fbpx

เฉลิมฉลอง “ภูพระบาท” มรดกโลกแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี

อุดรธานีจัดงานเฉลิมฉลองภูพระบาท มรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งที่ 2 อย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ท่ามกลางประชาชนในจังหวัดเข้าร่วมเนืองแน่น ณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ

นักท่องเที่ยวชมมรดกโลก อุทยานฯ ภูพระบาท

ช่วงหยุดยาว 3 วัน หลายครอบครัวใช้โอกาสนี้ไปเที่ยว แต่สุดสัปดาห์นี้มีความพิเศษ เพราะประเทศไทยเพิ่งได้ฉลอง มรดกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของยูเนสโก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี

รัฐบาลเปิดให้เข้าชมฟรี “ภูพระบาท” ตั้งแต่ 28 ก.ค.-12 ส.ค.67

นายกฯ เชิญชวนทุกคนร่วมแสดงความยินดี และเฉลิมฉลองที่ภูพระบาท จ.อุดรธานี ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดยรัฐบาลเปิดให้เข้าชมภูพระบาทฟรี ตั้งแต่วันนี้ 28 กรกฎาคม-12 สิงหาคม 2567 พร้อมเดินหน้าผลักดันให้เกิดแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่อย่างต่อเนื่อง

ไทยพร้อมอนุรักษ์-ฟื้นฟูแหล่งมรดกโลก หลัง “ภูพระบาท” เป็นมรดกโลก

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 46 หลัง “ภูพระบาท” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ย้ำไทยพร้อมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องแหล่งมรดกโลก ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

ท่องเที่ยวโขดหินแห่งอารยธรรม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี

21 ต.ค.- โขดหินแห่งอารยธรรมสุดอันซีน รูปทรงแปลกตา ประติมากรรมทางธรรมชาติสะท้อนวิถีชีวิตมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ กว่า 3,000 ไร่ ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พาเดินทางชมโขดหินแห่งอารยธรรมสุดอันซีน รูปทรงแปลกตา เป็นประติมากรรมทางธรรมชาติสะท้อนถึงวิถีชีวิตมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ กว่า 3,000 ไร่ ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีประติมากรรมหินรูปร่างแปลกตา เกิดจากการที่ชั้นหินทรายถูกกัดเซาะ จึงเกิดเพิงหินเว้าคล้ายดอกเห็ดหรือโต๊ะ เป็นสิ่งที่สวยงามราวกับว่าก้อนหินเหล่านี้ถูกยกขึ้นมาวางโดยมนุษย์และโขดหินบางจุดยังพบภาพเขียนสีสะท้อนเรื่องราวการดำรงชีวิตในสมัยโบราณอีกด้วย ทำให้นักท่องเที่ยวสัมผัสเส้นทางการเดินชมโขดหิน คล้ายกับการเดินทางภายในป่าแห่งประวัติศาสตร์ จากลักษณะโขดหินที่แปลกตา จึงได้ผูกเรื่องราวตำนานความเชื่อนิทานพื้นบ้าน เรื่องอุสา บารส นำสถานที่ในนิทานมาตั้งให้เข้ากับโขดหินต่างๆ เช่น หอนางอุสา ซึ่งเวลาต่อมากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อยู่ในเขต อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาหินทรายทางทิศตะวันตกของจังหวัด ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 320 – 350 เมตร สภาพทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีพืชพรรณธรรมชาติประเภทไม้เนื้อแข็งขึ้นปกคลุม จากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบว่าบนภูพระบาทแห่งนี้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์กำหนดอายุได้ราว 2,500 – 3,000 […]

ท่องเที่ยวโขดหินแห่งอารยธรรม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี

อันซีนโขดหินแห่งอารยธรรม ที่มีรูปทรงแปลกตา เป็นประติมากรรมทางธรรมชาติสะท้อนถึงวิถีชีวิตมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

...