วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนผู้สมัครคู่ของไบเดน

วอชิงตัน 12 ส.ค.- หลายฝ่ายมองว่า การที่โจ ไบเดน ตัวเก็งตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงประธานาธิบดีสหรัฐเลือก ส.ว.คามาลา แฮร์ริส รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้สมัครคู่ชิงรองประธานาธิบดีที่เป็นสตรีผิวสีคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ส.ว.แฮร์ริส วัย 55 ปี เป็นอัยการสูงสุดคนแรกของรัฐแคลิฟอร์เนียที่เป็นสตรีและเป็นสตรีผิวสี เพราะมารดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านมะเร็งเต้านมย้ายถิ่นมาจากอินเดีย บิดาเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณด้านเศรษฐศาสตร์ย้ายถิ่นมาจากจาเมกา เธอมีผลงานที่คนชื่นชมอย่างโครงการ Back on Track ที่เปิดทางให้ผู้ต้องหาคดียาเสพติดที่ไม่รุนแรงและทำผิดเป็นครั้งแรกได้เรียนเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษามัธยมปลาย ริเริ่มโครงการฝึกอบรมต่อต้านอคติให้แก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วรัฐแคลิฟอร์เนีย และเปิดเว็บท่า Open Justice รวบรวมข้อมูลกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้สาธารณชนเข้าถึง อย่างไรก็ดี ลารา บาเซลอน อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยซานฟานซิสโกเคยเขียนลงบทความในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ปีก่อนวิจารณ์เธอว่า หลายครั้งที่กลุ่มหัวก้าวหน้าขอให้ ส.ว.แฮร์ริสปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาขณะเป็นอัยการเขตซานฟรานซิสโกปี 2547-2554 และอัยการสูงสุดรัฐแคลิฟอร์เนียปี 2554-2560 เธอมักไม่เห็นด้วยหรือไม่ก็นิ่งเฉย ขณะที่หนังสือพิมพ์แซคราเมนโตบีลงบทความเมื่อเดือนมิถุนายนว่า ส.ว.แฮร์ริสเป็นที่รู้จักดีในรัฐแคลิฟอร์เนียว่า เป็นอัยการและอัยการสูงสุดที่ชอบรอมากกว่านำ จะเคลื่อนไหวในประเด็นถกเถียงต่อเมื่อเห็นว่ามีผลทางการเมือง เอเอฟพีเสริมว่า เธอถูกวิจารณ์ว่าไม่แทรกแซงในเหตุตำรวจใช้ความรุนแรงกับประชาชน คัดค้านร่างกฎหมายสอบสวนการยิงปืนของตำรวจ แต่ผลักดันร่างกฎหมายลงโทษผู้ปกครองหากบุตรหลานหนีเรียน ด้านแจ็ค พิตนี อาจารย์การเมืองอเมริกัน วิทยาลัยแคร์มอนต์แมคเคนนาในรัฐแคลิฟอร์เนียแย้งว่า การทำหน้าที่ของ ส.ว.แฮร์ริสเมื่อครั้งเป็นอัยการคือผู้ใช้กฎหมาย ไม่ใช่ผู้ร่างกฎหมาย […]

...