นโยบายแก้เกมเศรษฐกิจของจีน | มองจีนหลากมุม 10 พ.ย.2567
ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซบเซา และปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน จีนจะต้องใช้กำลังภายในเพียงใด เพื่อขึ้นแท่นครองแชมป์เศรษฐกิจโลก และไทยเราควรวางบทบาทอย่างไร
ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซบเซา และปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน จีนจะต้องใช้กำลังภายในเพียงใด เพื่อขึ้นแท่นครองแชมป์เศรษฐกิจโลก และไทยเราควรวางบทบาทอย่างไร
ปลัดกระทรวงพาณิชย์เผยยอดส่งออกเดือน ก.พ.67 มีมูลค่า 23,384.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มต่อเนื่อง 3.6% เป็นเดือนที่ 7 เดือน ส่งผลให้ยอดส่งออก 2 เดือนโตตาม 6.7% ระบุส่งออกโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้นแรงหนุนการฟื้นตัวด้านผลิตในประเทศดี แต่ยังห่วงปัญหาเศรษฐกิจจีนที่ชะลออาจทำให้ยอดส่งออกในเดือนมี.ค.67 ไม่ขยายตัว แต่มั่นใจยอดส่งออกทั้งปีน่าจะบวก 1-2% ตามที่คาดการณ์ไว้
สภาพัฒน์ ปรับลดจีดีพี ปี 66 ขยายตัวร้อยละ 2.5-3 แนะเร่งอัดฉีดเงินงบประมาณปี 67 ไปพลางก่อน หลังตั้งรัฐบาลล่าช้า แนะอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวยุโรป อินเดีย เกาะติดเศรษฐกิจจีนมีปัญหา หวั่นปัญหาหนี้ครัวเรือน
จีดีพีจีนไตรมาส 2 โต 6.3% ต่ำกว่าคาดการณ์ คาดหลายเดือนจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังชะลอตัว เพราะอุปสงค์ในประเทศและตลาดโลกยังต่ำ
ปักกิ่ง 17 ก.ค.- ทางการจีนเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปี 2566 ว่า ขยายตัวร้อยละ 6.3 เป็นตัวเลขที่ขัดแย้งกับภาวะการฟื้นตัวหลังโควิดที่เชื่องช้า และถูกมองว่าสูงเนื่องจากเปรียบเทียบกับฐานต่ำในปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงล็อกดาวน์เพราะโควิด สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนแถลงวันนี้ว่า เศรษฐกิจจีนกำลังเดินหน้าฟื้นตัวด้วยดี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ในไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากไตรมาสแรกของปี 2565 ส่วนไตรมาส 2 ของปี 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากไตรมาส 2 ของปี 2565 อุปสงค์ในตลาดทยอยฟื้นตัว อุปทานการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น การจ้างงานและราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปทรงตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนจีนเผยแพร่ตัวเลขว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 ของจีนน่าจะฟื้นตัวในอัตราร้อยละ 7.1 และมองว่าตัวเลขของทางการจีนไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง เนื่องจากเปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2565 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 เพราะมีการล็อกดาวน์อย่างกะทันหันเมื่อพบการระบาดใหม่ มีการจำกัดการเดินทางและปิดโรงงาน นอกจากนี้หากเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาส เศรษฐกิจไตรมาส 2 […]
กรุงไทย วิเคราะห์ ส่งออกเดือน พ.ค. หดตัวร้อยละ 4.6 ติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 จับตาเศรษฐกิจจีนแผ่วลง อาจกระทบการส่งออกไทย
เศรษฐกิจจีนเติบโตในอัตราต่ำที่สุดในรอบ 40 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 และวิกฤตในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ตัวเลขการเติบโตยังสูงกว่าที่คาดหมายไว้ ทำให้เกิดความหวังว่า เศรษฐกิจจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง
ปักกิ่ง 18 ต.ค.- เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3 ขยายตัวลดลงจากไตรมาส 2 เนื่องจากภาคการก่อสร้างชะลอตัวและทางการควบคุมการใช้พลังงาน กระทบต่อการฟื้นตัวหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนแถลงวันนี้ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศยังคงไม่มีเสถียรภาพและไม่ทั่วถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) เดือนกรกฎาคม-กันยายนขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตโรงงาน ยอดค้าปลีก และการลงทุนในภาคการก่อสร้างและสินทรัพย์ถาวรอื่น ๆ ล้วนอ่อนแอลง ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดว่า เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3 จะขยายตัวร้อยละ 5.2 ภาคการก่อสร้างของจีนที่จ้างงานคนจำนวนมากชะลอตัวลง นับจากทางการควบคุมการขอสินเชื่อของบริษัทอสังหาริมทรัพย์อย่างเข้มงวดตั้งแต่ปีก่อน ปัญหาของเอเวอร์แกรนด์กรุ๊ป กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ในจีนที่เสี่ยงผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้จำนวนมากทำให้ตลาดวิตกว่า อาจลุกลามไปยังบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ แม้ว่าแวดวงนักเศรษฐศาสตร์มองว่า มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกไม่มากก็ตาม ส่วนภาคการผลิตชะลอตัวในเดือนกันยายนเพราะมณฑลใหญ่หลายแห่งลดการจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกินเป้าหมายการประหยัดไฟฟ้าตามที่รัฐบาลกลางกำหนดไว้.-สำนักข่าวไทย
ปักกิ่ง 14 เม.ย.- นักวิเคราะห์คาดว่า ไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวมากเป็นประวัติการณ์เพราะฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากการส่งออกและการบริโภคในประเทศ สำนักข่าวเอเอฟพีสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จาก 15 สถาบัน ได้ผลคาดการณ์โดยเฉลี่ยว่า ไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 18.7 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนปีนี้ทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 8.5 เพิ่มขึ้นมากจากปี 2563 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 นักเศรษฐศาสตร์ของมูดี้ส์ อะนาลิติกส์ชี้ว่า ดัชนีรายเดือนที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ล้วนชี้ตรงกันว่า เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในไตรมาสแรกของปีนี้ ผลผลิตภาคการผลิตเติบโตอย่างมากเพราะความต้องการทั้งภายในและภายนอกประเทศยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การเร่งฉีดวัคซีนจะช่วยให้ภาคบริการฟื้นตัว ตลาดแรงงานมีเสถียรภาพ และคนมีรายได้เพิ่มขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ของราโบแบงก์ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขไตรมาสแรกปีนี้ของจีนสูงเป็นพิเศษเพราะเทียบกับตัวเลขไตรมาสแรกปีก่อนที่เป็นช่วงที่โรคกำลังระบาดทำให้ธุรกิจทั้งหมดหยุดชะงัก ด้านนักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศระบุว่า การที่คนงานต่างถิ่นไม่เดินทางกลับบ้านในช่วงตรุษจีนตามคำขอของรัฐบาลเพราะเกรงนำเชื้อกลับไประบาดในชนบทมีส่วนช่วยให้การผลิตในไตรมาสแรกมีความต่อเนื่อง เทียบกับปีที่ผ่านมาที่มักลดลงเพราะคนงานกลับบ้าน ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเอเอ็นซีชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนคึกคักมากหลังตรุษจีน ยอดค้าปลีกดีดตัวเพราะทางการยกเลิกมาตรการจำกัดภายในประเทศ และมีการเดินทางในประเทศมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย
เศรษฐกิจจีนไตรมาสสี่ของปีที่ผ่านมาขยายตัวมากกว่าที่คาด ปิดท้ายปี 2563 ที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลกได้ค่อนข้างดี และมีแนวโน้มจะขยายตัวแข็งแกร่งในปีนี้
นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจจีนปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.2 ดีขึ้นจากเดือนเมษายนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 แต่ยังเผชิญความเสี่ยงหลักจากความต้องการโลกซบเซาและความสัมพันธ์กับสหรัฐตึงครียดขึ้น
เศรษฐกิจจีนช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ขยายตัวที่อัตราร้อยละ 3.2 เกินความคาดหมาย และเป็นการดีดกลับขึ้นมาหลังจากไตรมาสแรกหดตัวอย่างหนักที่ร้อยละ 6.8 จากการระบาดของโควิด-19