สั่งดำเนินคดี รพ.เอกชน โฆษณาเปิดจองวัคซีน
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร สั่งดำเนินคดีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โฆษณาเปิดจองวัคซีนโควิด-19 ไม่ถูกต้อง
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร สั่งดำเนินคดีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โฆษณาเปิดจองวัคซีนโควิด-19 ไม่ถูกต้อง
“กาละแมร์” เตรียมพบ บก.ปคม. ตามหมายเรียก ปมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง อ้างไม่รู้หลักเกณฑ์โฆษณา
กสทช. และ อย. ยืนยันจะร่วมมือกันกวาดล้างโฆษณาเกินจริงให้เข้มข้นขึ้น
เกิดเป็นเรื่องราวถกเถียงกันในโลกโซเชียล หลังมีชาวเน็ตแชร์คลิปโฆษณาขายอาหารเสริมของพิธีกรสาวคนดัง “กาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ” โดยเจ้าตัวเป็นคนรีวิวเอง
อย.12 ส.ค.-อย.เตือนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 7Fit สวมเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่น เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม อีกทั้งโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านเว็บไซต์ ประสานกระทรวงดิจิทัลฯ ระงับการโฆษณาและดำเนินการตามกฎหมายแล้ว แนะผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินความเป็นอาหาร ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน 7Fit กรณีข้อมูลผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับฐานข้อมูลของ อย. จากการตรวจสอบพบเว็บไซต์หลักของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการปิดไปแล้ว แต่พบอีก 7 เว็บไซต์ที่ยังทำการโฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 7Fit อยู่ เมื่อตรวจสอบ เลขสารบบอาหาร 11-1-18157-1-0230 ที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ พบมีการสวมเลขสารบบอาหารของ ผลิตภัณฑ์อื่น จึงเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม อีกทั้งยังมีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ระบุข้อความเช่น “หมดปัญหา แคลอรี่ส่วนเกิน ไม่ต้องคุมอาหาร ลดน้ำหนักด้วย สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีผลข้างเคียง” ซึ่งเป็นการโฆษณาที่เกินขอบเขตความเป็นอาหาร เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีสรรพคุณในการบำบัดรักษา หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้ อย. จึงได้ประสานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อระงับการโฆษณาและดำเนินการตามกฎหมายแล้ว รองเลขาธิการ อย.กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังอย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ เกินจริงของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น เห็นผลไว เห็นผลจริง ปลอดภัย การันตี ไม่มีผลข้างเคียง […]
อย.พบผลิตภัณฑ์โฆษณาเกินจริงทางเว็บไซต์ ดำเนินการระงับโฆษณา เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย
จับแล้ว “ยาสอดสมุนไพร bunlafa_shop2” เตือนพรีเซ็นเตอร์ รีวิวสินค้า ถ้าพบกระทำความผิดเป็นครั้งที่ 2 ต้องเสียค่าปรับในอัตราโทษเป็นสองเท่าจากที่ถูกปรับครั้งแรก
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยสถานการณ์ผู้บริโภคประจำปี61 พบการร้องเรียนเรื่องการโฆษณาเกินจริง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริมมากเป็นอันดับ 1
2 สาวเหยื่อศัลยกรรมเสริมหน้าอกจากคลินิกย่านรังสิต เข้าร้องตำรวจปราบปรามคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อขอให้ตรวจสอบดำเนินคดีคลินิครับทำศัลยกรรม หลังเชื่อว่าเป็นขบวนการหลอกทำศัลยกรรมหญิงสาวจนเป็นอันตราย
พบผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal jelly) โฆษณาเกินจริงทางสื่อออนไลน์ เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค
อย.ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร A-4 โฆษณาเกินจริงอวดอ้าง ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอก ระบบภายในดี พบเลขอย. ยกเลิกทะเบียนไปแล้วสั่งระงับโฆษณา แจ้งเตือนอย่าหลงเชื่อซื้อมาทาน
อย. 3 ก.ย. – อย.พบผลิตภัณฑ์ยูสลิม เอกซ์เอสและผลิตภัณฑ์ดีท็อก เอส เฮิร์บ โฆษณาเกินจริงอวดอ้างลดน้ำหนักทางสื่อออนไลน์ เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต สั่งระงับโฆษณาแล้ว เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ ซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า มีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งโพสต์รูปและข้อความโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงขอให้ อย. ตรวจสอบ โดยจากการตรวจสอบเฟซบุ๊ก“วลิตา ปะวันเนาว์” พบมีการแสดงภาพการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และแสดงข้อความโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น อยากผอมต้อง ยูสลิม เท่านั้น ลดจริงทุกสัดส่วน You slim’xs 1 กล่อง 350.-พบภาพผลิตภัณฑ์ยูสลิม เอกซ์เอส ระบุเลขสารบบอาหาร 20-1-06358-1-0026 และผลิตภัณฑ์ดีท็อก เอส เฮิร์บ เลขสารบบอาหาร 10-1-24858-1-0018 ซึ่งจากการตรวจสอบเลขสารบบอาหารไม่พบข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งสองรายการ และมีการแจ้งยกเลิกเลขสารบบไปแล้ว การโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงถือเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ หรือสรรพคุณเป็นเท็จ และเป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 […]