‘ทางรถไฟจีน-ไทย’ช่วยร่นเวลาเดินทาง กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น

กรุงเทพฯ, 15 ธ.ค. (ซินหัว) — เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางรถไฟจีน-ไทย จะเป็นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดชายแดนอย่างหนองคาย ซึ่งจะมีสะพานเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว ทำให้อนาคตสามารถเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านลาว ไปสู่นครคุนหมิง ปัณรส บุญเสริม วัย 32 ปี นักแปลประจำโครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย เล่าเรื่องราววัยเด็กเกี่ยวกับทางรถไฟที่เชื่อมโยงบ้านของเธอในจังหวัดเชียงใหม่ กับบ้านปู่ย่าตายายในนครราชสีมา ซึ่งทำให้ครอบครัวของเธอต้องใช้เวลามากมายยามสัญจรไปมาหาสู่กันด้วยรถไฟ ปัณรสกล่าวว่ารถไฟในไทยทำให้ผู้คนเหนื่อยล้าจากการเดินทางไกลเพราะให้บริการเชื่องช้าเกินไป และหวังว่าทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยจะเสร็จสมบูรณ์และเริ่มเปิดใช้โดยเร็วที่สุด ทางรถไฟจีน-ไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายทางรถไฟข้ามเอเชีย จะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงรางมาตรฐานสายแรกของไทย โดยมีการคาดการณ์ว่าทางรถไฟฯ ระยะที่ 1 ที่เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับจังหวัดนครราชสีมา จะลดระยะเวลาเดินทางจากเดิมมากกว่า 4 ชั่วโมง เหลือเพียงกว่า 1 ชั่วโมงเท่านั้น ปัณรสมีโอกาสเยี่ยมชมสถานที่หลายแห่งในจีน ขณะเดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยหนานไคในเทศบาลนครเทียนจินทางตอนเหนือของจีน และได้เห็นว่าทางรถไฟความเร็วสูงมีบทบาทยกระดับชีวิตคนในท้องถิ่น ทำให้เธอมองว่าทางรถไฟจีน-ไทยจะไม่เพียงอำนวยความสะดวกการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น แต่ยังช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ โดยรอบ ปัณรสกล่าวว่าปกติการเดินทางด้วยรถยนต์ระหว่างกรุงเทพฯ กับนครราชสีมา จะกินเวลาราว 2 ชั่วโมง 30 นาที แต่การสัญจรจะสะดวกสบายและประหยัดเวลาขึ้นมาก หากโครงการทางรถไฟฯ ปัจจุบันเสร็จสิ้น ทั้งเสริมว่าการคมนาคมขนส่งสำคัญต่อการท่องเที่ยวมาก […]

...