“เศรษฐา” โบกธงปล่อยขบวน “Love Pride Parade 2024”
“เศรษฐา” นำคณะโบกธงเปิดงาน “Love Pride Parade 2024” ปล่อยขบวนพาเหรดยาว 6 กิโลเมตร ยันรัฐบาลให้ความสำคัญคนทุกกลุ่ม ดันไทยเป็นเจ้าภาพ World Pride 2030
“เศรษฐา” นำคณะโบกธงเปิดงาน “Love Pride Parade 2024” ปล่อยขบวนพาเหรดยาว 6 กิโลเมตร ยันรัฐบาลให้ความสำคัญคนทุกกลุ่ม ดันไทยเป็นเจ้าภาพ World Pride 2030
‘รัดเกล้า’ เชิญชวนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ร่วมเฉลิมฉลอง 2 งานใหญ่โค้งสุดท้ายของเดือน Pride Month 2024 ในไทย
สิงคโปร์ 25 มิ.ย.- คนจำนวนมากไปรวมตัวกันในงานชุมนุมกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในสิงคโปร์ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากรัฐสภาสิงคโปร์ยกเลิกกฎหมายลงโทษการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายเมื่อปี 2565 พิงค์ ดอต (Pink Dot) ซึ่งเป็นกลุ่มแกนนำเรียกร้องสิทธิของ LGBTQ ในสิงคโปร์ จัดงานชุมนุมประจำปีขึ้นที่สวนสาธารณะฮงลิม บริเวณใจกลางเมืองเมื่อวันเสาร์ เพราะเป็นสถานที่เดียวในสิงคโปร์ที่สามารถจัดการชุมนุมได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากตำรวจ ผู้มาชุมนุมร่วมใจกันแต่งกายด้วยสีชมพูทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ รวมถึงธงสีรุ้ง ศิลปินและครูวัย 58 ปีที่เป็นเกย์เผยว่า มาฉลองให้แก่การต่อสู้ที่ยาวนาน ในที่สุดความรักก็เป็นฝ่ายชนะ และรัฐบาลก็เข้าใจเรื่องนี้ พิงค์ ดอตจัดการชุมนุมทุกปีมาตั้งแต่ 2552 การชุมนุมปีนี้ใช้ธีม “สิงคโปร์สำหรับทุกครอบครัว” หวังโต้กลับแรงกดดันจากกลุ่มอนุรักษนิยมที่รณรงค์ว่า การยกเลิกกฎหมายการมีเพศสัมพันธ์ของชายรักชายจะทำลายคุณค่าของครอบครัว ปีที่แล้วรัฐสภาสิงคโปร์ได้ยกเลิกกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคมอังกฤษ เป็นกฎหมายลงโทษการมีเพศสัมพันธ์ของชายรักชายด้วยการจำคุกสูงสุด 2 ปี แม้ว่าไม่มีการบังคับใช้อย่างเคร่งครัดก็ตาม ขณะเดียวกันสมาชิกสภาได้ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตอกย้ำคำนิยามปัจจุบันเรื่องการสมรสว่าเป็นเรื่องของชายกับหญิง การแก้ไขดังกล่าวเท่ากับปิดโอกาสไม่ให้มีการยื่นฟ้องในอนาคตเพื่อให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิสมรสที่เท่าเทียม ผลสำรวจของอิปซอสที่เผยแพร่ในเดือนนี้พบว่า ชาวสิงคโปร์ที่เห็นว่าควรอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้มีประมาณร้อยละ 32 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 ในการสำรวจเมื่อปีก่อน.-สำนักข่าวไทย
โซล 7 มิ.ย. – ผู้จัดเทศกาลประจำปีของผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือแอลจีบีทีคิว (LGBTQ) ในกรุงโซลของเกาหลีใต้ เผยว่าขบวนไพรด์พาเหรด (Pride Parade) จะมีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม ตามกำหนด โดยจะย้ายจากสถานที่เดิมที่ถูกกลุ่มศาสนาขอใช้พื้นที่ก่อน คณะผู้จัดเทศกาลวัฒนธรรมเควียร์แห่งกรุงโซลครั้งที่ 24 แถลงวันนี้ว่า ขบวนไพรด์พาเหรดจะเริ่มต้นที่ย่านอึลจิโร-อี (Euljiro 2) เพื่อเคลื่อนไปตามใจกลางกรุงโซล รวมถึงจัตุรัสโซลพลาซา หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่เคยเป็นสถานที่จัดประจำปี คาดว่าปีนี้จะมีคนเข้าร่วมขบวนมากถึง 50,000 คน เทศกาลนี้จัดขึ้นทุกปีมาตั้งแต่ปี 2543 โดยจัดตามย่านต่าง ๆ รอบกรุงโซล ก่อนย้ายมาจัดที่จัตุรัสโซลพลาซาเป็นหลักตั้งแต่ปี 2558 โดยมีเพียงปี 2563 และ 2564 เท่านั้นที่ต้องจัดออนไลน์เนื่องจากโรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี การจัดงานในปีนี้ไม่สามารถจัดที่จัตุรัสดังกล่าวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโซล เนื่องจากคริสตชนกลุ่มหนึ่งได้รับอนุญาตจากทางการโซลให้ใช้พื้นที่ในวันเดียวกัน คณะกรรมการพลเมืองของรัฐบาลมหานครโซลอนุญาตตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมให้มูลนิธิวัฒนธรรมซีทีเอสจัดคอนเสิร์ตเยาวชนคริสเตียนที่โซลพลาซาในวันที่ 30 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม นอกจากขบวนไพรด์พาเหรดแล้ว เทศกาลวัฒนธรรมเควียร์แห่งกรุงโซลครั้งที่ 24 ยังจะมีกิจกรรมอีกหลายอย่าง เช่น […]
วอชิงตัน 9 ธ.ค.- รัฐสภาสหรัฐผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่ได้รับการรับรองภายใต้กฎหมายรัฐบาลกลาง ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเคยประกาศว่า จะลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยเร็ว ประธานาธิบดีไบเดนแถลงเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาสหรัฐว่า รัฐสภาได้ดำเนินการก้าวสำคัญเพื่อสร้างหลักประกันว่า ชาวอเมริกันมีสิทธิที่จะแต่งงานกับคนที่ตนเองรัก สร้างความสบายใจให้แก่คู่รักกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) และคู่รักข้ามเชื้อชาติว่าได้รับการรับประกันสิทธิและความคุ้มครองที่ตนเองและลูก ๆ พึงมี ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวว่า ความเท่าเทียมในการสมรสเป็นหนึ่งในกฎหมายที่เขาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ และจะลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยทันทีและด้วยความภาคภูมิใจ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐผ่านร่างกฎหมายลักษณะเดียวนี้ไปแล้ว แต่ร่างที่วุฒิสภาผ่านความเห็นชอบเมื่อ 10 วันก่อนมีความแตกต่างกันเล็กน้อย จึงต้องปรับแก้ไขและลงมติผ่านความเห็นชอบในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง มี ส.ส.พรรครีพับลิกัน 39 คนผ่านความเห็นชอบเช่นเดียวกับ ส.ส.ส่วนใหญ่ของพรรคเดโมแครต ส.ส.แนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรวัย 82 ปี ที่กำลังจะพ้นตำแหน่งทวีตว่า เธอเริ่มต้นอาชีพการเมืองด้วยการต่อสู้เพื่อชุมชนกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นกฎหมายฉบับท้าย ๆ ที่เธอจะลงนามในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายใหม่นี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กฎหมายเคารพการแต่งงาน (the Respect for Marriage Act) ไม่ได้กำหนดให้รัฐบาลระดับรัฐต้องประกาศให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย แต่กำหนดให้ต้องรับรองการแต่งงานที่ชอบด้วยกฎหมายในรัฐที่เป็นสถานที่แต่งงาน และต้องรับรองการแต่งงานที่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ หรือสัญชาติเดิม กฎหมายฉบับนี้ยกเลิกกฎหมายฉบับดิมที่นิยามการแต่งงานว่าหมายถึงการแต่งงานของชายและหญิง ผลสำรวจพบว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน […]
สภาผู้แทนราษฎรรัสเซียผ่านการพิจารณาวาระที่ 3 ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายของร่างกฎหมายขยายขอบเขตกฎหมายปัจจุบันที่ห้ามการส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT กับเด็ก ให้ครอบคลุมการห้ามไปถึงคนทุกวัย
ประชาชนราว 120,000 คน ที่หลายคนถือธงสีรุ้ง เดินขบวนผ่านกรุงไทเป ของไต้หวันในวันนี้ เพื่อเป็นการฉลองความเท่าเทียมทางเพศของกลุ่มแอลจีบีทีคิวพลัส (LGBTQ+) ในงานไพรด์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ดูไบ 13 มิ.ย.- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออี (UAE) สั่งห้ามฉายภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องไลท์เยียร์ (Lightyear) ของพิกซาร์ สตูดิโอคอมพิวเตอร์แอนิเมชันชื่อดังของสหรัฐ ท่ามกลางกระแสข่าวว่าเป็นเพราะมีฉากตัวละครหญิง 2 ตัวจูบกัน สำนักงานกำกับดูแลสื่อ กระทรวงเยาวชนและวัฒนธรรมของยูเออีทวีตผ่านทวิตเตอร์ว่า แอนิเมชันเรื่องนี้จะไม่เข้าฉายตามกำหนดในวันพฤหัสบดีนี้ เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ฉายในโรงภาพยนตร์ทุกแห่งของยูเออี เนื่องจากละเมิดมาตรฐานเนื้อหาสื่อของยูเออี สำนักงานขอย้ำว่า ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่จะฉายในยูเออีต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินก่อนเข้าฉาย เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหามีความปลอดภัยตามการจัดประเภทอายุผู้ชม พร้อมกับทวีตภาพโปสเตอร์แอนิเมชันเรื่องไลท์เยียร์ มีตัวละครนำคือ บัซ ไลท์เยียร์ ซึ่งเป็นของเล่นหุ่นยนต์นักบินอวกาศจากแอนิเมชันเรื่องทอยสตอรี (Toy Story) และมีสัญลักษณ์ “ห้าม” สีแดงบนโปสเตอร์ สำนักข่าวเอพีซึ่งสอบถามรายละเอียดจากสำนักงานแต่ไม่ได้รับคำตอบระบุว่า มีรายงานข่าวว่า แอนิเมชันเรื่องนี้มีฉากตัวละครหญิง 2 ตัวจูบกัน ยูเออีกำหนดให้การมีความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันเป็นความผิดอาญา กระทรวงต่างประเทศสหรัฐเคยเตือนว่า กฎหมายชารีอะห์ของศาสนาอิสลามอาจลงโทษประหารชีวิตกับคนรักเพศเดียวกัน รัฐดูไบของยูเออีอาจลงโทษจำคุก 10 ปี และรัฐอาบูดาบีของยูเออีอาจลงโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี อย่างไรก็ดี ยูเออีแทบไม่มีรายงานข่าวเรื่องการดำเนินคดีกับคนรักเพศเดียวกัน และมีประชากรที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ.-สำนักข่าวไทย
ไทเป 31 ต.ค.- คนกว่า 130,000 คนร่วมขบวนพาเหรดไพรด์ที่เคลื่อนไปตามท้องถนนในกรุงไทเปของไต้หวันในวันนี้ ฉลองความเสมอภาคของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศและความสำเร็จของไต้หวันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 พาเหรดไพรด์ในไต้หวันเป็นพาเหรดใหญ่ที่สุดในเอเชีย และใหญ่ติดอันดับโลก ผู้จัดงานเผยว่า ปีนี้มีคนเข้าร่วมกว่า 130,000 คน และมีคนจากพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าหรือดีพีพี (DPP) ที่เป็นพรรครัฐบาลมาร่วมขบวนด้วย นายกรัฐมนตรีซู เจินชางโพสต์เฟซบุ๊กสนับสนุนว่า ในขณะที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดทั่วโลก ทุกคนยิ่งต้องรักอย่างไม่เห็นแก่ตัวมากขึ้น รวมใจกันและกันและมีขันติต่อความแตกต่าง เพื่อทำให้ไต้หวันมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ขณะที่ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวินโพสต์เฟซบุ๊กพร้อมกับลงภาพธงสีรุ้งว่า คำสำคัญในเวลานี้ว่า ความรัก ขันติ และไต้หวันที่ดียิ่งขึ้น เธอถูกกลุ่มศาสนาบางกลุ่มตำหนิเมื่อต้นสัปดาห์ที่เชิญชวนคนมาร่วมพาเหรดไพรด์ พนักงานธนาคารชายวัย 32 ปีกล่าวขณะร่วมขบวนว่า ไต้หวันมีผลงานยอดเยี่ยมทั้งเรื่องความเสมอภาคและการควบคุมโรคโควิด-19 ระบาด เป็นความภาคภูมิใจมาก ไต้หวันเป็นแห่งแรก ๆ ที่ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนากับผู้ที่เดินทางมาจากจีน และใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เฝ้าติดตามผู้ที่ต้องกักตัว 14 วัน ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ จนถึงขณะนี้มีผู้ป่วยสะสมเพียง 555 คน เสียชีวิต 7 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้มาจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นแห่งแรกในเอเชียที่ให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย คู่รักเพศเดียวกันสองคู่เป็นทหารหญิงสองคู่แรกของไต้หวันที่แต่งงานกันในพิธีสมรสหมู่ของกองทัพเมื่อวานนี้.-สำนักข่าวไทย
ชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ แอลจีบีที และผู้สนับสนุนแอลจีบีที จัดกิจกรรมผ่านทางทางออนไลน์ ในวันเสาร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
ติ๊กต๊อกยกเลิกนโยบายป้องกันการรังแกทางไซเบอร์แล้ว หลังจากเจตนาปกป้องผู้พิการ คนหลากหลายทางเพศและคนน้ำหนักตัวเกินไม่ให้ถูกรังแกกลายเป็นทำให้โพสต์ของพวกเขาถูกซ่อน
กลุ่มหลากหลายทางเพศยื่น 4 ข้อเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยช่วยผลักดันและออกกฎหมายให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียม