“พล.ท.พงศกร” ไม่มีปัญหา “อภิสิทธิ์” ร่วม กมธ.แก้ รธน.
“พล.ท.พงศกร” ไม่มีปัญหา “อภิสิทธิ์” ร่วม กมธ.แก้ รธน. สั่งหาข้อมูลเตรียมประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ชี้ล้างคำสั่ง คสช.คือปลดล็กพันธนาการแรก
“พล.ท.พงศกร” ไม่มีปัญหา “อภิสิทธิ์” ร่วม กมธ.แก้ รธน. สั่งหาข้อมูลเตรียมประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ชี้ล้างคำสั่ง คสช.คือปลดล็กพันธนาการแรก
ส่วนนอกสภาฯ ขอให้เป็นเรื่องภาคประชาชน ป้องกันฝ่ายต้านนำมาขยายผลทางการเมือง
“อภิสิทธิ์” ลงพื้นที่ช่วยผู้สมัคร ส.ส.นครปฐมหาเสียง แนะทุกฝ่ายหันหน้าร่วมแก้ รธน. ปี 60 เลี่ยงประเด็นขัดแย้ง ปัดลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.
ทำเนียบฯ 8 ต.ค.- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไม่ให้ความเห็นกรณีฝ่ายค้านเดินสายรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุว่า ต้องไปถามคนที่ต้องการแก้ว่า การเดินสายให้แก้มีเหตุผลอะไร เพราะการเปิดประเด็นคลุมเครือ อย่างไรก็ตาม เห็นว่า การเปิดประเด็นที่จะแก้ควรจะเปิดให้ประชาชนทราบชัดเจนว่า ต้องการแก้ในประเด็นใด “ควรจะให้ประชาชนได้รู้ว่า การเสนอแก้นั้น ตรงใจประชาชนให้เกิดการยอมรับเห็นด้วยหรือไม่ ตอนนี้คลุมเครือ ไม่รู้จะแก้อะไร และหลุดว่าจะแก้มาตราที่เซนซิทีฟอีก นี่ก็เลยเป็นเรื่อง” นายวิษณุ กล่าว และไม่ขอตอบ เมื่อถามว่าข้อเสนอไหนที่น่าพอใจบ้าง . – สำนักข่าวไทย
ประธานสภาฯ ไม่วิจารณ์ฝ่ายค้านเดินสายรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่แนะนำหากมีเรื่องที่กระทบความมั่นคง ต้องระมัดระวัง จนกว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6 ต.ค.-เวทีเสวนา 6 ตุลา 2519 สี่ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า นักวิชาการเห็นว่ารัฐยังพยายามคงไว้ซึ่งอำนาจ ชี้การแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงาน ครบรอบ 43 ปี 6 ตุลาฯ 2519 เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และไว้อาลัยต่อวีรชนผู้สูญเสีย โดยมีนักศึกษา คณาจารย์ ญาติวีรชน ผู้แทนองค์กรการเมืองและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน พร้อมกันนี้มีการเสวนาวิชาการหัวข้อ “จาก 6 ตุลา 2519 ถึงวิกฤตการเมืองร่วมสมัย : สี่ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า เรายังคงฆ่ากัน” โดยมี น.ส.ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร , น.ส.นวลน้อย ธรรมเสถียร สื่อมวลชน , น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และนางเบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเสวนา น.ส.พูนสุข กล่าวว่า การใช้อำนาจของรัฐได้เปลี่ยนรูปแบบออกไป แม้จะไม่มีการใช้อาวุธและความรุนแรง แต่อาจใช้ในรูปแบบของกฎหมาย […]
จ.นครปฐม 5 ต.ค.-“จุรินทร์”ย้ำจุดยืนต้องแก้รัฐธรรมนูญ เชื่อ นายกรัฐมนตรี ไม่ขัดข้อง เพราะเป็นนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล ไม่ออกความเห็นฝ่านค้านถูกแจ้งจับ จัดเวทีแก้รัฐธรรมนูญ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงจุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า พรรคประชาธิปัตย์ชัดเจนตั้งแต่แรกที่ไม่รับการทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเข้าร่วมรัฐบาล จึงผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งใน 12 นโยบายเร่งด่วน และยังเป็นผู้เสนอญัตติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยสภาได้บรรจุในวาระและพร้อมพิจารณาทันทีที่เปิดสมัยประชุมสภา ส่วนจะแก้ไขในประเด็นในต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายค้าน รัฐบาล และ ส.ว. จึงเป็นจุดยืนที่ชัดเจนของพรรคประชาธิปัตย์ สำหรับการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีเป็นธงนำในการเริ่มต้นแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ได้รับการปฏิเสธนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่าไม่ทราบรายละเอียด แต่ยืนยันว่าการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำรัฐบาลยอมบรรจุการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายเร่งด่วน แสดงว่ามีจุดยืนที่ชัดเจน ขณะที่ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านและนักวิชาการ ถูก กอ.รมน.ภาค4 แจ้งความดำเนินคดีจากการเปิดเวทีเสวนาการแก้รัฐธรรมนูญใหม่ นั้น นายจุรินทร ไม่ขอแสดงความเห็นเรื่องนี้ นายจุรินทร์ ยังย้ำจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์ ให้ยกเลิกสารเคมีการเกษตร 3 ชนิด โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันพร้อมให้ยกเลิกโดยไม่มีข้อสงสัย และส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ก็เห็นพ้องแนวทางเดียวกัน.- สำนักข่าวไทย
“สนธิญา” ร้องศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เกรงแฝงแก้ไขหมวด 1 ระบุหากจะแก้จริงควรจะทำประชามติถามประชาชนกว่า 16 ล้านคน พร้อมยื่นลาออกจากพรรค รปช ไปซบ พปชร. อ้างอุดมการณ์ตรงกัน
พล.อ.ประวิตร ยังไม่ทราบเรื่อง 7 พรรคฝ่ายค้านจะขอเข้าพบนายกฯ เพื่อให้เป็นตัวหลักขับเคลื่อนแก้รัฐธรรมนูญ
“อนุทิน” ชี้แก้ รธน ต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ พร้อมเดินหน้าหากเกิดประโยชน์ส่วนรวม เป็นสิทธิ์หาก 7 พรรคฝ่ายค้านหารือนายกฯ แก้ รธน.
ตัวแทน 7 พรรคร่วม ฝ่ายค้าน พบผู้บริหารสำนักข่าวไทยเป็นที่แรก เดินสายพบสื่อมวลชนแลกเปลี่ยนความเห็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“สุวัจน์” เตือนรัฐบาลดูแลเสียงในสภาฯ ให้ดีต้องชนะโหวตกฎหมายสำคัญ แนะแก้รัฐธรรมนูญใช้ช่องทางสภาฯ เหมาะสมสุด พร้อมเชิญหลายฝ่ายเป็นกมธ. ชี้ อย่าแก้เพื่อการเมืองได้เปรียบ-เสียเปรียบ