fbpx

กรม สบส.เผยผลสำรวจ 5 พฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ จากการกินหมูกระทะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) พบคนไทยนิยมกินหมูกระทะถึงร้อยละ 32.1 และมี 5 พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ติดโรคไข้หูดับ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่แยกตะเกียบคีบอาหารดิบกับอาหารสด กินหมูสามชั้น ดื่มน้ำอัดลม เน้นกินอาหารทะเล และกินอิ่มเกินปกติ

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อันตรายจากเมนูอาหารดิบ

14 กันยายน 2566 ในสังคมไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างจากอดีตมาก อาหารสุกดิบค่อนข้างแพร่หลาย เช่น ซอยจุ๊ กุ้งดอง หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดพยาธิและอาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจร่วมกันถึงพฤติกรรมการทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วนใหญ่เชื้อที่พบในเนื้อดิบ มีอะไรบ้าง ? 1.ซอยจุ๊ มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพยาธิตัวตืด ซึ่งเกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป เมื่อตัวอ่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้ คนติดโรคจะมีอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง 2.หมึกซ็อต เมนูยอดฮิตนี้อาจทำให้หมึกดิ้นและสำลักลงหลอดลมหรืออุดตันหลอดอาหาร เสี่ยงอันตราย การกินอาหารทะเลดิบโดยไม่ผ่านความร้อนหรือแช่แข็ง มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Vibrio ทำให้ติดเชื้อในทางเดินอาหารรุนแรง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวปริมาณมาก 3.กุ้งดิบแช่น้ำปลาในกุ้งสด ๆ อาจจะปนเปื้อนเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการปวดหัว อาเจียนหรือมีไข้ 4.ปลาน้ำจืดดิบเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ในประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับพบในปลาน้ำจืด ดังนั้นหากจะกินปลาดิบ […]

อย.ย้ำสถานที่ผลิตอาหารเพิ่มมาตรการป้องกันโควิด-19

อย.25 ส.ค.-รองเลขาธิการ อย.ย้ำสถานประกอบการเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 เน้นจัดการให้คนปลอดภัย อาหารจึงจะปลอดภัย หลังมีข่าวเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ต่างๆว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 คาดว่าอาจติดมากับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมแนะผู้บริโภคไม่ควรรับประทานอาหารดิบเพราะเสี่ยงต่อการได้รับจุลินทรีย์ก่อโรค นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (เลขาธิการ อย.) เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ ว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 คาดว่าเชื้ออาจติดมากับสินค้านำเข้า เช่น อาหารแช่แข็ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ยังไม่มีการตรวจพบผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับเชื้อผ่านทางอาหารหรือบรรจุภัณฑ์ แต่มีผลการศึกษาที่พบว่าไวรัสชนิดนี้สามารถอยู่รอดบนพื้นผิวพลาสติกได้นานสูงสุด 72 ชั่วโมงและอยู่บนวัตถุที่มีความเย็น 4 องศาเซลเซียสได้นาน 28 วัน ดังนั้น หลักการสำคัญในการจัดการความปลอดภัยอาหารของประเทศไทยในสภาวการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงมุ่งเน้นไปที่ “การจัดการให้คนปลอดภัย อาหารจึงจะปลอดภัย” ซึ่ง อย. ได้กำหนดให้สถานประกอบการผลิตอาหารเพิ่มมาตรการป้องกันโรคติดต่อโควิด-19 ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร(GMP) อย่างเคร่งครัด และสถานประกอบการนำเข้าต้องแสดงใบรับรองสถานที่ผลิตจากประเทศต้นทางที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร (GMP) หรือเทียบเท่า […]

ราชทัณฑ์ ใช้ ‘อี-บิดดิ้ง’ ประมูลอาหารนักโทษ ปี61

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงยืนยันกรมไม่มีมีส่วนรู้เห็น หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการเอกชน ในการจัดซื้ออาหารดิบสำหรับปรุงอาหารให้ผู้ต้องขัง

...