ทิพยประกันภัยเปิดตัวประกันภัยรถยนต์แบบใหม่
ทิพยประกันภัยผนึกกำลังจีเอเบิล สร้างนวัตกรรมประกันภัยรถยนต์รูปแบบใหม่
ทิพยประกันภัยผนึกกำลังจีเอเบิล สร้างนวัตกรรมประกันภัยรถยนต์รูปแบบใหม่
ทิพยประกันภัยเปิดตัวทีมสำรวจภัยยุคดิจิทัล “ทิพ สมาร์ท แอสซิส” มาไว ใส่ใจ ไม่มากเรื่อง
ทิพยประกันภัยส่งเสริมประกันภัยสำหรับผู้หญิง มีบริการรถเสียกลับเครื่องบิน คุ้มครองค่าศัลยกรรมจากอุบัติเหตุ
กรุงเทพฯ 30 ก.ย.-ทิพยประกันภัย ยืนยันกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพสินเชื่อปลอดภัย ช่วยข้าราชการครูเข้าถึงแหล่งเงินกู้สะดวก รวดเร็วขึ้น นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง กรณีที่มีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษการประกันภัยในโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิกกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกครู (ชพค.) ต่อหน่วยงานภาครัฐ ว่า สืบเนื่องจากปี 2552 บริษัท ได้รับเชิญจากธนาคารออมสินและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ให้เสนอการประกันสินเชื่อให้แก่ข้าราชการครูในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ชพค. เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ข้าราชการครูเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบที่ถูกต้องและคิดอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ในการนำไปชำระคืนหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว กำหนดให้ข้าราชการครูต้องการผู้ค้ำประกันเงินกู้ตามวงเงินกู้ที่ธนาคารออมสินกำหนด ซึ่งต้องใช้คนค้ำประกันตั้งแต่ 5-10 คน เพื่อค้ำประกันซึ่งกันและกัน หากเกิดกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิต ผู้ค้ำประกันจะต้องแบกรับภาระหนี้ที่เหลือแทน ทำให้ข้าราชการครูหาคนค้ำประกันได้ยาก ดั้งนั้นบริษัทจึงได้เสนอกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและและสุขภาพสินเชื่อปลอดภัยแบบความคุ้มครองทุนประกันเต็มวงเงินกู้แบบทุนประกันคงที่ เพื่อลดความเสี่ยงทุนประกันไม่พอมูลหนี้คงเหลือ โดยบริษัทจะเป็นผู้ชำระคืนเงินกู้ที่เหลือให้แก่ธนาคารออมสินเต็มจำนวน เมื่อเกิดกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิต สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพสินเชื่อปลอดภัย กำหนดเงื่อนไขรับประกันให้แก่ข้าราชการครูทุกรายที่แจ้งความประสงค์ โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการครั้งแรกอายุต้องไม่เกิน 65 ปี เบี้ยประกันอัตราเดียวสำหรับทุกเพศ ทุกช่วงอายุที่ 620 บาท/ปี/ต่อทุนประกัน 100,000บาท ซึ่งคำนวณจากจำนวนเงินกู้โดยได้ให้ส่วนลดและต่ำกว่าราคาตลาดประมาณ 15% โดยกรมธรรม์ฉบับดังกล่าว […]
ทิพยประกันภัยปลื้มได้ใบรับรองมาตรฐาน ISO 20071:2014 จากอังกฤษ พร้อมก้าวสู่ดิจิทัลอินชัวรันส์เต็มรูปแบบ