ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด กนง. ไม่ลดดอกเบี้ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด กนง. 12 มิ.ย.นี้ คงดอกเบี้ยแม้เงินเฟ้อเดือน พ.ค. บวก 1.54% สูงสุดในรอบ 13 เดือน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด กนง. 12 มิ.ย.นี้ คงดอกเบี้ยแม้เงินเฟ้อเดือน พ.ค. บวก 1.54% สูงสุดในรอบ 13 เดือน
ศูนย์วิจัยประเมินหากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศในเดือน ต.ค 67 คาดจะเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อทั่วไปของไทยที่ราว 0.1% ในปีนี้หลัง เงินเฟ้อเดือน เม.ย. 2567 พลิกกลับเป็นบวกและมีแนวโน้มเป็นบวกต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ ส่งผลให้โอกาสการลดดอกเบี้ยนโยบายน้อยลง
กรุงเทพฯ 25 เม.ย.-เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 6 เดือนครึ่งครั้งใหม่ที่ 37.148 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดนับตั้งแต่ 6 ต.ค. 2566 ก่อนจะกลับมาปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 37.09-37.11 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.09 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 37.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เงินบาทอ่อนค่า ทำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 6 เดือน (นับตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. 2566) ที่ระดับ 36.66 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.27 น.) ด้านราคาทองคำไทยทำนิวไฮ ตามราคาตลาดโลก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุหากภาครัฐมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมาที่ 400 บาท/วัน เริ่ม 13 เม.ย. ตามข้อเสนอและเงื่อนไขที่กำหนดของคณะกรรมการค่าจ้าง แม้จะมีผลไม่มากต่อภาพรวมธุรกิจโรงแรม เนื่องจากจำนวนโรงแรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีไม่ถึง 5% แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าต้นทุนของผู้ประกอบการจะปรับสูงขึ้น
กรุงเทพฯ 15 มี.ค.-เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 35.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 35.62 บาทต่อดอลลาร์ฯ
กรุงเทพฯ 12 มี.ค. – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 ลงมาอยู่ที่ 2.8% เหตุดีมานด์-ภาคการผลิตหดตัว หนี้ครัวเรือนสูง แต่มีแรงหนุนจากส่งออกฟื้นตัว ตาดนักท่องเที่ยวกลับเข้าไทยกว่า 36 ล้านคน หาก Digital Wallet ทันปีนี้ จีดีพีอาจกลับขึ้นมาแตะ 3.1% ได้ นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับเดียวกันกับปี 2566 การค้าโลกน่าจะกลับมาขยายตัวได้ดี แนวโน้มดอกเบี้ยทั่วโลกจะค่อยๆ ปรับลดลงจากเงินเฟ้อที่กำลังปรับลดสู่เป้าของธนาคารกลางทั่วโลก จีนยังคงเผชิญกับปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่คลี่คลาย รวมถึงเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศปรับลดและผู้ประกอบการจีนยังคงลดราคาสินค้าต่อเนื่องเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประเมินว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีอยู่ และได้ส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ตลาดการเงินมองว่าเฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน 2567 ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มโตต่ำกว่าคาด โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2567 ลงมาอยู่ที่ 2.8% […]
กรุงเทพฯ20 ก.พ.-ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด กนง.ลดดอกเบี้ยกลางปีนี้ หลังโมเมนตัมเศรษฐกิจชะลอ ปรับประมาณการ GDPปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.6% จากเดิม 3.1%
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 35.88 ก่อนจะกลับมาปรับตัวอยู่ที่ระดับ 35.81-35.83 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (10.30 น.) เป็นทิศทางที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องจากระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 35.69 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบกว่าสัปดาห์ ขณะที่หุ้นไทยปิดบวกสัปดาห์แรกของปี 67 จากแรงหนุนข่าวฟรีวีซ่าไทย-จีน กสิกรไทยประเมินสัปดาห์หน้า กรอบเงินบาท 34.20-34.90 บาท/ดอลลาร์ฯ ส่วนดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,415 และ 1,400 จุด แนวต้านอยู่ที่ 1,440 และ 1,455 จุด ตลาดจับตาสัญญาณเงินทุนต่างชาติ ถ้อยแถลงของเฟด
ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุค่าเงินบาทเช้าวันนี้(28 ธ.ค.) แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 5 เดือนอยู่ที่ 34.24 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ และการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ
กรุงเทพฯ 30 ต.ค.-ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ธนาคารคารกลางสหรัฐ (เฟด ) คงอัตราดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% ในการประชุม FOMC วันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ เฟดมีแนวโน้มที่จะคงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC วันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. 2566 เพื่อรอดูแนวโน้มเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยแม้ว่าเงินเฟ้อจะยังคงสูงกว่าเป้าหมายและตลาดแรงงานยังคงค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่เมื่อมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามเงินออมที่ลดลงและต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังเป็นความไม่แน่นอนที่สำคัญ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเฟดอาจยังคงเปิดโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ในคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า (Fed Dot Plot) จากการประชุมครั้งก่อนหน้า หากเงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ จากการส่งสัญญาณของเฟดก่อนหน้านี้ เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 2.0% อย่างมีนัยสำคัญ และตลาดแรงงานที่ยังสะท้อนภาพแข็งแกร่งต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ายังมีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไปแตะระดับสูงสุดที่ 5.50-5.75% หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ กลับมาเร่งตัวสูงขึ้นท่ามกลางความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีความผันผวน ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองความน่าจะเป็นต่อกรณีนี้ค่อนข้างต่ำ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงให้น้ำหนักมากสุดต่อกรณีเฟดสิ้นสุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในรอบวัฏจักรนี้และคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% […]