สภาล่มซ้ำซาก!
ล่มซ้ำซาก ก่อนเริ่มพิจารณาร่าง รธน.ปิดสวิตซ์ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ด้าน ฝ่ายค้าน ยันไม่ร่วมสร้างบรรทัดฐานใหม่หลังประธานฯให้ลงมติเลื่อนวาระตาม ส.ว. ขณะ ส.ว.ถามกลับเร่งพิจารณา รธน.หวังผลการเมืองหรือไม่
ล่มซ้ำซาก ก่อนเริ่มพิจารณาร่าง รธน.ปิดสวิตซ์ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ด้าน ฝ่ายค้าน ยันไม่ร่วมสร้างบรรทัดฐานใหม่หลังประธานฯให้ลงมติเลื่อนวาระตาม ส.ว. ขณะ ส.ว.ถามกลับเร่งพิจารณา รธน.หวังผลการเมืองหรือไม่
“หมอชลน่าน” ระบุ พรรคเพื่อไทยไม่เสนอแก้ไข รธน.แล้วในรัฐบาลนี้ หลังสภาตีตกเห็นไม่ฝุ่น ชี้ต้องใช้เสียง ส.ว.หนุน ขัดหลักประชาธิปไตย
“ชลน่าน” ชี้ รธน.แก้ไขเพิ่มเติม ม.91 ไม่ใช่วิธีคำนวณส.ส.แบบจัดสรรปันส่วนผสม แต่เป็นแบบสัดส่วนสัมพันธ์โดยตรง เหมือนปี54 เชื่อรัฐสภาจะไม่เห็นชอบให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ
“หมอระวี” ลั่นพร้อมสู้ศึกเลือกตั้งทุกกติกา จี้นักการเมืองร่วมแก้ไข รธน.เพื่อประชาชน หยุดเอาพรรคการเมืองเป็นที่ตั้ง
ประชาธิปัตย์ 11 ก.ย .- นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ชื่นชมการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และเห็นว่าผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการชุดนี้ เป็นประโยชน์ต่อการตั้งต้นแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะได้รวบรวมข้อดีและข้อเสียของรัฐธรรมนูญ ทำให้สังคมได้เห็นภาพชัดขึ้น ว่ามีสาระของรัฐธรรมนูญส่วนไหนบ้าง ที่ต้องทำการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวยังมีทุกพรรคการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันคิดจนตกผลึก และยังรับฟังเสียงของประชาชนในทุกกลุ่ม “ต้องขอขอบคุณกรรมาธิการฯ ที่รับความคิดเห็นของพรรค ด้วย เช่น เรื่องสิทธิและเสรีภาพ รวมถึง ประเด็นระบบเลือกตั้ง การถ่วงดุลการตรวจสอบเรื่องทุจริต และที่สำคัญเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ในบทเฉพาะกาล และได้รับการยอมรับตรงกันหลายฝ่ายว่าเป็นประเด็นปัญหา ซึ่งไม่ได้มองแค่เรื่องการเมือง แต่มองถึงประโยชน์ของพี่น้องประชาชน เชื่อว่าหากมีการขับเคลื่อนในสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะเกิดเป็นผลสำเร็จได้ อาจใช้เวลาบ้าง แต่หากเราต้องการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก็ต้องช่วยกัน เพื่อให้ประเทศเดินได้ควบคู่กันไป” นายราเมศ กล่าว .-สำนักข่าวไทย
ตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯ
เผย นัดถก ส.ว. พรุ่งนี้
รัฐสภา 4 ส.ค. – นายสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า วันนี้ (4 ส.ค.) จะมีการประชุมตัวแทน 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการหารือร่วมเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ภายในสัปดาห์นี้ พรรคเพื่อไทยจะยื่นญัตติเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ที่บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องผ่านการทำประชามติ แม้จะเป็นเรื่องยาก เสียเวลา และเสียเงินก็ต้องดำเนินการ โดยมองมุมบวก ว่าการใช้งบประมาณ จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในคราวเดียวกัน พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า สมาชิกวุฒิสภาจะให้การสนับสนุน และจะใช้เวลาในการแก้ไขมาตรา 256 ประมาณ 5 เดือน จากนั้น จะเป็นการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)ขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการโดยไม่มีประเด็นชี้นำ และการแก้ไขไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นร่างใหม่ สามารถนำฉบับเก่ามาทำประชามติได้