เยอรมนีปราบนักเคลื่อนไหวสภาพภูมิอากาศ

เบอร์ลิน 24 พ.ค.- ตำรวจเยอรมนีออกปฏิบัติการตรวจค้นใน 7 รัฐจากทั้งหมด 16 รัฐทั่วประเทศในวันนี้ มุ่งจัดการนักเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องสภาพภูมิอากาศที่เคยกีดขวางการจราจรด้วยการตรึงตัวเองไว้บนถนน ตำรวจและอัยการรัฐบาวาเรียออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า ปฏิบัติการตรวจค้นเป็นไปตามการสอบสวนบุคคล 7 คน อายุระหว่าง 22-38 ปี ที่ต้องสงสัยว่าจัดตั้งหรือสนับสนุนองค์กรอาชญากรรม เจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นสถานที่ 15 แห่ง ยึดบัญชีธนาคาร 2 บัญชี และสั่งอายัดทรัพย์สิน ผู้ต้องสงสัยถูกกล่าวหาว่า จัดการรณรงค์หาเงินบริจาคให้แก่การก่ออาชญากรรมของกลุ่มเล็ตซ์เทอ เกเนอคราซิอง (Letzte Generation) เป็นภาษาเยอรมันที่แปลว่า คนรุ่นสุดท้าย โดยระดมเงินบริจาคได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน 4 แสนยูโร (ราว 52 ล้านบาท) ทางการไม่ได้ระบุชัดเจนเรื่องการกระทำที่เป็นการก่ออาชญากรรม แต่กล่าวหาผู้ต้องสงสัย 2 คนว่าพยายามก่อวินาศกรรมท่อส่งน้ำมันระหว่างเยอรมนีกับอิตาลี ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของรัฐบาวาเรีย กลุ่มนักเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องสภาพภูมิอากาศจำนวนสิบกว่าต้องขึ้นศาลในช่วงหลายสัปดาห์มานี้ เพราะเรื่องกีดขวางการจราจร นักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ถูกปรับเงิน แต่ศาลบางแห่งเริ่มลงโทษสถานหนักด้วยการตัดสินจำคุก นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ตำหนิการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ว่า เหลวไหลสิ้นดี เพราะมีตั้งแต่การอดอาหาร การกีดขวางถนน ไปจนถึงการขว้างมันฝรั่งบดใส่ภาพวาดในพิพิธภัณฑ์ […]

ปีนี้โลกจ่อร้อนเป็นสถิติใหม่

โลกมีแนวโน้มเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดทำลายสถิติในปีนี้ หรือไม่ก็ในปีหน้า อันเป็นผลจากภาวะโลกร้อนและกลับมาของปรากฏการณ์เอลนีโญ

มี.ค.ปีนี้ร้อนเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่บันทึกมา

ปารีส 6 เม.ย.- หน่วยงานติดตามสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) เผยว่า เดือนมีนาคม 2566 เป็นเดือนมีนาคมที่ทั่วโลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่มีการบันทึกมา สำนักบริการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus) เผยแพร่รายงานวันนี้ว่า จากการใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่เก็บบันทึกจากดาวเทียม เรือ เครื่องบิน และสถานีอากาศทั่วโลกพบว่า เดือนมีนาคมปีนี้เป็นเดือนมีนาคมที่ทั่วโลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 และแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้มีขนาดเล็กลงเหลือน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่มีการเก็บบันทึกข้อมูลดาวเทียมมาตั้งแต่ 45 ปีก่อน รายงานระบุว่า ภูมิภาคยุโรปกลางและใต้มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย ขณะที่ภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย อเมริกาใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยมาก ในทางกลับกันพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปเหนือมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย ภาคตะวันตกและภาคกลางของอเมริกาเหนือมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยมาก โคเปอร์นิคัสระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นทั่วโลกเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือคน ทำให้ช่วง 8 ปีที่ผ่านมาโลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 8 นับตั้งแต่มีการบันทึกมา.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นเห็นชอบมติสำคัญเรื่องความยุติธรรมด้านภูมิอากาศ

สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ มีมติเมื่อวานนี้ที่เป็นก้าวสำคัญในความพยายามแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน

ตร.ออสเตรเลีย วอนประชาชนทิ้งเมืองหนีน้ำท่วม

ตำรวจออสเตรเลียประกาศให้ประชาชนทั้งหมดอพยพออกจากเมืองเบอร์กทาวน์ รัฐควีนส์แลนด์ เนื่องจากแม่น้ำอัลเบิร์ตมีระดับเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่ง ทำให้พื้นที่โดยรอบกลายเป็นทะเลสาบ

อินเดียเรียกร้องปฏิรูปธนาคารโลก

เบงกาลูรู 24 ก.พ. – นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย ร่วมกระแสเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงธนาคารโลก นายกรัฐมนตรีโมดี กล่าวผ่านวิดีโอลิงก์ไปยังที่ประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือจี 20 (G20) ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน เริ่มตั้งแต่วันนี้ ที่เมืองเบงกาลูรู หรือบังกาลอร์เดิมของอินเดีย ว่าความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินระหว่างประเทศได้ผุกร่อนไปแล้ว สาเหตุหนึ่งเนื่องจากสถาบันเหล่านี้ปฏิรูปตัวเองช้าเกินไป เพราะในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนเกิน 8,000 ล้านคนแล้ว ความคืบหน้าในการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งกลับชะลอตัวลง จึงควรต้องร่วมกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายระดับโลกอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาระหนี้สินระดับสูง ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีอินเดียสะท้อนสิ่งที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้ธนาคารโลกเพิ่มการให้สินเชื่อ และขยายวัตถุประสงค์ของสินเชื่อให้มากกว่าการแก้ไขความยากจน นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวเมื่อวานนี้ว่า ธนาคารโลกจำเป็นต้องผนวกประเด็นความท้าทายระดับโลกเข้าไว้ในภารกิจหลัก เพื่อให้เรื่องสำคัญเหล่านี้มีความคืบหน้าอย่างยั่งยืน คาดว่าที่ประชุมจะหารือเรื่องผลกระทบเชิงลบที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากโรคโควิด-19 ระบาดและสงครามยูเครน การผ่อนปรนหนี้ให้แก่ประเทศยากจนที่ประสบปัญหาอาหารและเชื้อเพลิงมีราคาสูง แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่า ที่ประชุมจะสามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้หรือไม่ หลังจากล้มเหลวมาแล้วในการประชุม 3 ครั้งหลังสุด เนื่องจากตัวแทนการประชุมมีความเห็นแตกต่างกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องสงครามยูเครน ก่อนหน้านี้นายเดวิด มัลพาสส์ ประธานธนาคารโลก วัย 66 ปี เผยเมื่อต้นเดือนว่า จะลาออกในปีนี้ก่อนครบวาระ 5 ปี […]

ธารน้ำแข็งครึ่งโลกจะหายไปภายในปี 2643

วอชิงตัน 6 ม.ค.- ผลการศึกษาใหม่พบว่า ธารน้ำแข็งครึ่งโลกจะละลายหายไปหมดภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือสิ้นปี พ.ศ.2643 อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหากช่วยกันจำกัดภาวะโลกร้อนก็จะช่วยรักษาธารน้ำแข็งที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งไว้ได้ ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารไซเอินซ์ฉบับวันที่ 5 มกราคมวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธารน้ำแข็งจากฉากทัศน์ที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในองศาเซลเซียสที่แตกต่างกัน 4 ฉากทัศน์ ได้แก่ 1.5, 2, 3 และ 4 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งองศาเพิ่มขึ้นยิ่งทำให้ธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น แม้แต่ฉากทัศน์ที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายในข้อตกลงปารีส ปี 2558 ธารน้ำแข็งร้อยละ 49 จากที่มีอยู่ทั้งหมด 215,000 แห่งในเวลานี้จะละลายหายไปภายในปี 2643 คิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณธารน้ำแข็งทั้งหมด เพราะธารน้ำแข็งขนาดเล็กที่สุดจะละลายก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่อยู่ตามเทือกเขาแอลป์และเทือกเขาคอเคซัสในยุโรป เทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ แต่หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งทั่วโลกจะละลายหายไปมากถึงร้อยละ 83 ภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นคริสต์ศตวรรษนี้ อย่างไรก็ดี ประเมินกันว่าอุณหภูมิโลกในขณะนี้จะเพิ่มขึ้น 2.7 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ธารน้ำแข็งในยุโรปกลาง […]

ผู้ประท้วงทากาวที่มือติดกับภาพเขียนของ “วอร์ฮอล”

ผู้ประท้วงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทากาวที่มือติดกับภาพเขียนของ “แอนดี วอร์ฮอล” ที่จัดแสดงอยู่ที่หอศิลปะแห่งชาติของออสเตรเลียในวันนี้ เป็นเหตุประท้วงล่าสุดของกลุ่มเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเป้าโจมตีหอศิลปะต่าง ๆ ทั่วโลก

เปิดประชุมโลกร้อน COP27 ที่อียิปต์วันนี้

ชาร์มเอลเชค 6 พ.ย.- การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ที่อียิปต์เปิดฉากแล้วในวันนี้ เพื่อหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ความช่วยเหลือในการจำกัดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การประชุมมีขึ้นที่ชาร์มเอลเชค เมืองตากอากาศริมทะเลแดง จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและผู้นำรวมอยู่ด้วย มีประเทศและดินแดนต่าง ๆ เข้าร่วมมากกว่า 190 แห่ง ที่ประชุมจะหารือเรื่องการเร่งดำเนินการตามแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 การให้ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีในการจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์เมื่อปี 2564 เห็นพ้องกันว่า ภาคีทุกแห่งจะร่วมกันหาทางทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่สำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นราว 2.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นคริสต์ศวรรษที่ 21 หรือภายในสิ้นปี พ.ศ.2643 หากภาคียังคงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นในปัจจุบัน ทั่วโลกกังวลเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เนื่องจากเกิดสภาพอากาศผิดปกติบ่อยครั้งขึ้น และมีความเสียหายรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมา เช่น ปากีสถานเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ญี่ปุ่นมีอุณหภูมิฤดูร้อนปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อเดือนสิงหาคมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ และถูกตำหนิว่าเป็นเพราะชาติตะวันตกและรัสเซียเป็นอริกันจากเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน.-สำนักข่าวไทย

ออสเตรเลีย-ชาติแปซิฟิกขอเป็นเจ้าภาพร่วม คอป 2026

ออสเตรเลียและประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก จะร่วมกันเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศของโลกในปี 2026 ในขณะที่รัฐบาลพรรคแนงงานของออสเตรเลียพยายามวางจุดยืนให้ออสเตรเลียเป็นศูนย์กลางชองโลกด้านพลังงานหมุนเวียน

ภาวะโลกร้อนทำสเปนเผชิญไฟป่าต่อเนื่อง

สเปน 31 ส.ค. – สเปนเกิดไฟป่าต่อเนื่อง หลังต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่พัดมาจากทวีปแอฟริกาถึง 3 ระลอกในปีนี้ และด้วยสภาวะโลกร้อนทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น หลายประเทศยังคงสภาพอากาศร้อนจัดและคลื่นความร้อนรุนแรง ที่สเปนเกิดไฟป่าจุดใหม่ขึ้นในจังหวัดอัลบาเซเต บริเวณตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่ต้องนำทั้งรถและเฮลิคอปเตอร์เข้าไปควบคุมเพลิงที่โหมไหม้อย่างรวดเร็ว จากกระแสลมแรงและอุณหภูมิร้อนจัด สเปน รวมถึงโปรตุเกส ที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรีย ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่พัดมาจากทวีปแอฟริกา ในปีนี้ถึง 3 ระลอก ทำให้เกิดไฟป่าอย่างต่อเนื่อง ด้วยสภาวะโลกร้อนที่ทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น จากรายงานการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า หลายพื้นที่บนคาบสมุทรเกิดความแห้งแล้งที่สุดในรอบ 1,200 ปี. – สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 5 6 11
...