ท่องเที่ยวโขดหินแห่งอารยธรรม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี
21 ต.ค.- โขดหินแห่งอารยธรรมสุดอันซีน รูปทรงแปลกตา ประติมากรรมทางธรรมชาติสะท้อนวิถีชีวิตมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ กว่า 3,000 ไร่ ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พาเดินทางชมโขดหินแห่งอารยธรรมสุดอันซีน รูปทรงแปลกตา เป็นประติมากรรมทางธรรมชาติสะท้อนถึงวิถีชีวิตมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ กว่า 3,000 ไร่ ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีประติมากรรมหินรูปร่างแปลกตา เกิดจากการที่ชั้นหินทรายถูกกัดเซาะ จึงเกิดเพิงหินเว้าคล้ายดอกเห็ดหรือโต๊ะ เป็นสิ่งที่สวยงามราวกับว่าก้อนหินเหล่านี้ถูกยกขึ้นมาวางโดยมนุษย์และโขดหินบางจุดยังพบภาพเขียนสีสะท้อนเรื่องราวการดำรงชีวิตในสมัยโบราณอีกด้วย ทำให้นักท่องเที่ยวสัมผัสเส้นทางการเดินชมโขดหิน คล้ายกับการเดินทางภายในป่าแห่งประวัติศาสตร์ จากลักษณะโขดหินที่แปลกตา จึงได้ผูกเรื่องราวตำนานความเชื่อนิทานพื้นบ้าน เรื่องอุสา บารส นำสถานที่ในนิทานมาตั้งให้เข้ากับโขดหินต่างๆ เช่น หอนางอุสา ซึ่งเวลาต่อมากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อยู่ในเขต อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาหินทรายทางทิศตะวันตกของจังหวัด ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 320 – 350 เมตร สภาพทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีพืชพรรณธรรมชาติประเภทไม้เนื้อแข็งขึ้นปกคลุม จากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบว่าบนภูพระบาทแห่งนี้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์กำหนดอายุได้ราว 2,500 – 3,000 […]