fbpx

หุ่นยนต์เก็บขยะอวกาศ

บริษัทสตาร์ทอัพแห่งหนึ่ง คิดค้นหุ่นยนต์เก็บขยะอวกาศ ซึ่งอาจถูกส่งขึ้นไปทำหน้าที่ดักจับเศษซากขยะในอวกาศเร็วๆ นี้ หลังจากพบว่ามีขยะอวกาศจำนวนมหาศาลอยู่รอบวงโคจรของโลก

จรวดส่งดาวเทียมญี่ปุ่นระเบิดหลังทะยานขึ้นได้ไม่กี่นาที

โตเกียว 13 มี.ค.- ไครอส (Kairos) จรวดเชื้อเพลิงแข็งขนาดเล็กของญี่ปุ่นระเบิดหลังทะยานขึ้นจากฐานปล่อยได้ไม่กี่วินาทีในวันนี้ เป็นการออกเดินทางเที่ยวแรกเพื่อนำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร ภาพการถ่ายทอดสดทางสื่อสังคมออนไลน์ในญี่ปุ่นเห็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง 4 ท่อน ความยาว 18 เมตรระเบิด หลังจากทะยานขึ้นเมื่อเวลา 11:01 น.วันนี้ตามเวลาญี่ปุ่น ตรงกับเวลา 09:01 น. วันนี้ตามเวลาไทย ทำให้เกิดกลุ่มควันขนาดใหญ่ ลูกไฟ และซากจรวด นักดับเพลิงเร่งฉีดน้ำที่ฐานปล่อยจรวดซึ่งตั้งอยู่ปลายคาบสมุทรคี ทางตะวันตกของญี่ปุ่น สเปซวัน (Space One) เจ้าของจรวดที่หวังจะเป็นบริษัทญี่ปุ่นแห่งแรกที่สามารถนำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรแจ้งว่า เกิดเหตุขัดข้องหลังจากจรวดทะยานขึ้น บริษัทกำลังสอบสวนหาสาเหตุอยู่ ขณะนี้ยังไม่ทราบว่ามีคนบาดเจ็บหรือไม่ โดยปกติแล้วจะไม่มีคนอยู่ใกล้ฐานในช่วงที่มีการปล่อยจรวด จรวดไครอสมีภารกิจนำดาวเทียมทดลองของรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าสู่วงโคจร เพื่อทำหน้าที่แทนดาวเทียมข่าวกรองเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีปัญหา เดิมสเปซวันมีกำหนดปล่อยจรวดเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา แต่ได้เลื่อนมาเป็นวันนี้เนื่องจากมีเรือลำหนึ่งแล่นเข้ามาในน่านน้ำหวงห้าม.-814.-สำนักข่าวไทย

สตาร์ทอัพจีนใช้จรวดเชื้อเพลิงมีเทนส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร

ปักกิ่ง 9 ธ.ค.- สตาร์ทอัพเอกชนในจีนประสบความสำเร็จในการใช้จรวดเชื้อเพลิงมีเทนและออกซิเจนเหลวส่งดาวเทียม 3 ดวงเข้าสู่วงโคจรในวันนี้ บริษัท แลนด์สเปซ เทคโนโลยี (LandSpace Technology) ในกรุงปักกิ่ง ปล่อยจรวดจูเชวี่ย-2 วาย-3 (Zhuque-2 Y-3) เมื่อเวลา 07:39 น.วันนี้ตามเวลาจีน จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วฉวน ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เป็นการทดสอบจรวดจูเชวี่ย-2 ครั้งที่ 3 และสามารถนำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรได้เป็นครั้งแรก หลังจากการทดสอบครั้งที่ 2 จูเชวี่ย-2 วาย-2 ที่ไม่มีดาวเทียม เมื่อเดือนกรกฎาคม ทำให้แลนด์สเปซเป็นบริษัทแรกของโลกที่สามารถปล่อยจรวดใช้เชื้อเพลิงมีเทนและออกซิเจนเหลว แซงหน้าคู่แข่งอย่างสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ของ อีลอน มัสก์ และ บลู ออริจิน (Blue Origin) ของ เจฟฟ์ เบโซส ส่วนการทดสอบครั้งแรก จูเชวี่ย-2 วาย-1 เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ล้มเหลว แลนด์สเปซเผยว่า ดาวเทียมทั้ง 3 ดวง […]

“คิม จอง-อึน” ดูพื้นที่เป้าหมายในเกาหลีใต้จากภาพถ่ายดาวเทียม

เปียงยาง 25 พ.ย.- สื่อทางการเกาหลีเหนือรายงานว่า นายคิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือได้ตรวจดูพื้นที่เป้าหมายหลักในเกาหลีใต้จากภาพถ่ายของดาวเทียมจารกรรมที่ปล่อยเข้าสู่วงโคจรเมื่อไม่กี่วันก่อน สำนักข่าวกลางเกาหลีหรือเคซีเอ็นเอ (KCNA) รายงานว่า เมื่อวันศุกร์นายคิมได้ตรวจดูภาพถ่ายจากดาวเทียมที่โคจรผ่านคาบสมุทรเกาหลี เป็นภาพที่ถ่ายระหว่างเวลา 10:15-10:27 น. วันที่ 24 พฤศจิกายน เห็นพื้นที่เป้าหมายหลักในเกาหลีใต้ ทั้งกรุงโซล เมืองพย็องแท็ก เมืองโอซาน เมืองมกโพ และเมืองกุนซาน ที่ซึ่งเกาหลีใต้และสหรัฐมีฐานทัพอยู่ นอกจากนี้ยังเห็นพื้นที่บางส่วนของเกาหลีเหนือด้วย เกาหลีเหนืออ้างว่า ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมมันอียง-อิล (Malligyong-1) เข้าสู่วงโคจรเมื่อคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน และอ้างในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาว่า ผู้นำเกาหลีเหนือได้ตรวจดูภาพถ่ายฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมที่ถ่ายจากดาวเทียมดังกล่าว ขณะที่เกาหลีใต้เผยในเวลานั้นว่า ยังเร็วเกินไปที่จะยืนยันว่าดาวเทียมของเกาหลีเหนือทำงานได้จริงตามที่กล่าวอ้าง ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรจะช่วยให้เกาหลีเหนือมีศักยภาพในการเก็บข้อมูลข่าวกรองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับเกาหลีใต้และในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางทหาร.-สำนักข่าวไทย

“จันทรายาน-3” ของอินเดียเตรียมลงจอดบนดวงจันทร์

เบงกาลูรู 23 ส.ค.- ยานสำรวจของอินเดียมีกำหนดลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ในเย็นวันนี้ หากประสบความสำเร็จก็จะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถลงจอดในจุดนี้   ยานสำรวจในภารกิจจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) มีกำหนดลงจอดหลังเวลา 18:00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับหลังเวลา 19:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นความพยายามล่าสุดของอินเดีย หลังจากภารกิจจันทรายาน-2 ล้มเหลวไปในปี 2562 และหลังจากยานลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียตกกระแทกพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมตามเวลาท้องถิ่น เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกของรัสเซียนับจากปี 2519 หากไม่ตกกระแทกพื้นก็จะลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นประเทศแรกของโลก นายเค สิวาน อดีตประธานองค์กรสำรวจอวกาศอินเดียหรืออิสโร (ISRO) เผยว่า ภาพถ่ายล่าสุดที่ยานลงจอดวิกรม (Vikram) ของจันทรายาน-3 ส่งกลับมายังโลกทำให้มั่นใจได้ว่า การลงจอดจะประสบความสำเร็จ และอิสโรได้แก้ไขข้อบกพร่องจากความล้มเหลวเมื่อ 4 ปีก่อนที่คณะนักวิทยาศาสตร์ขาดการติดต่อกับยานของจันทรายาน-2 ในช่วงที่ยังไม่ลงจอด อินเดียปล่อยจรวดในภารกิจจันทรายาน-3 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ใช้เวลาในการเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์นานกว่ายานอวกาศของประเทศอื่น รวมถึงยานอะพอลโลของสหรัฐช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน เนื่องจากอินเดียใช้จรวดที่มีกำลังน้อยกว่า จึงต้องโคจรรอบโลกหลายรอบเพื่อเพิ่มความเร็วก่อนเข้าสู่เส้นทางมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์ และเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม […]

ยานสำรวจรัสเซียจะเข้าวงโคจรดวงจันทร์วันนี้

มอสโก 16 ส.ค.- ยานสำรวจลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียจะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ในวันนี้ ตามตารางขององค์การอวกาศรัสเซียหรือ รอสคอสมอส (Roscosmos) ยานลูนา-25 หนักประมาณ 800 กิโลกรัมทะยานขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดโซยุซเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมจากศูนย์วอสตอชนี คอสโมโดรม (Vostochny Cosmodrome) ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของรัสเซียครั้งแรกนับจากปี 2519 ยานจะโคจรอยู่เหนือพื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ 100 กิโลเมตร แล้วจะลงจอดในวันจันทร์หน้าในจุดที่อยู่ทางเหนือของหลุมอุกกาบาตโบกุสลัฟสกี (Boguslawsky crater) บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยจะปฏิบัติภารกิจอยู่บนดวงจันทร์นาน 1 ปี ด้วยการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ดินบนดวงจันทร์ รอสคอสมอสแจ้งว่า กล้องที่ติดตั้งบนยานลูนา-25 ได้ถ่ายภาพระยะไกลของโลกและดวงจันทร์ขณะยานเดินทางอยู่ในอวกาศ รัสเซียเผยว่า จะเดินหน้าแผนการสำรวจดวงจันทร์ของตนเอง แม้ว่าองค์การอวกาศยุโรปประกาศว่า จะไม่ร่วมมือกับรัสเซียเรื่องภารกิจอวกาศในอนาคต เพราะรัสเซียทำสงครามในยูเครน.-สำนักข่าวไทย

รัสเซียเตรียมส่งดาวเทียมอิหร่านเข้าสู่วงโคจร

อัลมาตี 9 ส.ค.- รัสเซียเตรียมส่งดาวเทียมของอิหร่านเข้าสู่วงโคจรในอวกาศในวันนี้ ขณะที่อิหร่านปัดกระแสวิตกเรื่องรัสเซียอาจใช้ดาวเทียมอิหร่านในการทำสงครามยูเครนที่ดำเนินมาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ดาวเทียมคัยยาม (Khayyam) มีกำหนดทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยอวกาศยานไบโคนูร์คอสโมโดรนในคาซัคสถานในเวลา 05:52 น.วันนี้ตามเวลามาตรฐานสากล ตรงกับเวลา 12:52 น.วันนี้ตามเวลาในไทย หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียเดินทางไปพบอยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านที่กรุงเตะหรานเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในสหรัฐรายงานอ้างเจ้าหน้าที่ข่าวกรองตะวันตกเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า รัสเซียมีแผนการนำดาวเทียมของอิหร่านไปช่วยทำสงครามกับยูเครนหลายเดือน แล้วจึงจะให้อิหร่านเข้ามาควบคุมดาวเทียม แต่สำนักงานอวกาศอิหร่านแถลงเมื่อวันอาทิตย์ว่า อิหร่านจะควบคุมดาวเทียมดวงนี้ตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่วงโคจร จะไม่มีประเทศอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ส่งมาจากดาวเทียมดวงนี้ได้เพราะใช้ระบบเข้ารหัส ดาวเทียมคัยยามจะทำหน้าที่สังเกตการณ์สถานการณ์บริเวณพรมแดนอิหร่าน ส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร ติดตามทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ดาวเทียมดวงนี้ตั้งตามชื่อของโอมาร์ คัยยาม ซึ่งเป็นกวี นักปราชญ์ นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และแพทย์ชาวเปอร์เซียที่มีชีวิตอยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 ไม่ใช่ดาวเทียมดวงแรกของอิหร่าน เพราะอิหร่านเคยส่งดาวเทียมซีนา-1 (Sina-1) ขึ้นจากศูนย์ปล่อยอวกาศยานเปลเซตสก์ของรัสเซียในปี 2548 และส่งดาวเทียมทหารเข้าสู่วงโคจรในเดือนเมษายน 2563.-สำนักข่าวไทย 

...