เผยมือปืนจับตัวประกันที่ญี่ปุ่นไม่พอใจไปรษณีย์และหมอ

โตเกียว 1 พ.ย.- สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า ชายวัย 86 ปี ที่ใช้ปืนก่อเหตุจับตัวประกันในไปรษณีย์ หลังจากเผาบ้านตัวเองและยิงเข้าไปในโรงพยาบาล มีความไม่พอใจไปรษณีย์และไม่พอใจแพทย์คนหนึ่งในโรงพยาบาล เหตุเกิดเมื่อวันอังคาร มีผู้บาดเจ็บ 2 คนที่โรงพยาบาลในจังหวัดไซตามะ ชานกรุงโตเกียว ส่วนตัวประกัน 2 คนที่ไปรษณีย์ไม่ได้รับบาดเจ็บหลังจากเหตุการณ์ยืดเยื้อนาน 8 ชั่วโมงจนถึงเวลา 22:00 น. สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า นายซึเนโอะ ซุซุกิ ผู้ก่อเหตุมีความไม่พอใจบริการของไปรษณีย์และไม่พอใจแพทย์คนหนึ่งในโรงพยาบาลที่เขายิงปืนเข้าไป โฆษกตำรวจไซตามะเผยกับเอเอฟพีว่า ผู้ก่อเหตุเรียกร้องกับตำรวจในที่เกิดเหตุว่า ต้องการพบบุคคลคนหนึ่ง ขณะนี้ตำรวจกำลังสอบสวนคดีอยู่ สถานีโทรทัศน์อาซาฮีของญี่ปุ่นรายงานว่า นอกจากปืนพกแล้ว นายซุซุกิยังมีมีด 2 เล่ม ถังขนาด 18 ลิตร และขวดบรรจุของหลวไม่ทราบประเภท 2 ขวด ขณะที่สถานีโทรทัศน์เอ็นทีวี (NTV) รายงานว่า เขาบอกกับตำรวจว่า เป็นคนยิงเข้าไปที่โรงพยาบาลและเผาอพาร์ตเมนต์ที่พักของตัวเอง หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชินบุนรายงานว่า เขารู้สึกหงุดหงิดหลังจากพบแพทย์ที่โรงพยาบาล และไม่พอใจสำนักงานไปรษณีย์เพราะเรื่องอุบัติเหตุจราจร ด้านเพื่อนบ้านเผยว่า นายซุซุกิเป็นมิตรและอาศัยอยู่คนเดียว ไม่เคยเห็นปืนหรืออาวุธอันตรายในอพาร์ตเมนต์ของเขามาก่อน ปัจจุบันประชากรในญี่ปุ่นมากกว่า 1 […]

ยกระดับ 30 บาทรักษาได้ทุกที่ ดีจริง? ตอบโจทย์?

เสียงสะท้อนจากแพทย์ นโยบายยกระดับบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ดีกับประชาชน ตอบโจทย์การให้บริการจริงหรือ?

“รัสเซีย” ส่งทีมแพทย์ช่วยลิเบีย 

รัสเซียส่งทีมแพทย์ฉุกเฉิน 35 คน พร้อมสิ่งของไปยังพื้นที่ประสบภัยในลิเบีย สามารถรองรับผู้ต้องการความช่วยเหลือได้วันละกว่า 100 คน

สธ.เตรียมหารือกรอบจัดสรรแพทย์ใช้ทุนปี 67

สธ. เผยได้รับจัดสรรแพทย์ใช้ทุนไม่ถึง 70% และลดลงทุกปี เตรียมหารือกรอบจัดสรรแพทย์ใช้ทุนปี 67 ปรับสัดส่วนให้ สธ. เพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์

แพทย์ในอังกฤษผละงานประท้วงครั้งใหญ่

แพทย์ในโรงพยาบาลในอังกฤษผละงานประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติสาสตร์ของบริการสุขภาพแห่งชาติ หรือ เอ็นเอชเอส ซึ่งเป็นบริการทางการแพทย์ที่รัฐบาลอังกฤษให้เงินสนับสนุน ทำให้เกิดความหวั่นเกรงถึงเรื่องความปลอดภัยของคนไข้

สธ.ร่วม 4 ชมรม ยกระดับบริการสาธารณสุข

สธ.ร่วม 4 ชมรมด้านแพทย์และสาธารณสุข ยกระดับบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ-ตติยภูมิ กำชับดูแลภาระงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการ บุคลากรให้เหมาะสม เล็งหารือ สปสช.จัดบริการและงบ ส่วนอัตรากำลังที่ไม่เพียงพอจะประสาน ก.พ.ต่อไป

บุคลากรลาออกจากระบบราชการเป็นเรื่องจริง

ปธ.UHOSNET รับสถานการณ์บุคลากรลาออกจากระบบราชการเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่แค่วิชาชีพแพทย์ แต่รวมถึงเภสัชฯ พยาบาล ชี้มาจาก 3 ปัจจัย ภาระงานหนัก คนรุ่นใหม่ทัศนคติเปลี่ยน และภาคเอกชนเปิดรับ ทำให้คนแห่ออกจากระบบ อีกทั้งงบในกองทุนหลักประกันสุขภาพไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ รพ.บริหารตัวแดงขาดทุน ส่งผลระบบใน รพ.ไม่ได้รับการพัฒนา

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินจากแปะก๊วยแก้นอนกรน จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า การกินวิตามินจะสามารถรักษาอาการนอนกรนให้หายได้
ในระยะหลังเริ่มมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดใบแปะก๊วย มีข้อมูลว่า ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ทำให้หลับลึกขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาการนอนกรน หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

แพทย์ มช.เตือน PM 2.5 ทำสมองเสียหาย เด็กไอคิวต่ำ-สมาธิสั้น

แพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เตือนฝุ่น PM 2.5 ภัยเงียบสุดอันตราย กระทบระบบทางเดินหายใจ ทำให้เด็กไอคิวต่ำ สมาธิสั้น คนสูงวัยเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์

จีนเผยยอดผู้ใช้บริการ ‘การแพทย์ออนไลน์’ แตะ 363 ล้านราย

รายงานพัฒนาการทางอินเทอร์เน็ตของจีน ซึ่งเผยแพร่โดยศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศจีน เมื่อวันพฤหัสบดี (2 มี.ค.) ระบุจำนวนผู้ใช้บริการทางการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ตในประเทศสูงแตะ 363 ล้านราย เมื่อนับถึงเดือนธันวาคม 2022 ซึ่งครองสัดส่วนร้อยละ 34 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในจีน

หมอ-พยาบาลจีนติดโควิดเพิ่มหลังทางการผ่อนคลาย

บุคลากรทางการแพทย์และโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์จีนอ้างว่า แพทย์และพยาบาลในจีนเริ่มติดโควิด-19 เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เข้าโรงพยาบาลและคลินิกส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการเพียงเล็กน้อย

ยูกันดาขาดแคลนหมอรับมืออีโบลา

กัมปาลา 17 พ.ย.- แพทย์ในยูกันดาเผยว่า ความกลัวติดโรคอีโบลาที่ทำให้ถึงตาย ความเหนื่อยล้า และเงินเดือนล่าช้า เป็นสาเหตุที่ทำให้เหลือแพทย์เพียงไม่กี่คนในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโรคอีโบลา หอแยกผู้ป่วยที่โรงพยาบาลฟอร์ตพอร์ทัล ทางตะวันตกของยูกันดา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับภูมิภาค มีแพทย์ 10 คนเข้ามาทำงานทันทีที่อีโบลาเริ่มระบาดครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน แต่ขณะนี้เหลือแพทย์เพียง 3 คน แพทย์ที่เหลืออยู่เผยว่า แพทย์ส่วนใหญ่ลังเลที่จะมาทำงานในหอแยกผู้ป่วยนี้ เพราะกลัวติดเชื้อไวรัสอีโบลา เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตไปแล้ว 2 คน ขณะที่โรงพยาบาลทั่วประเทศมีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อทั้งหมด 15 คน และเสียชีวิตไปแล้ว 6 คน นอกจากนี้ยังเป็นเพราะความเหนื่อยล้าและเงินเดือนที่จ่ายล่าช้า ยูกันดามีแพทย์เพียง 1 คนต่อประชากร 25,000 คน ต่ำกว่าเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่ 1 คนต่อ 1,000 คน กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า ไม่มีปัญหาขาดแคลนบุคลากรหรือทรัพยากร แพทย์หอผู้ป่วยวิกฤตหรือไอซียูทำงานสูงสุดกะละ 8 ชั่วโมง และมีการนำบุคลากรจากพื้นที่ที่ปลอดอีโบลามาทำงานหมุนเวียน แต่สมาคมแพทย์ยูกันดาแย้งว่า ตั้งแต่อีโบลายังไม่ระบาด ยูกันดาก็มีแพทย์ทำงานเพียงร้อยละ 40 อีโบลาเข้ามาทำให้ระบบสาธารณสุขใช้การไม่ได้ทางอ้อม เพราะบุคลากรขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคลหรือพีพีอีในการรักษาผู้ป่วย เชื้อไวรัสอีโบลาที่กำลังระบาดในยูกันดาเป็นสายพันธุ์ซูดานที่ยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันได้ผล ยอดผู้ป่วยเพิ่มเป็น 141 […]

1 2 3 4 5 17
...