซอร์ตัวยงของทวิตเตอร์ ในขณะเดียวกัน ดิค คอสโตโล อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของทวิตเตอร์ กล่าวว่า มัสก์กำลังทำในสิ่งที่เป็นการกลั่นแกล้งไม่ใช่การแสดงความเป็นผู้นำ เขาไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับมัสก์ที่ตั้งเป้าใช้ถ้อยคำล่วงละเมิดและโจมตีบริษัทที่ตัวเองเข้าซื้อกิจการ จากนั้น มัสก์ได้เข้าไปตอบในโพสต์ของคอสโตโลว่า เขาแค่ต้องการให้ทวิตเตอร์เป็นกลางทางการเมือง ส่วนเคที ฮาร์บาธ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะของเมตา แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ระบุว่า การที่มัสก์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการดูแลเนื้อหาของทวิตเตอร์ทำให้เกิดข้อวิตกกังวลว่า เขาอาจใช้อำนาจลบล้างนโยบายและการดำเนินงานแบบเดิมที่ทวิตเตอร์ตั้งไว้ รวมถึงข้อสงสัยที่ว่า มัสก์อาจรับพนักงานใหม่ที่มีทัศนคติแบบเดียวกันกับเขาเข้ามาทำงานแทนพนักงานที่ไม่เห็นด้วยกับเขา นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังวิตกกังวลว่า นโยบายของทวิตเตอร์ในการจัดการกับโพสต์ที่มีข้อความล่วงละเมิด ความเกลียดชังผู้หญิง และการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ อาจถอยหลังเข้าคลองภายใต้การบริหารของมัสก์.-สำนักข่าวไทย

CEO ทวิตเตอร์รับอนาคตไม่แน่นอนหลัง “มัสก์” ซื้อกิจการ

แคลิฟอร์เนีย 26 เม.ย. – ปารัก อักราวัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของทวิตเตอร์ กล่าวกับพนักงานของทวิตเตอร์ในระหว่างการประชุมพนักงานทุกระดับเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า อนาคตของทวิตเตอร์ตกอยู่ในความไม่แน่นอน หลังอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ประกาศซื้อกิจการของทวิตเตอร์ได้สำเร็จ สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า อักราวัลได้ตอบคำถามหลายข้อจากพนักงานเกี่ยวกับนโยบายของมัสก์ในระหว่างการประชุมดังกล่าว เช่น คำถามเรื่องการเลิกจ้างพนักงานและเหตุผลของคณะกรรมการบริหารทวิตเตอร์ที่รับข้อเสนอซื้อกิจการของมัสก์ แต่ก็ได้เลี่ยงตอบคำถามบางส่วนที่เขาคิดว่าควรให้มัสก์เป็นผู้ตอบเอง พนักงานของทวิตเตอร์ได้ถามอักราวัลว่า มัสก์เชื่อว่าทวิตเตอร์ควรเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้งานมีเสรีภาพในการพูด เขาจึงสงสัยว่าอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะกลับมาใช้งานทวิตเตอร์ได้อีกหรือไม่หลังจากที่มัสก์ได้ซื้อกิจการของทวิตเตอร์แล้วอักราวัลตอบคำถามดังกล่าวว่า เมื่อมัสก์ได้ซื้อกิจการของทวิตเตอร์แล้ว ไม่มีใครรู้ว่านโยบายของทวิตเตอร์ในอนาคตจะเป็นเช่นไร แต่เขาเชื่อว่าทุกคนจะมีโอกาสได้พูดคุยกับมัสก์ และควรตั้งคำถามนี้ให้มัสก์เป็นผู้ตอบ อย่างไรก็ดี อักราวัลบอกกับพนักงานของทวิตเตอร์ว่า บริษัทยังไม่มีแผนเลิกจ้างพนักงาน ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ระบุว่า มัสก์จะเข้าร่วมการประชุมพนักงานทุกระดับของบริษัทในช่วงถามตอบกับพนักงานทุกคนในภายหลัง. -สำนักข่าวไทย

บอร์ดบริหารทวิตเตอร์ รับข้อเสนอซื้อกิจการของ “อีลอน มัสก์” แล้ว

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัท เทสลา และ สเปซเอ็กซ์ ประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการของ ทวิตเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ด้วยวงเงิน 44,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ทำให้เขากลายเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้หลายล้านคน

“อีลอน มัสก์” ขอซื้อทวิตเตอร์ 41,000 ล้านดอลลาร์

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทวิตเตอร์ ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการทวิตเตอร์ด้วยเงินสดจำนวน 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.38 ล้านล้านบาท) ไม่กี่วันหลังปฏิเสธไม่เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของทวิตเตอร์

“อีลอน มัสก์” ตัดใจไม่นั่งคณะกรรมการบริหารทวิตเตอร์

วอชิงตัน 11 เม.ย. – ปารัก อักราวัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของทวิตเตอร์ เผยว่า อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของทวิตเตอร์ ได้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของทวิตเตอร์แล้ว สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า มัสก์ ซึ่งเข้าซื้อหุ้นของทวิตเตอร์คิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 9.2 เมื่อไม่กี่วันก่อน ได้รับการเสนอให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของทวิตเตอร์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา แต่อักราวัลได้ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า มัสก์ได้ปฏิเสธเข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร เขาเชื่อว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นหนทางที่ดีที่สุด อย่างไรก็ดี ทวิตเตอร์จะยังคงให้ความสำคัญกับการแสดงความเห็นของกลุ่มผู้ถือหุ้นของทวิตเตอร์ต่อไป ไม่ว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นจะมีตำแหน่งอยู่ในบอร์ดบริหารหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ มัสก์ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของทวิตเตอร์ และทวิตเตอร์ก็จะยังคงให้ความสำคัญต่อข้อคิดเห็นของมัสก์ ก่อนหน้านี้ มัสก์ได้แนะนำเมื่อวันเสาร์ให้ทวิตเตอร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการทวิตเตอร์ บลู (Twitter Blue) ซึ่งเป็นบริการจ่ายเงินรายเดือนเพื่อให้ได้ฟีเจอร์พิเศษในทวิตเตอร์ เช่น การลดราคา การห้ามโฆษณา และการเพิ่มตัวเลือกชำระค่าบริการด้วยเงินดิจิทัลสกุลโดจคอยน์ (Dogecoin) มัสก์ยังได้ตั้งโพลล์ถามความเห็นผู้ติดตามบัญชีทวิตเตอร์ของเขากว่า 81 ล้านคนในวันเดียวกันว่า ทุกคนเห็นด้วยหรือไม่ถ้าเขาจะเปลี่ยนสำนักงานใหญ่ของทวิตเตอร์ให้เป็นที่พักอาศัยของคนไร้บ้าน โดยมีผู้เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวกว่าร้อยละ 90 จากผู้ลงความเห็นกว่า 1 ล้านคน รวมถึงการตั้งโพลล์เมื่อวันอาทิตย์ว่า ควรตัดตัวอักษร ‘w’ ออกจากชื่อ ‘twitter’ […]

“อีลอน มัสก์” คว้ามหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของโลก “เจ้าสัวธนินท์” ติดอันดับ 137

ฟอร์บส์ จัดอันดับเศรษฐีโลกปี 65 เทสลา พา “อีลอน มัสก์” คว้ามหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก “ธนินท์ เจียรวนนท์” ติดอันดับ 137 ถือเป็นหนึ่งในคนไทยบนทำเนียบเศรษฐีโลก

“อีลอน มัสก์” ซื้อหุ้นทวิตเตอร์ 9.2% ขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่

วอชิงตัน 5 เม.ย. – อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของเทสลา บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดัง ได้เข้าซื้อหุ้นของทวิตเตอร์กว่า 73 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.2 และทำให้เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของทวิตเตอร์ เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐระบุว่า มัสก์ถือหุ้นของทวิตเตอร์จำนวน 73,486,938 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.2 นับถึงวันที่ 14 มีนาคม ทำให้มัสก์กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของทวิตเตอร์ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าแจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์ ที่ถือหุ้นร้อยละ 2.25 ประกาศดังกล่าวทำให้หุ้นของทวิตเตอร์พุ่งขึ้นกว่าร้อยละ 27 ในตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ทั้งนี้ หุ้นของทวิตเตอร์ที่มัสก์ถืออยู่มีมูลค่าสูงถึง 2,890 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 97,000 ล้านบาท) บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า มัสก์เป็นผู้ใช้งานทวิตเตอร์อยู่เป็นประจำและมียอดผู้ติดตามในทวิตเตอร์กว่า 80 ล้านคน แต่เขาเพิ่งระบุเมื่อไม่นานมานี้ว่ากำลังคิดที่จะสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแบบใหม่อย่างจริงจัง นอกจากนี้ มัสก์ยังเคยถามผู้ติดตามบัญชีทวิตเตอร์เมื่อปลายเดือนก่อนว่า ทุกคนคิดว่าทวิตเตอร์สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ และจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มแบบใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ มัสก์มักใช้งานทวิตเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ […]

ยูเครนได้ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต “Starlink” จากอีลอน มัสก์

เคียฟ 1 มี.ค. – นายมิคาอิโล เฟโดรอฟ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของยูเครน ระบุว่า ยูเครนได้รับตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์ (Starlink) จากอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันและผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ บริษัทเทคโนโลยีด้านอวกาศของสหรัฐแล้ว นายเฟโดรอฟระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า เขาได้รับตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์ และกล่าวขอบคุณมัสก์ที่ส่งอุปกรณ์ดังกล่าวให้ยูเครน หลังจากที่นายเฟโดรอฟได้ขอให้มัสก์ช่วยเหลือยูเครนเมื่อไม่กี่วันก่อน นอกจากนี้ นายเฟโดรอฟยังได้โพสต์ภาพถ่ายท้ายรถทหารที่บรรทุกตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต ขณะที่มัสก์ได้ตอบกลับข้อความของนายเฟโดรอฟว่า เขารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเหลือยูเครน ทั้งนี้ ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์มีลักษณะคล้ายจานรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมในบ้านและช่วยให้สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงมากเมื่อเทียบกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป เนื่องจากตัวรับสัญญาณดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับฝูงดาวเทียมสตาร์ลิงก์ที่อยู่ในวงโคจรต่ำของโลก อย่างไรก็ดี นายจอห์น สกอตต์-เรลตัน นักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยโทรอนโตของแคนาดา ได้ออกมาเตือนผ่านทวิตเตอร์ว่า ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโครงการสตาร์ลิงก์อาจตกเป็นเป้าโจมตีจากรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียมีประสบการณ์มายาวนานหลายสิบปีเรื่องการโจมตีผู้คนด้วยการมุ่งเป้าไปที่การสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม. -สำนักข่าวไทย

1 5 6 7 8 9 10
...