เกาหลีใต้อนุมัติวัคซีนโนวาแวกซ์-นำเข้ายาเม็ดต้านโควิด

โซล 12 ม.ค. – เกาหลีใต้ประกาศอนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของโนวาแวกซ์ บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐ ในวันนี้ และเตรียมรับมอบยาเม็ดต้านเชื้อโควิดของไฟเซอร์ลอตแรกในวันพฤหัสบดี กระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้เผยวันนี้ว่า เกาหลีใต้จะได้รับยาเม็ดต้านเชื้อโควิดแบบรับประทานของไฟเซอร์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘แพกซ์โลวิด’ จำนวน 21,000 คอร์สในวันพฤหัสบดี และคาดว่าจะได้รับยาดังกล่าวอีกราว 10,000 คอร์สภายในสิ้นเดือนนี้ เกาหลีใต้จะเริ่มแจกจ่ายยาแพกซ์โลวิด ซึ่งได้รับการอนุมัติในเดือนธันวาคมปีก่อน ให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดวันละกว่า 1,000 คนตั้งแต่วันศุกร์นี้ โดยเน้นกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยที่มีระดับภูมิคุ้มกันลดลงในขณะรักษาตัวที่บ้านหรือศูนย์บำบัดโรค ก่อนหน้านี้ ผลการทดลองทางคลินิกของไฟเซอร์ระบุว่า ยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพป้องกันอัตราป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้สูงเกือบร้อยละ 90 ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงต่ออาการป่วยรุนแรง ในขณะเดียวกัน กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยาของเกาหลีใต้ก็ประกาศอนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิดของโนวาแวกซ์เป็นขนานล่าสุดต่อจากวัคซีนของแอสตราเซเนกา โมเดอร์นา ไฟเซอร์ และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โดยมีเอสเค ไบโอไซเอินซ์ บริษัทผู้พัฒนาวัคซีนของเกาหลีใต้ รับหน้าที่ผลิตวัคซีนดังกล่าว วัคซีนของโนวาแวกซ์ ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดโปรตีนเบสแบบสองโดส ได้รับการอนุมัติใช้จากหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปและองค์การอนามัยโลก รวมถึงประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยมีสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียเป็นผู้ผลิตวัคซีนให้กลุ่มประเทศดังกล่าว สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือเคดีซีเอ รายงานวันนี้ว่า เกาหลีใต้พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายใหม่ […]

อินเดียอนุมัติใช้ยาต้านโควิดของเมอร์คเป็นกรณีฉุกเฉิน

เบงกาลูรู 28 ธ.ค.- อินเดียอนุมัติให้ใช้โมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของเมอร์ค บริษัทข้ามชาติของเยอรมนีเป็นกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งอนุมัติให้ใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศอีก 2 ขนานเป็นกรณีฉุกเฉินด้วย กระทรวงสาธารณสุขอินเดียแจ้งว่า ยาโมลนูพิราเวียร์จะผลิตโดยบริษัทในอินเดีย 13 แห่ง และจำกัดให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับรักษาผู้ป่วยโควิดที่เป็นผู้ใหญ่ ตามที่บริษัทยาหลายแห่งในอินเดียได้ลงนามข้อตกลงใบอนุญาตโดยสมัครใจที่ไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวกับเมอร์ค เพื่อผลิตและจัดหาให้ในอินเดีย ยาขนานนี้เพิ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) ให้ใช้รักษาผู้ติดเชื้อวัยผู้ใหญ่ที่มีอาการไม่รุนแรงเป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขอินเดียยังอนุมัติให้ใช้วัคซีนโคโวแว็กซ์ (Covovax) ที่สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียผลิตโดยได้รับใบอนุญาตจากโนวาแว็กซ์ของสหรัฐ และวัคซีนโคบีแว็กซ์ (Cobevax) ที่พัฒนาโดยไบโอโลจิคัล อีของอินเดีย เป็นกรณีฉุกเฉินด้วย อินเดียฉีดวัคซีนแล้ว 1,430 ล้านโดส โดยมีผู้ใหญ่มากกว่า 839 ล้านคนรับวัคซีนเข็มแรกแล้ว และจะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แก่คนวัย 15-18 ปี ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2565 ตามด้วยบุคลากรทางการแพทย์และผู้ทำงานแนวหน้าตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2565 ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า อินเดียจำเป็นต้องรณรงค์ฉีดวัคซีนให้มากยิ่งขึ้น ขณะที่บางรัฐได้ใช้มาตรการห้ามออกนอกเคหสถานยามวิกาลและมาตรการจำกัดอื่น ๆ แล้ว เป็นการป้องกันล่วงหน้าในช่วงที่ผู้คนจะเฉลิมฉลองปีใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยสถานการณ์การระบาดหนักช่วงฤดูร้อนปีนี้ที่เกิดจากสายพันธุ์เดลตา.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้อนุมัติฉุกเฉินใช้ยาเม็ดไฟเซอร์ต้านโควิด

กระทรวงอาหารและยาของเกาหลีใต้อนุมัติให้ใช้ยาเม็ดต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบริษัทไฟเซอร์ เป็นกรณีฉุกเฉิน นับเป็นยารับประทานขนานแรกที่จะใช้ในเกาหลีใต้

FDA อนุมัติใช้ยาเม็ดต้านโควิดของไฟเซอร์เป็นการฉุกเฉิน

วอชิงตัน 23 ธ.ค.- สำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) อนุมัติให้ใช้แพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ยาเม็ดต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของไฟเซอร์เป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว โดยให้ใช้กับผู้มีความเสี่ยงสูงอายุ 12 ปีขึ้นไป เอฟดีเออนุมัติให้ใช้ยาแพ็กซ์โลวิดสำหรับรักษาผู้ติดโควิดที่มีอาการปานกลางวัย 12 ปีขึ้นไปและมีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 88 ปอนด์ (ราว 39.9 กิโลกรัม) และผู้ติดเชื้อที่เสี่ยงจะต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต โดยให้รับประทานทันทีที่สามารถทำได้หลังจากตรวจพบว่าติดเชื้อ และภายใน 5 วันที่เริ่มมีอาการ รับประทาน 1 คอร์ส รวมทั้งหมดไม่เกิน 30 เม็ด โดยให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 เม็ด ประกอบด้วยเนอร์มาเทรลเวียร์ 2 เม็ด และริโทนาเวียร์ 1 เม็ด ยาตัวแรกออกฤทธิ์ยับยั้งโปรตีนของเชื้อไวรัสโคโรนาทำให้เชื้อไม่สามารถเพิ่มจำนวน ยาตัวที่สองช่วยชะลอการแตกตัวของยาตัวแรกเพื่อให้อยู่ในร่างกายได้นานขึ้นในปริมาณที่เข้มข้นขึ้น เอฟดีเอย้ำว่า ไม่อนุมัติให้ใช้แพ็กซ์โลวิดเพื่อป้องกันโควิดทั้งก่อนหรือหลังได้รับเชื้อ และไม่อนุมัติให้ใช้แทนการรักษาผู้ติดเชื้อที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะอาการหนัก รวมทั้งไม่อนุมัติให้ใช้แทนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด และไม่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับหรือไตร้ายแรง […]

ไฟเซอร์เผยยาเม็ดต้านโควิดยังมีประสิทธิภาพ 90%

นิวยอร์ก 15 ธ.ค. – ไฟเซอร์ อิงค์ บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ เผยเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า ยาเม็ดต้านเชื้อโควิดที่บริษัทพัฒนาขึ้นยังคงมีประสิทธิภาพป้องกันอาการป่วยรุนแรงและการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้เกือบร้อยละ 90 ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูง ขณะที่ผลทดลองล่าสุดชี้ว่า ยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเช่นกัน ไฟเซอร์เผยข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายจากการทดลองในห้องปฏิบัติการว่า ไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเสียชีวิตหลังได้รับยาเม็ดต้านเชื้อโควิด และมีผู้ป่วยติดเชื้อ 12 รายที่เสียชีวิตจากการได้รับยาหลอก ไฟเซอร์ได้ใช้ยาดังกล่าวร่วมกับยาต้านเชื้อไวรัสแบบดั้งเดิมในกลุ่มอาสาสมัครทุก ๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 5 วันหลังจากที่ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด หากยาเม็ดต้านเชื้อโควิดได้รับการอนุมัติ ไฟเซอร์จะจัดจำหน่ายยาดังกล่าวภายใต้ชื่อ แพ็กซ์โลวิด ไฟเซอร์ยังเผยข้อมูลเบื้องต้นจากการทดลองครั้งที่สองที่ระบุว่า ยาเม็ดต้านเชื้อโควิดช่วยลดอัตราป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ราวร้อยละ 70 จากการทดลองทางคลินิกในกลุ่มอาสาสมัครขนาดเล็กที่เป็นผู้ใหญ่ทั่วไปที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิดครบสองโดสที่มีความเสี่ยงสูง ในขณะเดียวกัน นายมิคาเอล โดลสเตน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของไฟเซอร์ เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า คาดว่ายาเม็ดต้านเชื้อโควิดของไฟเซอร์จะได้รับการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือเอฟดีเอ รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลยาของประเทศอื่น ๆ ในเร็ว ๆ นี้ ก่อนหน้านี้ ไฟเซอร์เผยเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่า ยาเม็ดต้านเชื้อโควิดมีประสิทธิภาพป้องกันการป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิดสูงถึงร้อยละ 89 ในกลุ่มอาสาสมัคร 1,200 คน ขณะที่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งในครั้งนี้มีกลุ่มอาสาสมัครเข้าร่วมเพิ่มอีก 1,000 คน.-สำนักข่าวไทย

ที่ปรึกษาเอฟดีเอสหรัฐไฟเขียวให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์

วอชิงตัน 1 ธ.ค. – คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือเอฟดีเอ มีมติอย่างเฉียดฉิวเห็นชอบให้เอฟดีเออนุมัติใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ของเมิร์ค แอนด์ โค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ เพื่อรักษาโรคโควิด-19 ด้วยคะแนนเสียง 13 ต่อ 10 นพ. เดวิด ฮาร์ดี หนึ่งในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ปรึกษาของเอฟดีเอและลงมติเห็นชอบให้อนุมัติการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และมีความจำเป็นต้องพึ่งยาโมลนูพิราเวียร์ หากเอฟดีเออนุมัติใช้ยังดังกล่าว ก็จะถือเป็นครั้งแรกที่มียารักษาโรคโควิด-19 แบบรับประทานให้แก่กลุ่มผู้ป่วยนอกที่มีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง แม้ว่าเขาจะยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพในระยะยาวของยาโมลนูพิราเวียร์ก็ตาม ขณะที่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอีกหลายคนที่ลงมติเห็นชอบระบุว่า ผลการทดลองทางคลินิกที่ชี้ว่ายอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ที่ลดลงในกลุ่มอาสาสมัครที่รับยาดังกล่าวทำให้พวกเขาลงมติเห็นชอบให้เอฟดีเออนุมัติใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ทั้งนี้ หากเอฟดีเออนุมัติใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ จะทำให้ยาดังกล่าวกลายเป็นยารักษาโรคโควิด-19 แบบรับประทานขนานแรกที่ใช้สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อที่รักษาตัวที่บ้านได้นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เกือบครบสองปี อย่างไรก็ดี เมิร์ค แอนด์ โค ได้เปิดเผยข้อมูลล่าสุดเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ระบุว่า ยาโมลนูพิราเวียร์อาจมีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอัตราลดอาการป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตในกลุ่มคนเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูงที่ร้อยละ 30 ซึ่งลดลงจากเดิมที่มีร้อยละ 50.-สำนักข่าวไทย

ไฟเซอร์แจกสูตรยาเม็ดต้านโควิดแต่ไร้ชื่อไทย

วอชิงตัน 17 พ.ย. – ไฟเซอร์ อิงค์ บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ ลงนามในข้อตกลงกับองค์การจัดการสิทธิบัตรยาที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ เพื่อแจกสูตรการผลิตยาเม็ดต้านโควิดที่บริษัทพัฒนาขึ้น หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ แพ็กซ์โลวิด ให้แก่ผู้ผลิตยาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 95 ประเทศ แต่ไม่มีประเทศไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อนี้ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ยาแพ็กซ์โลวิดที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดลองมีโอกาสเข้าถึงประชากรร้อยละ 53 ของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย แต่กลับไม่มีรายชื่อของบางประเทศที่เผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนัก เช่น บราซิล จีน รัสเซีย อาร์เจนตินา และประเทศไทย ขณะที่ไฟเซอร์ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะอนุญาตให้ผู้ผลิตยาในประเทศกำลังพัฒนาผลิตยาแพ็กซ์โลวิดได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยาดังกล่าวเข้าถึงประชากรทั่วโลกได้มากขึ้น โดยที่ไฟเซอร์จะไม่เก็บค่าตอบแทนจากกลุ่มประเทศรายได้ต่ำที่มีรายชื่ออยู่ในข้อตกลงตราบใดที่องค์การอนามัยโลกยังคงกำหนดให้โรคโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญหลายรายให้ความเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงยารักษาโรคโควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิด ด้านองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเผยกับสำนักข่าวเอพีว่า รู้สึกผิดหวังกับข้อตกลงในครั้งนี้ที่ไม่ได้ทำให้ยาเม็ดต้านโควิดของไฟเซอร์เข้าถึงทุกคนบนโลก ทั้งนี้ ไฟเซอร์ได้เผยผลการทดลองทางคลินิกในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาว่า ยาแพ็กซ์โลวิดช่วยลดอัตราเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อวัยผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงได้ถึงร้อยละ 89.-สำนักข่าวไทย

ไฟเซอร์ยื่นขออนุมัติใช้ยาเม็ดต้านโควิดในสหรัฐแล้ว

นิวยอร์ก 17 พ.ย. – ไฟเซอร์ อิงค์ บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ ได้ยื่นเอกสารต่อสำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือเอฟดีเอ เพื่อขออนุมัติใช้ยาเม็ดต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น ไฟเซอร์ระบุว่า บริษัทได้ยื่นเอกสารต่อเอฟดีเอเพื่อขออนุมัติใช้ยาเม็ดต้านเชื้อโควิด หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘แพ็กซ์โลวิด’ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง ซึ่งรวมถึงข้อมูลผลการทดลองทางคลินิกที่ระบุว่า ยาดังกล่าวช่วยลดอัตราผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อที่เสี่ยงมีอาการป่วยรุนแรงได้สูงถึงร้อยละ 89 ทั้งนี้ ยาแพ็กซ์โลวิดอาจกลายเป็นความหวังใหม่ในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสามารถรับประทานยาดังกล่าวได้ที่บ้านตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันอาการป่วยหนักจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 และอาจกลายเป็นเวชภัณฑ์สำคัญในประเทศที่วัคซีนป้องกันโรคโควิดเข้าถึงได้ยากหรือมีอัตราฉีดวัคซีนต่ำ นอกจากนี้ ไฟเซอร์ยังเผยว่า บริษัทจะแจกสูตรการผลิตยาแพ็กซ์โลวิดให้ผู้ผลิตยาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง 95 ประเทศโดยไม่คิดค่าตอบแทนผ่านข้อตกลงด้านสิทธิบัตรยากับองค์การจัดการสิทธิบัตรยาที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเอฟดีเอจะประกาศอนุมัติใช้ยาแพ็กซ์โลวิดของไฟเซอร์เป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อใด แต่คณะกรรมการอิสระที่เป็นที่ปรึกษาของเอฟดีเอจะประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาคำขออนุมัติในวันที่ 30 พฤศจิกายน และคาดว่ายาดังกล่าวจะได้รับอนุมัติใช้ภายในปีนี้ ก่อนหน้านี้ ไฟเซอร์เผยว่า ได้เริ่มขั้นตอนยื่นขออนุมัติใช้ยาแพ็กซ์โลวิดในประเทศต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ รวมถึงการเตรียมขออนุมัติใช้ยาดังกล่าวทั่วโลก.-สำนักข่าวไทย

บ. ยาสหรัฐเผยยา “โมลนูพิราเวียร์” ต้านโควิดทุกสายพันธุ์

เมอร์ค แอนด์ โค บริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของสหรัฐ เผยเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า ยาเม็ดต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โมลนูพิราเวียร์ ที่บริษัทกำลังพัฒนา มีแนวโน้มต้านเชื้อโควิดได้ทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา

...