กรมควบคุมโรค แนะ ปชช.สังเกตร่างกาย-เช็กสุขภาพเพื่อห่างไกล “เบาหวาน”

หลังสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก กำหนดให้วันที่ 14 พ.ย.ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก เพื่อสร้างความตระหนักและความสำคัญถึงโรคเบาหวาน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก กรมควบคุมโรคจึงเชิญชวนให้ประชาชนหมั่นสังเกตสุขภาพ ตรวจเช็กร่างกายสม่ำเสมอเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรคที่ต้องหลีกเลี่ยงดื่มน้ำมะพร้าว จริงหรือ ?

3 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า ถ้าจะดื่มน้ำมะพร้าว คนที่ป่วย 3 โรคนี้ต้องระมัดระวัง โรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และไตเสื่อมนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรมความรู้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องหลีกเลี่ยงน้ำมะพร้าว เนื่องจากในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสในปริมาณสูง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินน้ำมะพร้าวสดหรือเครื่องดื่มจากน้ำมะพร้าวชนิดหวานน้อยหรือไม่เติมน้ำตาล เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น 2.ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป อาจสร้างปัญหาให้หัวใจ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม 3.ผู้ป่วยโรคไตเสื่อม น้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ หากร่างกายขาดน้ำผู้ป่วยโรคไตอาจเกิดอันตรายได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 17 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคเบาหวาน จริงหรือ ?

26 กรกฎาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคเบาหวานเอาไว้มากมายทั้ง ใบยี่หร่า ช่วยรักษาแผลเบาหวาน และการดื่มน้ำรากใบเตยช่วยให้เบาหวานหายขาดใน 5 วัน ได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : สรรพคุณของใบหม่อน จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปแนะนำว่าใบหม่อนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในหลอดเลือด ไปจนถึงยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ  ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ใบหม่อนมีสาร DNJ สารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลระบุปริมาณการใช้ใบหม่อนที่แน่ชัด จึงไม่ควรแชร์” อันดับที่ 2 : น้ำรากใบเตยรักษาเบาหวาน 5 วัน จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาเบาหวาน 5 วันหาย 100% ทำเองง่ายๆ แค่เอารากใบเตยมาล้างน้ำ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : น้ำต้มใบกระท่อมรักษาเบาหวาน หายขาด จริงหรือ?

มั่ว อย่าแชร์
ยังไม่มีการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานแบบระยะยาวว่าทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้จริง ปัจจุบันการรักษาทำได้หลายวิธีไม่จำเป็นต้องพึ่งใบกระท่อม

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 78 คน เสียชีวิต 1 คน

ศบค. รายงานสถานการณ์โควิด-19 วันนี้ พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 78 คน เสียชีวิตเพิ่ม 1 คน เป็นหญิงอายุ 56 ปี มีโรคประจำตัว

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 โรคห้ามดื่มกาแฟ จริงหรือ?

สังคมออนไลน์แชร์เตือนผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมถึงคนเป็นโรคกระเพาะ และคนที่ขาดวิตามินบี 1 ห้ามดื่มกาแฟ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

วันเบาหวานโลก 14 พ.ย. สธ.ปรับกลยุทธ์สู้โรคเบาหวาน

สธ.พบคนไทยป่วยโรคเบาหวานร้อยละ 10 แนวโน้มเพิ่มขึ้น ปรับกลยุทธ์ใช้ อสส.และอสม.ที่เป็นเบาหวาน จัดอบรมให้ความรู้ดูแลตนเอง และแนะนำคนอื่นๆ

วันเบาหวานโลก 14 พ.ย.แนะเลี่ยงอาหารน้ำตาลสูง คุมข้าว-แป้ง

เป็นโรคเบาหวานควรกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เน้นควบคุมปริมาณข้าวและผลไม้ พร้อมทั้งหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงต้อกระจก จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า คนเรายิ่งอายุมากยิ่งจะเสี่ยงเป็นโรคต้อกระจก เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือน! ให้ระวังน้ำตาลในผัก จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนให้ระวังน้ำตาลในผัก สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องควบคุมน้ำตาล อาจจะไม่เหมาะกับผักบางชนิด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : แชร์วิธีดูแลสุขภาพไตง่ายๆ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ 9 วิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรง เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ ระวังเรื่องการกินอาหารรสจัด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ผลเสียของการกินอาหารเร็ว จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ผลเสียของพฤติกรรมการกินเร็ว ทั้งทำให้ท้องอืด ทำให้อ้วน เสี่ยงเบาหวาน โรคกระเพาะ อาหารเป็นพิษ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2
...