ออกหมายจับบัญชีม้าแถวแรกแล้ว คดีตุ๋น “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย”
ผกก.สน.วังทองหลาง เผยออกหมายจับบัญชีม้าแถวแรกแล้ว กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ตุ๋น “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” สูญเงิน 3.2 ล้านบาท พร้อมอายัดเงินในบัญชีม้าเพิ่มเติมและออกหมายเรียกผู้ต้องหาอีก 10 ราย
ผกก.สน.วังทองหลาง เผยออกหมายจับบัญชีม้าแถวแรกแล้ว กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ตุ๋น “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” สูญเงิน 3.2 ล้านบาท พร้อมอายัดเงินในบัญชีม้าเพิ่มเติมและออกหมายเรียกผู้ต้องหาอีก 10 ราย
บางจากฯ แจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อสื่อสังคมออนไลน์ชักชวนหลอกลวงลงทุน
เวียดนามจะขอให้ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ทุกคนยืนยันตัวตน โดยให้เหตุผลว่า มีความจำเป็นต้องกวาดล้างการหลอกลวงทางออนไลน์
เตือนภัยโลกออนไลน์ หลอกลวงรายวัน ล่าสุดผู้ต้องหาคดีฉ้อโกง 5 หมายจับ หนีไม่รอดถูกตำรวจไซเบอร์ตามจับได้ที่ห้องเช่าเมืองนครปฐม
จับกุมหญิงหลอกขายที่ดินเหยื่อสูญเงินมัดจำ 2 แสนบาท ตรวจสอบประวัติพบมีหมายจับติดตัว 9 หมาย เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ
ตำรวจไซเบอร์ ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ฟอกเงินข้ามชาติ เสียหายกว่า 1 แสนล้านบาท ออกหมายจับ 36 ราย พร้อมยึดของกลางและอสังหาริมทรัพย์อีกหลายรายการ ส่ง ปปง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน
ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดปฏิบัติการปิดร้านทิพย์ออนไลน์กว่า 40 จุดเป้าหมายทั่วประเทศ มีประชาชนกว่า 500 คน ตกเป็นเหยื่อ ได้ผู้ต้องหารวม 26 คน
ธ.ก.ส. เตือนภัย เพจมิจฉาชีพแอบใช้ภาพที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ลวงให้หลงเชื่อใช้บริการสินเชื่อ
“ทนายไพศาล” พาผู้เสียหายกว่า 100 คน แจ้งความบริษัทคนจีน หลอกลวงให้ทำงาน แค่กดไลค์ยูทูปก็ได้เงิน- ผู้เสียหายกว่า 5,000 ราย มูลค่าความเสียหายกว่าพันล้านบาท
ตำรวจโชว์ผลงานจับขบวนการหลอกลวงหญิงสาวไปบังคับค้าประเวณีที่ประเทศมาเลเซีย
ประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์ ของฟิลิปปินส์ ลงนามร่างกฎหมายที่กำหนดให้การลงทะเบียนซิมการ์ดเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ ถือเป็นก้าวสำคัญในการปราบปรามการหลอกลวงออนไลน์
ฮานอย 9 ต.ค.- สื่อเวียดนามรายงานว่า เวียดนามมีคนตกเป็นเหยื่อหลอกลวงออนไลน์เพิ่มขึ้นมากทั้งจำนวนคนและยอดความเสียหาย เว็บไซต์วีเอ็นเอ็กซ์เพรสส์ของเวียดนามอ้างข้อมูลที่กระทรวงความมั่นคงสาธารณะแถลงเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า จำนวนเหยื่อเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี 2565 โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนหลังของปี 2564 ขณะที่ข้อมูลของเว็บท่ารายงานอาชญากรรมไซเบอร์แห่งชาติระบุว่า เดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคมปีนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแจ้งเหตุหลอกลวงออนไลน์มากถึง 3,500 คดี กระทรวงสารสนเทศเผยว่า การหลอกลวงส่วนใหญ่ทำผ่านสื่อสังคมออนไลน์และข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเอสเอ็มเอส (SMS) โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์หรือที่อยู่ไอดีแปลกหน้าเสนอจ้างงานพาร์ตไทม์รายได้สูง เหยื่อส่วนใหญ่เป็นคุณแม่มือใหม่ นักเรียนนักศึกษา และคนทำงานอิสระที่ต้องการหารายได้พิเศษยามว่าง นอกจากนี้ยังมีการหลอกลวงโดยอ้างตัวว่าเป็นธนาคารเพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ คนร้ายจะส่งเอสเอ็มเอสโดยใช้ชื่อของธนาคารไปพร้อมกับลิงก์ หลอกให้เหยื่อกดลิงก์เพื่อรับของรางวัล ยกเลิกโฆษณา หรือจ่ายค่าบริการที่ไม่เคยใช้ และเมื่อเหยื่อกรอกข้อมูลตามที่ปรากฏในลิงก์ เงินในบัญชีก็จะถูกถอนหรือโอนหมดเกลี้ยงในทันที วีเอ็นเอ็กซ์เพรสส์รายงานว่า การหลอกลวงในรูปแบบใหม่ที่กำลังแพร่หลายในช่วงหลายปีมานี้คือ หลอกให้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และคริปโทเคอร์เรนซี คนร้ายจะเลือกเหยื่อจากผู้ใช้เฟซบุ๊กที่อยู่ในกลุ่มการลงทุน แล้วหลอกล่อด้วยการจ่ายผลตอบแทนสูงในตอนต้น จากนั้นจะจูงใจให้เหยื่อลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง หากต้องการร่ำรวยตามผู้ลงทุนรายอื่นซึ่งเป็นบัญชีปลอมที่คนร้ายสร้างประวัติการลงทุนขึ้นเองภายในกลุ่มปิด หากเหยื่อไม่ลงทุนเพิ่มก็จะไม่ได้เงินที่ลงทุนไปก่อนหน้านั้น.-สำนักข่าวไทย