“กำภู-รัชนีย์” โชว์กินเมนูปลาหมอคางดำ
คู่ข่าวคู่ซี้ “กำภู-รัชนีย์” โชว์กินสารพัดเมนู “ปลาหมอคางดำ” กลางรายการเรื่องพลบค่ำ ยืนยันกินได้ อร่อยด้วย ทั้งแบบทอด นึ่ง ต้มยำ ผัดฉ่า เนื้อแน่น รสชาติเหมือนปลานิล
คู่ข่าวคู่ซี้ “กำภู-รัชนีย์” โชว์กินสารพัดเมนู “ปลาหมอคางดำ” กลางรายการเรื่องพลบค่ำ ยืนยันกินได้ อร่อยด้วย ทั้งแบบทอด นึ่ง ต้มยำ ผัดฉ่า เนื้อแน่น รสชาติเหมือนปลานิล
กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – “ณัฐชา” สส. พรรคก้าวไกล รองประธานกมธ. แก้ปัญหาปลาหมอสีคางดำชื่นชมอธิบดีกรมประมงที่กล้าเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับปลาหมอคางดำ ชี้ชัดแล้วว่า มีผู้นำเข้ารายเดียวและกรมประมงยังไม่เคยได้รับตัวอย่างปลาที่บริษัทขออนุญาตนำเข้า กมธ. ยังคงเรียกร้องให้หาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นชนิดนี้แพร่ระบาดให้ได้ ส่วนผู้แทนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังอยากให้กระทรวงเกษตรฯ รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 บาทต่อกิโลกรัม นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส. กทม. พรรคก้าวไกล ฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ในคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำของกรมประมง โดยกล่าวชื่นชมนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงว่า กล้าหาญที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 14 ปีแล้ว รวมถึงความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด จากข้อมูลของกรมประมงชี้ชัดแล้วว่า กรมประมงอนุญาตให้บริษัทแห่งหนึ่งนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียว อีกทั้งข้อมูลจากการชี้แจงของบริษัทที่ระบุว่า ได้ยุติการวิจัยและส่งตัวอย่างปลาให้กรมประมงแล้ว กรมประมงไม่เคยได้รับ กมธ. ยังคงเรียกร้องให้สืบหาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำต่างถิ่นชนิดนี้รุกรานระบบนิเวศ รวมถึงสร้างผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ตามที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับว่า จะสืบสาเหตุเพื่อสร้างกระจ่างความกระจ่างแก่สังคมให้ได้ แต่ฟังแล้ว โอกาสที่จะหาต้นตอและเอาผิดตามกฎหมายต่อผู้ก่อผลกระทบนั้น ดูริบหรี่ กมธ. จะยื่นญัตติด่วนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อเชิญทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาร่วมแก้ไขปัญหานี้ นายคัมภีร์ ทองเปลว […]
อธิบดีกรมประมง ระบุกฎหมายประมงปัจจุบัน ยังเอาผิดหรือเรียกค่าเสียหายต่อผู้นำเข้า “ปลาหมอคางดำ” ไม่ได้ กรณีที่อาจเป็นต้นเหตุให้หลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ แต่ได้บรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่แล้ว พร้อมติดตามการวิจัย “ปลาเก๋าหยก” ของ CPF ใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย เปิดใจคิดไม่ต่างจากสังคมเรื่องความรับผิดชอบ แม้ไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่สามารถรับผิดชอบด้วยจิตสำนึก
กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยการลดจำนวนปลาหมอคางดำต้องผสมผสานหลายวิธี ย้ำต้องเลือกให้เหมาะสมตามสภาพความรุนแรงของการระบาด เพื่อลดผลกระทบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ส่วนการวิจัยทำหมันปลากว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา นายวีรกิจ จรเกตุ หัวหน้าสถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม คณะประมง มหาวิทยาเกษตรศาสตร์กล่าวว่า มาตรการการกำจัดปลาหมอคางดำจำเป็นต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน อีกทั้งต้องเลือกให้เหมาะสมกับความรุนแรงของการระบาดด้วยการประเมินเป็นรายแหล่งน้ำเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์น้ำชนิดอื่นและระบบนิเวศ พร้อมกันนี้ยกตัวอย่างการใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงจับปลาหมอคางดำเพื่อนำมาทำทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ย่อมมีปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นติดขึ้นมาด้วย ส่วนการปล่อยปลานักล่าอย่างปลากะพง ปลากะพงไม่ได้เลือกกินเฉพาะปลาหมอคางดำ แต่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการประเมินสภาพความรุนแรงของการระบาดเป็นรายแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในแหล่งน้ำเสื่อมโทรมที่ปลาหมอคางดำกินสัตว์น้ำชนิดอื่นกินจนเหลือน้อยมาก กระทั่งปลาหมอคางดำกลายเป็นชนิดพันธุ์หลักในแหล่งน้ำนั้น สามารถใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพสูงจับเพื่อให้สามารถลดจำนวนได้อย่างรวดเร็ว แล้วจึงฟื้นฟูเพื่อคืนความสมดุลของระบบนิเวศ สำหรับโครงการวิจัยของกรมประมงเพื่อควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์เพื่อให้ได้ปลาที่เป็นหมันนั้น คาดว่า เป็นการนำวิธีทำหมันปลาเศรษฐกิจซึ่งมาอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้สำหรับลดการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ การทำหมันปลาที่ทำกันอย่างกว้างขวางเช่น ในปลานิลเพื่อลดการเจริญเพศซึ่งจะทำให้ปลาเติบโตเร็ว งานวิจัยของกรมประมงเพื่อให้ได้ปลาหมอคางดำซึ่งมีชุดโครโมโซมพิเศษที่เป็นหมัน แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติเพื่อให้ได้ลูกที่เป็นหมันจึงเป็นงานวิจัยที่เป็นไปได้ทางทฤษฎี แต่จะทำให้ประชากรปลาหมอคางดำลดลงในระดับไม่ก่อผลกระทบภายใน 3 ปีได้หรือไม่นั้น ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่เคยมีการใช้เพื่อกำจัดสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นมาก่อน ดังนั้นจึงต้องทำควบคู่กับวิธีอื่นๆ ในการลดจำนวนด้วย นายวีรกิจกล่าวว่า ปลาหมอคางดำเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยที่รุนแรงที่สุด เมื่อเทียบกับสัตว์น้ำต่างถิ่นอื่นที่เคยหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ โดย Aliean Spicies เมื่อหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศแล้ว เป็นไปได้ยากมากที่จะกำจัดให้หมดไปเช่น ปลาซักเกอร์ที่ยังคงพบในประเทศไทย นายวีรกิจย้ำว่า ในการกำหนดวิธีกำจัดปลาหมอคางดำไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันหมดได้ ต้องศึกษาวิจัยเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ระบบนิเวศเสียสมดุลจนกลายเป็นปัญหาซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงบริบททางสังคม โดยหากมีการปล่อยปลานักล่าเช่น […]
กรมประมงเตรียมตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในสัปดาห์หน้า ตามคำสั่ง “ร.อ.ธรรมนัส” โดยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำมีมติรับซื้อในราคา 15 บาท/กก. ส่วนตัวอย่างปลาจากบริษัทที่ขออนุญาตนำเข้าในปี 2553 ตรวจสอบแล้ว ยืนยันว่า ไม่เคยได้รับมาและไม่พบจัดเก็บไว้ในห้องเก็บตัวอย่าง
โซเชียลแชร์หลากหลายเมนูจากปลาหมอคางดำ ที่เมืองคอน เอาปลาหมอคางดำ มาแปรรูปเป็น “เคยปลา” สร้างรายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 150 บาท
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ชิมปลาหมอคางดำทอดกระเทียม คอนเฟิร์มรสชาติอร่อย หลังลงพื้นที่ บึงมักกะสัน ตรวจสอบเหตุปลาน็อกน้ำ ชาวบ้านแห่จับ
CPF แจงนำเข้าปลาหมอคางดำ ตั้งแต่ปี 2553 แต่ทำลายซากปลาตามมาตรฐาน พร้อมส่งตัวอย่างให้กรมประมงตั้งแต่ปี 2554 ยืนยันไม่ใช่สาเหตุของการแพร่ระบาด
อดีตเจ้าของบ่อเลี้ยงกุ้ง 20 ไร่ เจอปลาหมอคางดำระบาด กินกุ้งหมดบ่อ ขาดทุนยับ ต้องหันมาเก็บขวดขายประทังชีวิต
กรุงเทพฯ 16 ก.ค. – รมว. ธรรมนัสเร่งรัดคณะกรรมการแก้ไขปัญหาปลาหมอสีคางดำให้สรุปมาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ kick off ได้เร็วที่สุด มาตรการด่วนที่สุดคือ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำและประชาชนจับมาขาย โดยจะนำเงินจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมารับซื้อไปทำปุ๋ย รวมถึงของบกลางด้วย รับซื้อกิโลกรัมละ 15 บาท ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามาสรุปมาตรการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำในระหว่างที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหมอคางดำ ทั้งระดับกระทรวงและระดับจังหวัดประชุมยืดเยื้อกว่า 4 ชั่วโมง แต่หาข้อสรุปไม่ได้เนื่องจากผู้แทนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงพื้นบ้านไม่เห็นด้วยกับการปล่อยปลาผู้ล่าที่จะปล่อยไปกินปลาหมอสีคางดำเนื่องจากไม่มั่นใจว่า จะได้ผล อยากให้ใช้งบประมาณมารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 20 บาทมากกว่า ในที่สุดร้อยเอกธรมนัสสรุปว่า ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีรับซื้อราคากิโลกรัมละ 15 บาท พร้อมย้ำผู้แทนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำว่า อย่าต่อรองเพราะจะทำให้การสรุปแผนดำเนินการไม่จบ kick off ไม่ได้ เบื้องต้นจะใช้เงินจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมารับซื้อไปทำปุ๋ย รวมถึงจะของบกลางมารับซื้อซึ่งหารือนายกรัฐมนตรีแล้ว นอกจากนี้ยังจะประสานกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการรับซื้อไปทำปลาร้า การรับซื้อ จะไม่กำหนดกรอบระยะเวลา โดยซื้อไปจนกว่าปัญหาจะหมด พร้อมย้ำว่า อย่าไปเพาะเลี้ยงเพื่อนำมาขาย จะไม่รับซื้อเด็ดขาด ทั้งยังผิดกฎหมายด้วย ส่วนประเด็นที่สังคมตั้งข้อสงสัยถึงการที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่งขออนุญาตจากกรมประมงนำปลาหมอสีคางดำจากทวีปแอฟริกาเข้ามาวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในปี 2553 จะมีการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจนเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายทั้งต่อภาคเศรษฐกิจการประมงและระบบนิเวศหรือไม่นั้น ร้อยเอกธรรมนัสได้ให้นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงชี้แจงให้สังคมทราบความจริงซึ่งนายบัญชายืนยันว่า มีการนำเข้าจริง ส่วนที่มีการกล่าวกันว่า บริษัทส่งตัวอย่างปลาด้วยการดองซากส่งให้กรมประมงเก็บไว้นั้น […]
“ร.อ.ธรรมนัส” รมว.เกษตรฯ เร่งรัดคณะกรรมการแก้ไขปัญหาปลาหมอสีคางดำให้สรุปมาตรการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ kick off ได้เร็วที่สุด มาตรการด่วนคือ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำและประชาชนจับมาขาย โดยจะนำเงินจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมารับซื้อไปทำปุ๋ย รวมถึงของบกลางด้วย รับซื้อกิโลกรัมละ 15 บาท
“ร.อ.ธรรมนัส” สั่งการหน่วยงานเกี่ยวข้องศึกษาโครโมโซมปลาหมอคางดำตัวผู้ เพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์เพิ่มเติมได้ แต่เบื้องต้นได้สั่งการให้ล่าและฆ่าให้หมด